(๑) ทำงานด้วยความจำใจ
(๒) ทำงานด้วยความจำเป็น
(๓) ทำงานด้วยความจำหลัก
ประเภทที่ ๑ ทำงานด้วยความจำใจ หมายถึง คนที่เติบโตขึ้นมาในครอบครัวที่พ่อแม่มีธุรกิจหลักของครอบครัวอยู่แล้ว ไม่ว่าลูกจะชอบหรือไม่ชอบ รักหรือไม่รัก แต่เมื่อถึงเวลาทำงานก็ต้องรับภาระหน้าที่ในการสืบทอดธุรกิจของครอบครัวต่อไ ป การทำงานในลักษณะนี้ สำหรับบางคนในช่วงแรกอาจเป็นความทุกข์ ความอึดอัดขัดข้อง เกิดความรู้สึกเหมือนได้แต่งงานกับคนที่ตนไม่รัก แต่ก็ไม่มีทางเลือกอื่นที่ดีกว่านี้ แต่เมื่อทำไปจนกลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตแล้ว ในที่สุดก็จะสามารถยอมรับสภาพของตนเองได้ ส่วนคนที่ยอมรับสภาพไม่ได้ ยิ่งทำงาน คุณภาพชีวิตยิ่งลดลง งานได้ผล แต่คนอาจไม่มีความสุข
ประเภทที่ ๒ ทำงานด้วยความจำเป็น หมายถึง คนที่ได้ทำงานที่ตนไม่รัก ไม่ชอบ ไม่ถนัด ที่แย่ยิ่งกว่านั้นก็คือ บางทีค่าตอบแทนก็แสนจะน้อย ความเครียด ความขัดแย้งในที่ทำงานก็สูง แต่เพราะมองไปทางไหนก็ไม่มีทางไปที่ดีกว่า ก็เลยต้องจำใจก้มหน้าทำงานนั้นๆ ไป ยิ่งทำงาน คุณภาพชีวิตยิ่งหดหาย รายได้ต่ำ ความเครียดสูง
การทำงานในลักษณะที่สองนี้ คือ สภาพของคนทำงานส่วนใหญ่ในโลกนี้ ซึ่งโดยมาก ได้งานทำเพราะสภาพเศรษฐกิจและสังคมบีบบังคับให้ต้องเลือกทำอะไรสักอย่างหนึ่ ง เพราะหากไม่ยอมทำงาน ก็หมายความว่า ตัวเองและครอบครัวจะต้องเดือดร้อน กินไม่อิ่ม นอนไม่อุ่น
ประเภทที่ ๓ ทำงานด้วยความจำหลัก หมายถึง คนที่ได้ทำงานในสิ่งที่ตนรัก หรือได้ทำงานที่สอดคล้องกับความใฝ่ฝัน ความถนัดของตนเอง เช่น อยากเป็นหมอ ก็ได้เป็นสมใจอยาก อยากเป็นนักธุรกิจ อยากเป็นนักการเมือง อยากเป็นนักหนังสือพิมพ์ อยากเป็นดารา ฯลฯ ล้วนแล้วแต่ได้ทำงานตามที่ตนต้องการสมใจอยาก
การทำงานในลักษณะที่สามนี้ สิ่งที่จะได้รับอย่างเห็นได้ชัดก็คือ
1 งานก็ได้ผล
2 คนก็เป็นสุขด้วย...
ที่มา http://kri.onab.go.th
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น