++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันอาทิตย์ที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2558

กฏหมายแข่งขันและวิธีที่แยบยลของซีพี โดย สารี อ๋องสมหวัง

กฏหมายแข่งขัน กับวิธีการแยบยลของซีพี โดย Saree Aongsomwang
สปช.เตรียมแก้ไขกฎหมายแข่งขันทางการค้า ในประเด็นสำคัญเช่น การกำหนดอำนาจเหนือตลาด การผูกขาด/องค์ประกอบคณะกรรมการ/ความเป็นอิสระจากทุนและทุนการเมือง เพราะปัจจุบันกฎหมายแข่งขันทางการค้าบังคับใช้ไม่ได้ มีกรรมการจากภาคธุรกิจเป็นเสียงข้างมาก
เป็นประเด็นที่ส่งต่อกันมากในโลกออนไลน์
เรื่องการทำธุรกิจของซีพีที่ครอบคลุมทุกกิจการล่าสุดทั้งซักแห้ง ส่งของ สิ่งทีกรรมาธิการปฏิรูปการคุ้มครองผู้บริโภค ได้รับร้องเรียนของจังหวัดสมุทรสงคราม คงเป็นเรื่องผลกระทบต่อร้านอาหารตามสั่งของครอบครัวคนเล็กคนน้อยตามชุมชน ที่มีร้านขายข้าวผัดต้องปิดกิจการหลังจากมีร้าน 7-11 ตรงข้าม การปิดตัวของร้านขายอาหารยังเชื่อมโยงไปถึงการผลิตอาหาร อาขีพของเกษตรกร คนจนและความมั่นคงด้านอาหาร
ซีพีตะครุบเทสโกโลตัสคืน 3 แสนล้านแล้วยึดค้าปลีกไทยเบ็ดเสร็จ เป็นเรื่องที่คาดไว้ล่วงหน้าแล้ว และก็เป็นกระแสข่าวที่หนาหูทั้งในและต่างประเทศ ที่คุณธนินทร์ เจียรวนนท์ CEO ของซีพี เตรียมประกาศซื้อ Tesco Lotus ในไทยอย่างเป็นทางการด้วยเงิน 3 แสนล้าน มีการวิเคราะห์ว่าสถานการณ์ธุรกิจการเกษตร ค้าปลีกนั้น เท่ากับเครื่อเจริญโภคภัณฑ์กรุ๊ป หรือ CP คุมการเกษตรทั้ง ข้าว หมู ไก่ กุ้ง อาหารสัตว์ ปุ๋ย พืชพลังงาน นอกจากนั้นยังคุมเทคโนโลยี่สื่อสาร ทั้งโทรบ้าน โทรมือถือ internet และมีสื่อในมือ คือ truevision สรุปคือ CP จะคุมระบบค้าปลีกค้าส่งทั้ง modern trade และ traditional trade ครบวงจร มี 7-11 ส่วนห้างค้าปลีก ค้าส่ง makro และ Lotus ก่อนหน้านี้คอลัมน์ Market-Think ของสรกล อดุลยานนท์ เรื่อง CP BANK?
ในประชาชาติธุรกิจออนไลน์ ก็วิเคราะห์ไว้ล่วงหน้าแล้วว่าข่าว "เซเว่นอีเลฟเว่น" และกลุ่มทรู ซื้อหุ้น LH BANK จากกลุ่มแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ เป็นจริง เราคงได้เห็น "เกมใหม่" ในแวดวงการเงิน เพราะในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา "ซีพี" มีความเคลื่อนไหวที่น่าสนใจหลายครั้ง ครั้งแรก คือ การเข้าซื้อหุ้นของ "ผิงอัน" บริษัทประกันรายใหญ่ของจีน ซึ่งเสน่ห์ของ "ผิงอัน" คือ เงินสดจากเบี้ยประกันที่นอนนิ่งอยู่ในบริษัท
ครั้งที่สอง คือ การซื้อ "แม็คโคร" ของ "เซเว่นอีเลฟเว่น" ทำให้ "ซีพี" กลายเป็นยักษ์ใหญ่ของวงการค้าส่งและค้าปลีกและครั้งที่สาม คือ การดึง "ไชน่าโมบาย" ยักษ์ใหญ่ด้านโทรคมนาคมของจีน มาถือหุ้นใน "ทรู" ดังนั้น หาก "ทรู" และ "เซเว่นอีเลฟเว่น" ซื้อ LH BANK จริง จะเป็นการเคลื่อนตัวทางยุทธศาสตร์ของ "ซีพี" ครั้งที่ 4 ในรอบ 2 ปี เพราะเซเว่นอีเลฟเว่น มีสาขาอยู่ 8,000 สาขา เป็นทำเลที่ดีที่สุดสำหรับตู้เอทีเอ็ม มี "เคาน์เตอร์เซอร์วิส" ที่สามารถรับจ่าย รับโอน รับจองตั๋ว ที่มีประสิทธิภาพยิ่ง
สรุปยอดรายได้เมื่อปีที่แล้ว รายได้ของ "เซเว่นอีเลฟเว่น" 284,760 ล้านบาท แมคโคร 129,780 ล้านบาท รวมกันเป็นตัวเลขกลม ๆ ประมาณ 410,000 ล้านบาท หรือเดือนละ 34,000 ล้านบาท เมื่อรวมโลตัสเข้าไปอีกรายได้ก็จะเพิ่มขึ้นแตะ 5 แสนล้านบาทในอนาคตไม่ยากนัก
ดังนั้นการซื้อเทสโก้โลตัสครั้งนี้จึงเป็นก้าวเดินการเทคโอเวอร์ครั้งที่ 4 ก่อนที่จะไปซื้อ L&H แบงก์ในอีกไม่นานเป็นก้าวที่ 5
กลายเป็นเบอร์ที่เท่าไรของโลกไม่แน่ใจ แต่จำได้เคยมีใครพูดว่า ผมสนับสนุนนโยบายจำนำข้าวของรัฐบาล มีอะไรผมรับผิดชอบเอง ประเทศเสียหายไปหลายแสนล้านบาท ทำไมเงียบเป็นเป่าสากเลย
เถ้าแก่ CP เชียร์นโยบาย ค่าแรงสูง กับราคาข้าวสูง (2 สูง) ผลก็เป็นอย่างนี้ที่เห็น เศร้า
เศรษฐีไทยที่มารวยระยะ 50 ปีหลังนี้ส่วนใหญ่ อาศัยอำนาจรัฐไปผูกขาด หรือเอื้ออำนวยธุรกิจตัวเอง ใครฯก็คิดกินรวบตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ แต่ในระบบเศรษฐกิจเสรี ไม่ง่ายที่ใครสามารถทำได้ อย่างแน่ๆรัฐบาลไม่ยอม อเมริกาถึงกับออกกม.anti trust ขัดขวางการกินรวบเช่นนี้
ถ้าท่านธนินทร์แน่อย่างที่ทำในเมืองไทย ทำไมธุรกิจที่ฮ่องกง จีน จึงไม่เก่งแบบที่นี้ makro ที่จีนไม่ทำกำไร จะล่มเอา ธุรกิจเรื่องไก่ก็ไม่แน่แบบ ที่นี้ รายย่อยทำได้ถูกกว่า สู้เขาไม่ได้ ทุกธุรกิจที่ทำนอกประเทศแค่อยู่รอด เมื่อไม่มีอำนาจรัฐหนุน ท่านก็เป็นแมวน้อยเชื่องฯตัวหนึ่งเท่านั้น
สำหรับผม ธุรกิจไทยที่แน่จริงข้ามโลกคือกระทิงแดงเท่านั้น เพราะแข่งกับเขามือเปล่า ไม่มีรัฐช่วยมีอีก จำได้หรือไม่ว่าใครสนับสนุนให้รัฐบาลทักษิณปลูกยางในทุกภาค เพื่อส่งไปขายจีน โดยบอกว่าเป็น นํ้ามันบนดิน และเดินสายพูดเรื่องนี้อยู่หลายปี พอยางล้นตลาดราคาตก เงียบเลย ไม่เห็นแสดงความรับผิดชอบอะไรเลย นี่เป็นอีกเรื่องของคุณธนินทร์ คนไทยไม่ได้ลืมง่ายหรอก
สมัยก่อนตอนทำ 7-11 ใหม่ๆ CP ไม่อยากเสี่ยง ก็ชวนคนเข้ามาลงทุนหาซื้อที่ดินทำเลดีๆ พร้อมสร้างอาคารแล้วมาเปิด 7-11 เอาของ CP ไปขาย คนลงทุนก็ไปกู้หนี้ยืมสินมาลงทุน หวังกินกำไรจากที่ CP แบ่งให้บ้าง
ต่อมาระยะหนึ่ง CP ก็เล็งเฉพาะร้านที่ยอดขายสูง กำไรงาม แล้วเข้าไปเสนอซื้อคืนเพื่อ CP จะทำเอง ร้านไหนยอมขายก็จบไป ร้านไหนไม่ขาย CP ลงทุนเอง เปิดร้านใหม่ในทำเลนั้น แข่งกันไปเลย เอาแบบให้เจ๊งไปข้างหนึ่ง
ถ้าร้านนั้นไม่ขาย มันก็จะซื้อที่ใกล้ๆ ออกมาตั้งแล้วแข่งกับเจ้าเดิม หน้าปากซอยบ้านผม มี 7-11 3 ร้าน แต่ละร้านห่างกันไม่ถึง 50 เมตร
คนที่คิดกินรวบทุกอย่าง ต้องพึ่งพาใช้อำนาจรัฐ ทำให้สังคมเมือง และ ชนบทเป็นทาสมันตลอดการ ฆ่าคนในสังคมทั้งเป็น อย่างนี้หรือ เป็นคนที่น่ายกย่อง
คำพูดดูสวยหรู แต่ในใจ เราจะอยู่กับชาวไร่ชาวนา ชาวสวน และ ผู้เลี้ยงสัตว์ อย่างพันธมิตร โดยกูจะใช้สัญญาทาส มาควบคุมให้พวกมึงเป็นหนี้กูตลอดไปกูมีแต่ได้กับได้ บริษัทอื่นเจ๊งหมด โดยเฉพาะ ร้านค้า sme ทั้งหลาย
สนับสนุนเลี้ยงไก่ ไข่ ปลูกยางแล้วกูจะเป็นพ่อค้าคนกลางดูดเงินจากพวกมึงอีกที
ทุกวันนี้ เขาอาศัยอำนาจรัฐ สร้างเงื่อนไขให้รัฐบาลอนุมัติธุรกิจที่กำไรง่ายฯมากฯให้กับร้าน 7-11 เช่น นาโนแบงคิ้ง ขายยา ขายล็อตเตอรี่ ตอนนี้ก็แย่งขายกาแฟสดกับร้านกาแฟแล้ว
ทุกอย่างอาศัยอำนาจรัฐทั้งนั้น เจ้าตำรับ 7-11 ญี่ปุ่นยังต้องงงงวย มันทำได้อย่างไร
ตอนมี 7-11 ใหม่ๆ คนขับรถลูกน้องเพื่อนลาออก เอาบ้านไปจำนอง ดาวน์รถปิ๊คอัพ ไปวิ่ง fleet logistics ให้ 7-11 แค่ 1-2 ปี Volume 7-11 สูงมาก CP เลิกจ้าง ทำ logistics เอง ลูกน้องเพื่อน บ้านติดจำนอง รถยังผ่อนไม่หมด ถูกลอยแพ นี่แหละวิธีการสร้างอาณาจักรธุรกิจของ CP อาศัยคนอื่นลงทุนเสี่ยงขาดทุน แต่หากได้กำไรดีจะ Take over

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น