พัฒนาอย่างสร้างสรรค์ สู่ การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน
ในช่วงปีที่ผ่านมา คำว่า การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน มีบทบาทในสังคมไทยเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ซึ่งถูกจัดเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมที่สร้างรายได้ให้กับประเทศ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นการท่องเที่ยวในเชิงสร้างสรรค์เพื่อความยั่งยืนนั้นไม่ได้จำกัดอยู่ที่การพัฒนาแต่ในด้านสถานแหล่งท่องเที่ยวเพียงเท่านั้น แต่หากการพัฒนาชุมชนให้ควบไปด้วย ก็จะช่วยให้มีการท่องเที่ยวอย่างสร้างสรรค์เกิดขึ้นและทำให้เกิดการพัฒนาร่วมกันสู่การท่องเที่ยวในแบบยั่งยืน
“การสนับสนุนให้ชุมชนที่ อยู่ให้เกิดสำนึกรักในเอกลักษณ์ที่ตนเองมีอยู่ เป็นหัวใจหลักที่จะทำให้เกิดการพัฒนาการท่องเที่ยวควบคู่ไปกับชุมชนโดยรอบ ให้มีความยั่งยืนเกิดขึ้น” กระทั่งปี พ.ศ.2546 จึงได้มีการจัดตั้ง “องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน” (อพท.) เพื่อพัฒนาการท่องเที่ยวที่ยั่งยืนไปพร้อมกับชุมชน
พันเอก ดร.นาฬิกอติภัค แสงสนิท ผู้อำนวยการ อพท. กล่าวว่า การให้ความสำคัญกับชุมชนมีความสำคัญเป็นอย่างมาก เพราะชุมชนคือเจ้าของพื้นที่ซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยว ดังนั้น การพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนจะต้องมีการบูรราการร่วมกัน มีการประสานงานส่งเสริม และสนับสนุนชุมชนท้องถิ่นให้มามีส่วนร่วมในการอนุรักษ์และพัฒนา มุ่งเน้นการทำงานร่วมกับชุมชน โดยการให้ชุมชนมีส่วนร่วมเป็นหลัก
เชียงใหม่ไนท์ซาฟารี
เชียงใหม่ไนท์ซาฟารี เป็นพื้นที่การท่องเที่ยวพิเศษที่ทาง อพท.จัดตั้งขึ้นให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวระดับโลกและเป็นแหล่งนันทนาการในการท่องเที่ยวในรูปแบบสวนสัตว์ ตั่งอยูในเขตพื้นที่อุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย จังหวัดเชียงใหม่ เชียงใหม่ ไนท์ซาฟารี ได้มีการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวไปพร้อมกับชุมชนตามวัตถุประสงค์เพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน โดยได้มีการประสานงาน สนับสนุนและส่งเสริมให้ชุมชนมีบทบาทการพัฒนาควบคู่ไปพร้อมกับแหล่งท่องเที่ยว
ชุมชนบ้านไร่กองขิง เป็นหนึ่งในชุมชนในเขตพื้นที่พิเศษเชียงใหม่ ไนท์ซาฟารีเป็นชุมชนตัวอย่างที่ มีการพัฒนาชุมชนของตนเองไปพร้อมกับการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว ตามนโยบายการมีส่วนร่วมของชุมชนรอบพื้นที่ ของทาง อพท.การพัฒนาชุมชนบ้านไร่กองขิง คือ การจัดตั้งกลุ่มเกษตรยามว่างอาหารปลอดภัยและการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน และคงความเป็นเอกลักษณ์ของชุมชนไว้ด้วย
นางสุพรรณ อินทะชัย ประธานกลุ่มออมทรัพย์พัฒนาบ้านไร่กองขิง
นางสุพรรณ อินทะชัย ประธานกลุ่มออมทรัพย์พัฒนาบ้านไร่กองขิง กล่าวว่า สืบเนื่องจากการตรวจสุขภาพของคนในชุมชน พบว่ามีผลตรวจเลือดมีปริมาณสารพิษ อยู่เป็นจำนวนมาก จึงได้ เกิดความตระหนัก ในเรื่องสุขภาพ จึงได้คิดโครงการเกษตรยามว่างอาหารปลอดภัย ปลูกผักปลอดสารพิษ ในปีพ.ศ. 2552 ได้รับการสนับสนุนและส่งเสริมจากทาง อพท. ซึ่งได้ให้คำแนะนำหลักการพัฒนาชุมชน
นางสุพรรณ กล่าวต่อว่า “การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนจึงได้เกิดขึ้นยังชุมชนแห่งนี้ ด้วยการบูรนาการ และการสนับสนุนให้คนในชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารจัดการท่องเที่ยว โดยการสร้างความเข้าใจให้เกิดความตระหนักรู้ให้แก่ชุมชน ให้คงเอกลักษณ์ของความเป็นอยู่บูรณาการไปพร้อมกับการมีแหล่งท่องเที่ยวอยู่ใกล้เคียงพัฒนาชุมชนของตนเองไปพร้อมกับแหล่งท่องเที่ยว ให้เกิดความยั่งยืนในหมู่บ้านของตน
บรรยากาศสวนผลไม้เเละแปลงปลูกผักปลอดสารพิษ บ้านไร่กองขิง
ชุมชนบ้านไร่กองขิง จึงได้มีการพัฒนาชุมชนของตนเองไปพร้อมกับการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว จัดตั้งพื้นที่ปลูกผัก ผลไม้ปลอดสารพิษ และนำมาจำหน่ายเป็นรายได้แก่ชุมชน และยังได้จัดตั้งเป็นแหล่งเรียนรู้ ให้นักท่องเที่ยวได้มาศึกษาดูงาน และยังมีการปลูกพืชผลทางการเกษตรเพื่อส่งจำหน่ายเป็นอาหารสัตว์ให้แก่ทางสวนสัตว์เป็นการสร้างอาชีพให้แก่คนในชุมชน เป็นการเอื้อประโยชน์ให้กันและกันระหว่างแหล่งชุมชนกับสถานที่ท่องเที่ยวและเป็นการกระจายรายได้เข้าสู่ชุมชนในพื้นที่ แสดงให้เห็นถึงการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ควบคู่ชมชน
การพัฒนาการท่องเที่ยวที่ควบคู่กับการพัฒนาชุมชนในพื้นที่ จึงเป็นสิ่งสำคัญ ของการสร้างความสมดุลและก่อให้เกิดประโยชน์ร่วมกัน ระหว่างชุมชนและแหล่งท่องเที่ยว ซึ่งเป็นสิ่งที่จะเป็นตัวเชื่อมโยงไปสู่การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนในอนาคต
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น