++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันพฤหัสบดีที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2557

ฝึกกำลังสมอง ปลุกสมองให้ออกกำลังง่ายๆ แบบนี้....

อยู่เวรพบคนป่วยคล้ายๆอัลไซเมอร์บ่อยๆ เราก็ไม่อยากเป็นแบบนี้ สงสารลูกหลานด้วย
ทำไงดี ก็ต้องรักษาสมองเราดีๆเนอะ และมาฝึกกำลังสมอง ปลุกสมองให้ออกกำลังง่ายๆ แบบนี้....

1) ฝึกเดินถอยหลัง ให้ลองหัดเดินถอยหลังบ้าง หาพื้นที่โล่งกว้างยืนให้มั่น แล้วค่อยๆก้าวถอยหลังช้าๆทีละก้าว ทุกย่างก้าวจะต้องมั่นคง อย่าเร่งรีบ ควรทำให้ได้วันละ 50 ก้าว เมื่อคล่องแล้วจึงเพิ่มจำนวน

2) ฝึกใช้มือข้างที่ไม่ถนัด ลองเปลี่ยนความเคยชินแบบเดิม เพื่อกระตุ้นให้สมองแล่นมากขึ้น

3) ออกกำลังกายเบาๆยามเช้าหรือยามเย็น ช่วงแดดอ่อนๆ ให้เดินเท้าเปล่าเหยียบบนผืนดิน หรือเหยียบไปบนสนามหญ้าก็ได้ แล้วเดินแกว่งแขนเบาๆ หรือวิ่งเหยาะๆ ช่วยกระตุ้นให้เลือดลมไหลเวียนดี

4) ขยันดื่มน้ำ การดื่มน้ำสะอาดอย่างน้อยวันละ 8 แก้ว จะทำให้สมองแจ่มใสขึ้น เพราะในเนื้อสมองของเรามีน้ำร้อยละ 85 แม้สมองจะหนักเพียงร้อยละ 2ของน้ำหนักตัวแต่กลับต้องการเลือดหล่อเลี้ยงถึง 5% การขาดน้ำจะทำให้ประสิทธิภาพของสมองลดลง เกิดอาการซึมเศร้า และก่อให้เกิดโรคร้ายสารพัด

5) ทานอาหารเช้าอย่างราชา ร่างกายคนเราจำเป็นต้องได้รับสารอาหารเข้าไปเสริมสร้างความแข็งแรงให้กับเซลล์ต่างๆรวมทั้งเซลล์สมองด้วย ดังนั้น อาหารเช้าจึงเป็นมื้อสำคัญที่สุด

6) ฝึกบวกเลข และฝึกอ่าน ช่วงรถติดควรบริหารสมองด้วยการเล็งไปยังเลขทะเบียนรถคันหน้า หรือมองไปที่เบอร์โทรศัพท์หลังรถแท็กซี่ ถ้าเบื่อบวกเลขในใจ ก็ให้เปลี่ยนมาฝึกอ่านป้ายโฆษณาตามทาง

7) หัดเรียนรู้และลองทำสิ่งใหม่ๆ ช่วยให้กระบวนการคิดในสมองแล่นปรู๊ดดียิ่งขึ้น ลองเรียนจัดดอกไม้, ทำขนม หรือเล่นดนตรี


8) ฝึกนับเลขถอยหลัง ท่าน ส.ว.ทั้งหลายควรทำบ่อยๆ เพราะช่วยลดอาการสมองฝ่ออย่างได้ผลลองเริ่มจากหลักสิบก่อนเช่น50ไล่ถอยหลังมาถึงเลข 1 ควรนับเสียงดังๆ หรือเขียนลงกระดาษยิ่งเวิร์ก

9) หลับตานึกแล้วจด ช่วงว่างๆระหว่างรอ ให้หยิบสมุดจดกับปากกาดินสอมาลองนึกชื่อเพลง ชื่อหนัง หรือชื่อดารานักร้องคนโปรด แล้วจดลงสมุด

10) เล่นเกมฝึกสมองช่วยกระตุ้นสมองให้ ฟื้นฟูเช่นฝึกจับผิดภาพ,เล่นหมากรุกและซูโดกุ

11) อ่านหนังสือให้หลากหลาย ช่วยฝนสมองที่เริ่มทู่ให้แหลมคมขึ้นแต่ควรเปลี่ยนนิสัยการ อ่านให้หลากหลายขึ้นอย่าจำเจอยู่แต่ประเภทเดียว

12) ฝึกวาดรูปแบบง่ายๆหมั่นสร้างมโนภาพแบบเด็กอนุบาล ว่างปั๊บก็หยิบกระดาษขึ้นมาวาดรูป ลากเส้น จะช่วยให้คิดเป็นระบบยิ่งขึ้น

13) เปิดใจกว้างพูดคุยกับคนแปลกหน้า ช่วยให้สมองเปิดรับข้อมูลใหม่ๆได้ดีขึ้น

14) หมั่นพบปะสังสรรค์การเมาท์กับก๊วน เพื่อนช่วยต้านอาการซึมเศร้า ทำให้คิดอ่านเร็วขึ้น

15) ผ่อนคลายด้วยการทำสมาธิ แบ่งเวลา 10-20 นาที หลังตื่นนอน นั่งในท่าที่รู้สึกสบายที่สุด แล้วหลับตาลง และหายใจเข้าลึกที่สุด จากนั้นค่อยๆผ่อนลมหายใจออกมาให้สุดลม จะช่วยให้สมองโปร่งโล่งขึ้น.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น