++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันศุกร์ที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2554

“น้ำลด ราผุด” และ แนวทางกำจัด เชื้อราภายในบ้านและวัสดุเครื่องเรือนหลังน้ำท่วม

“น้ำลด ราผุด” และ แนวทางกำจัด เชื้อราภายในบ้านและวัสดุเครื่องเรือนหลังน้ำท่วม
ภายหลังน้ำลดแล้ว บางครั้งเราสามารถเจอ เชื้อราในบ้าน และอุปกรณ์ต่างๆที่เกี่ยวข้อง ได้ เช่น เฟอร์นิเจอร์ วอลเปเปอร์ ฝ้า ผนัง หนังสือ เครื่องเรือน เครื่องหนัง เครื่องใช้ไฟฟ้า ห้องน้ำ เพดานท่อน้ำที่มีการรั่วซึม และอุปกรณ์อื่นๆที่มีการเปียกชื้น

หน้าที่ 1 - น้ำลด ราผุด (เรียบเรียง by Nattawut Boonyuen ใน http://www.vcharkarn.com/my/154/blog )
วัสดุที่เปียกที่ถูกน้ำท่วมมักจะมีความชื้นสูงและมีอากาศไม่ถ่ายเท ซึ่งสภาพแวดล้อมดังกล่าวเหมาะต่อการเจริญเติบโตของเชื้อราบางชนิดได้ ซึ่งบางคนอาจมีความไวต่อการเชื้อราดังกล่าว เมื่อหายใจเอาสปอร์ของเชื้อราเข้าไป อาจจะทำให้เกิดผลเสียต่อระบบทางเดินหายใจได้ โดยเชื้อราอาจก่อให้เกิดปฏิกิริยาแพ้ต่างๆได้ เช่น เกิดอาการคัดจมูก หอบหืด ไอ หายใจไม่ออก
บางคนได้รับสปอร์ของเชื้อราเข้าไปนานๆและปริมาณมาก ก็อาจทำให้เนื้อเยื่อปอดผิดปกติได้ โดยเฉพาะเด็กเล็ก ผู้สูงอายุและผู้ป่วยอาจมีความเสี่ยงต่อโรคดังกล่าวมากที่สุด

ภาพประกอบจาก http://www.thaigoodview.com/node/48236

เชื้อราเป็นสิ่งมีชีวิตประเภทจุลินทรีย์ จัดเป็นเซลล์ยูคาริโอต อยู่ในอาณาจักรรา เชื้อรามีระบบสืบพันธุ์ที่เรียกว่าสปอร์ทั้งอาศัยเพศและไม่อาศัยเพศ ซึ่งมีทั้งชนิดที่ก่อให้เกิดโรค และชนิดที่ไม่ก่อให้เกิดโรค เชื้อราที่พบในบ้านหลังน้ำท่วมส่วนใหญ่มักจะพบบนวัสดุที่เปียกชื้นและมีปัจจัยสภาพแวดล้อมเอื้ออำนวยต่อการเจริญเติบโต เช่นเฟอร์นิเจอร์ที่ถูกน้ำท่วมมีองค์ประกอบของไม้และน้ำตาลเชิงไม่ซับซ้อนอาจเป็นอาหารอย่างดีของเชื้อรา ซึ่งนำไปสู่การเสื่อมสภาพและสร้างความเสีย หายต่อ เฟอร์นิเจอร์ ยิ่งไปกว่าน้ำถ้าเป็นราที่ก่อให้เกิดโรคนำไปสู่ผลเสียต่อสุขภาพร่างกายได้


ภาพจาก http://teerawatsri.multiply.com/journal/item/472

บ้านและเครื่องเรือนที่ถูกน้ำท่วมอาจสามารถมองเห็นโคโลนีของเชื้อราบนพื้นผิวของวัสดุได้ด้วยตาเปล่า โคโลนีของเชื้อรามักมีมีรอยจุด สีต่างๆ เช่นสีดำ (เป็นสีที่พบมากที่สุด) สีน้ำตาล สีเขียว สีแดง สีเหลือง สีขาว เป็นดวงและมีกลิ่นอับ ๆ นั่นคือสัญญาณบอกให้รู้ว่าเชื้อราได้เข้าโจมตีบ้านและวัสดุที่เปียกเข้าให้แล้ว


ภาพจาก http://ldthealthsolutions.com/ldtrxtest/FacilityDesign.aspx

สีโคโลนีของเชื้อราดังกล่าวคือกลุ่มสปอร์ขนาดเล็กจำนวนมาก ขึ้นอยู่กับสกุลและสายพันธุ์เชื้อรา มีการรายงานการปนเปื้อนของเชื้อราบางสกุลหรือ จีนัสมักพบกับ วัสดุ เช่น หนังสือ เฟอร์นิเจอร์ที่เปียกชื้น เช่นจีนัส Aspergillus จีนัส Cladosporium จีนัส Chaetomium จีนัส Trichoderma จีนัส Stachybotrys และเชื้อราในสกุล Epicoccum เชื้อราดังกล่าวมักถูกพบอยู่บ่อยครั้ง


รูปจาก http://news.mthai.com/general-news/138740.html
ขั้นตอนง่ายๆทำลายเชื้อรา 6 ขั้นตอน ดัดแปลงจากคู่มือ “A Brief Guide to Mold, Moisture and Your Home”


1. สวมใส่อุปกรณ์ป้องกันร่างกาย
โดยเฉพาะคนที่มีความไวต่อสปอร์เชื้อรา ควรสวมหน้ากากป้องกัน หรือ เครื่องช่วยหายใจที่รับการจัดอันดับ (N - 95 หรือสูงกว่า) หน้ากากป้องกันบางชนิดอาจมีวาล์วเพื่อให้ง่ายต่อการหายใจ ควรสวมถุงมือ รองเท้าบู๊ทยาง และสวมใส่แว่นป้องกันตา เพื่อป้องกันการสัมผัสทางผิวหนังโดยตรง ในระหว่างการทำความสะอาด

ภาพจาก
http://www.navy34.com/index.php/khowledge-general-navy34?start=12

2. แยกพื้นที่ทำงานและระบายอากาศ
โคโลนีของเชื้อราในระหว่างการทำความสะอาดสามารถปล่อยสปอร์จำนวนมากไปในอากาศได้ ควรเปิดประตู หน้าต่าง ม่าน ให้อากาศถ่ายเทในห้อง ให้มีแดดส่องถึง และไม่ควรใช้ระบบระบายอากาศภายในบ้าน หรือเปิดแอร์ และพัดลมในระหว่างการทำความสะอาดป้องกันการฟุ้งกระจายของเชื้อรา

ภาพจาก
http://www.decorreport.com/

3. เปลี่ยนเฟอร์นิเจอร์และอุปกรณ์ต่างๆที่พบเชื้อรา
โดยเฉพาะเฟอร์นิเจอร์ที่ทำมาจากวัสดุที่มีลักษณะเป็นรูพรุนซึ่งไม่สามารถชำระล้างและทำให้แห้งได้ รวมทั้งที่ปูพรม เบาะผ้าและที่นอน ฟูก วอลเปเปอร์ ฝ้าผนัง แผ่นยิปซั่ม ผลิตภัณฑ์ไม้แผ่นฝ้า ไม้เนื้ออ่อน ผลิตภัณฑ์กระดาษ หนังสือและเครื่องเรือนที่เป็นวัสดุที่มีลักษณะเป็นรูพรุน เพื่อลดการแพร่กระจายของสปอร์ราและทำลายแหล่งเพาะเชื้อรา อุปกรณ์ต่างๆ ควรทิ้งใส่ในถุงพลาสติกและมัดอย่างดี กันแพร่กระจายของเชื้อราสู่อากาศ ทั้งนี้โดยให้พิจารณาว่าสิ่งของใดก็ตามและอุปกรณ์ต่างๆที่เกี่ยวข้องที่ไม่สามารถกำจัดเชื้อราได้หมดหลังจากทำความสะอาดฆ่าเชื้อและไม่สามารถทำให้แห้งได้ ไม่ควรเก็บไว้ อย่าเสียดาย ให้ทิ้งไปให้หมด


ภาพจาก http://www.cartoonstock.com/directory/b/bedroom_furniture.asp
4. ทำความสะอาดและการทำลายเชื้อรา
ทำความสะอาดโดยการขัดล้างให้เร็วที่สุด ภายใน 24 ถึง 48 ชั่วโมงหลังน้ำท่วมลดลง พวกวัสดุที่ไม่มีลักษณะเป็นรูพรุนรวมทั้ง อุปกรณ์ต่างๆบางประเภทที่สามารถทำความสะอาดได้อย่างมีประสิทธิภาพได้ไม่ต้องทิ้ง เช่นพลาสติก คอนกรีต กระจก กระเบื้องเซรามิก โลหะ และไม้เนื้อแข็ง (เชื้อราไม่สามารถเจาะไม้เนื้อแข็งได้) อย่าลืมเปิดประตูและหน้าต่างเพื่อระบายอากาศตามวิธีที่กล่าวมาแล้วข้อ 2 และสวมถุงมือยางทุกครั้ง ถ้ามีพื้นที่ด้านนอก ให้ขยับอุปกรณ์ต่างๆออกมาพึ่งอากาศที่โปร่งโล่ง กลางแจ้ง หรือที่มีแดดส่องถึง ประมาณ สอง ถึงสามวัน ก็ยิ่งดี
***ส่วนการทำลายเชื้อรา เริ่มแรกควรล้างด้วยน้ำและสบู่หรือผงซักฟอกเพื่อขจัดสิ่งสกปรกออกก่อน แล้วตามด้วยการขัดล้างด้วยน้ำยาโซเดียมไฮโปคลอไรด์ 0.5 เปอร์เซนต์ (NaOCl) หรือ ใช้ผลิตภัณฑ์น้ำยาซักผ้าขาว ที่มีส่วนผสมของ โซเดียมไฮโปคลอไรด์ ที่มีชื่อทางการค้าว่า “ไฮเตอร์” นำน้ำยาซักผ้าขาวชนิดนี้ ผสมกับน้ำ โดยมีอัตราส่วน 3-5 ต่อ 1 เพื่อฆ่าเชื้อราได้ (น้ำยาซักผ้าขาว ชนิดนี้มีส่วนผสมของสารละลาย คลอรอกซ์ โดยทั่วไปจะเรียกว่าคลอรีนน้ำ มีสมบัติในการฟอกจางสี กัดกร่อนอย่างรุนแรง และทำลายจุลินทรีย์ได้ดี นิยมนำไปใช้ในอุตสาหกรรมเพื่อทำความ สะอาด ดังนั้นเวลาใช้ต้องเจือจางก่อน) ห รือ หาซื้อผลิตชื่อทางการค้าอื่นๆที่มีสารโซเดียมไฮโปคลอไรด์ผสมอยู่ เราสามารถดูข้างฉลากว่ามีสารเคมีที่สามารถฆ่าเชื้อราได้ สามารถหาซี้อได้ตามท้องตลาด และ ซุปเปอร์มาเกตทั่วไป

ภาพจาก http://www.chem1.com/CQ/oxyscams.html

@ ถ้าเป็นการการขัดผนังปูนหรือพื้นผิวที่หยาบควรขัดด้วยแปรงชนิดแข็ง ถ้าไม่สามารถหาซื้อได้ให้ อาจผสมน้ำยาใช้เองโดยใช้ผงฟอกขาวที่มีใช้อยู่ตามบ้านและตามท้องตลาดผสมกับน้ำ โดยมีอัตราส่วน 1 ต่อ 1 เช่นใช้ ปริมาณ 1 ถ้วยตวงของผงฟอกขาว ผสมกับน้ำ 1 แกลลอน (ประมาณ 3. 8 ลิตร)

ภาพจาก http://www.safemoldsolutions.com/basement_mold_removal.php

@หากพบเชื้อราขึ้นเป็นจุด ๆดวงๆ บน วอลเปเปอร์ และ ผนัง อาจใช้ เช็ดแอลกอฮอล์ล้างแผล 70 เปอร์เซนต์ ผสม กับ กรดซาลิไซลิก โดยมีอัตราส่วน 5 ต่อ 1 หรือหากพบว่ามีเชื้อราเป็นจำนวนมาก เกินกว่าจะกำจัดไหว ก็ควรเปลี่ยนวอลเปเปอร์และ ผนังเสียใหม่ดีกว่า

ภาพจาก http://www.yourblackmoldguide.com/black-mold-pictures/

@หากพบเชื้อราขึ้นบน หนังสือ และ เครื่องเรือนประเภทไม้ อย่าใช้ผ้าชุบน้ำ เช็ด เพราะ น้ำ ทำให้เกิดการสะสมความชื้นอีก และทำให้เกิดเชื้อรามากขึ้น ในการทำความสะอาดผลิตเครื่องเรือนประเภทไม้ อาจใช้ผ้าชุป แอลกอฮอล์ 70 ปอร์เซนต์ หรือ ฟอร์มาลีนเจือจางเช็ด และแล้วปล่อยให้แห้งเอง หากมีเชื้อราขึ้นมากเกินการกำจัด ก็ควรเปลี่ยนไม้ดีกว่าและทิ้งไปเลย ถึงแม้ว่าได้ทาแลกเกอร์เคลือบผิวก็ตาม


ภาพจาก http://www.moldbacteriaconsulting.com/mold-on-books.html

@หากพบเชื้อราขึ้นบนเครื่องเรือนและอุปกรณ์ประเภทเครื่องหนังให้ใช้น้ำส้มสายชู เช็ดถู หลาย ๆ ครั้ง เนื่องจากน้ำส้มสายชูมีสภาพเป็นกรดสามารถทำลายเชื้อราได้ หลังจากแห้งแล้วเราสามารถเช็ดทำความสะอาดโดยวิธีอื่นๆเพิ่ม เช่น ใช้น้ำยาทำความสะอาดอีกครั้ง บางกรณีอาจใช้ครีมเช็ดรองเท้ามาเช็ดถูปิดท้าย


ภาพจาก http://www.alibaba.com/buyofferdetail/103369457/Buying_Mold_leather_Furniture.html

@หากพบเชื้อราขึ้นบนเครื่องเรือนและอุปกรณ์ประเภทที่ทำจาก ผ้า เช่น เสื้อผ้า ปอกหมอน ม่านและเครื่อนนอนต่างๆ ให้ต้มน้ำร้อนเดือดฆ่าเชื้อรา ทั้งนี้สามารถใช้วิธีอื่นๆร่วมด้วยเช่น ใช้น้ำยาซักผ้าขาว ที่มีส่วนผสมของ โซเดียมไฮโปคลอไรด์แช่ไว้ก่อน หากมีเชื้อราขึ้นมากเกินกำจัด ก็ควรเปลี่ยนและทิ้งไปเลย

ภาพจาก http://www.moneypit.com/question-and-answer/cleaning-mold-furniture

@นอกจากนี้หากพบเชื้อราฝังตัวอย่างแน่นหนาตามเครื่องเรือนประเภทไม้ ผนัง วอลเปเปอร์ ที่ไม่สามารถกำจัดออกได้ โดยการขัดล้าง ทำความสะอาด โดยเฉพาะการฝังซ่อนตัวภายในชั้นวัสดุแทรกภายใน ซึ่งไม่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่าได้ แนะนำให้เปลี่ยนใหม่ ไม่ควรทาสีกลบทับเพราะไม่สามารถทำลายสปอร์ที่เหลือได้และอาจเป็นแหล่งสะสมของเชื้อราขึ้นได้ภายหลัง

ภาพจาก http://www.inspectapedia.com/sickhouse/Green_Mold_Pictures.htm

ข้อควรระวัง ควรศึกษาคู่มือการใช้ยาฆ่าเชื้อราที่ผสมในผลิตสำเร็จรูปบางยี้ห้อโดยให้ปฏิบัติตามป้ายและคำเตือนในการใช้อย่างระมัดระวัง
5. การทำให้แห้ง
หลังจากทำความสะอาดและฆ่าเชื้อราในบ้านแล้ว ให้ใช้พัดลมเป่าในบ้านและอุปกรณ์ต่างๆที่เกี่ยวข้อง ยิ่งไปกว่านั้นควรเปิดหน้าต่าง เปิดประตู เพื่อดึงสปอร์ราที่อยู่ในอากาศในบ้านออกไปนอกตัวบ้านหรืออาคารให้มากที่สุด โดยใช้เวลา พึ่งลมประมาณ 1 ชัวโมง หรือ มั่นใจว่า บ้าน และอุปกรณ์ต่างๆที่เกี่ยวข้องแห้งสนิทแล้ว หากบ้านไหนมีเครื่องลดความชื้นก็อาจใช้ร่วมด่วย บางกรณีอาจเลือกการทำให้แห้งของอุปกรณ์ต่างๆที่มีขนาดเล็กสามารถใช้เครื่องเปล่าผมไฟฟ้าซึ่งเป็นความร้อนแห้ง ช่วยทำให้แห้งไวขึ้น



ภาพจาก http://ldthealthsolutions.com/ldtrxtest/FacilityDesign.aspx

6. ตรวจสอบให้แน่ใจอีกครั้ง
ภายหลังจากความสะอาดแล้วผ่านไป 2 ถึง 3 วัน แล้ว ให้ มองหาสังเกตการเจริญเติบโตของเชื้อรา ซึ่งเชื้อราอาจถูกพบและเจริญเติบโตซ้ำได้ ถ้าวัสดุ เครื่องเรือน ดังกล่าวยังไม่แห้งดีพอ ซึ่งมีความชื้นอยู่ ถ้ายังพบเชื้อราอีกให้ทำความสะอาดซ้ำโดยวิธีที่กล่าวด้านบน ข้อ 1-ข้อ 5 โดยเฉพาะบ้านที่ใช้เครื่องปรับอากาศ อาจมีความบกพร่องของเครื่องปรับอากาศ ในการดึงความชื้นออกจากอากาศภายในห้องได้ไม่ดีเท่าที่ควรอาจเป็นสาเหตุหนึ่งในการกลับมาของเชื้อราดังกล่าว ควรเรียกช่างแอร์ทำการแก้ไขโดยด่วน กรณีการตรวจสอบปัจจัยต่างๆโดยละเอียด ถ้ายังพบเชื้อราอีกอาจจะต้องตรวจสอบระบบการระบายอากาศ ระบบแอร์ทั้งหมด ระดับความชื้นภายในอาคารด้วย ระดับอุณหภูมิ และสิ่งแวดล้อมทื่เกี่ยวข้อง รวมทั้งอาจต้องมีการนำเครื่องมือเฉพาะทางมาตรวจส อบเชื้อรา

ภาพจาก http://ldthealthsolutions.com/ldtrxtest/FacilityDesign.aspx
หมายเหตุ การเก็บตัวอย่างเชื้อรามาตรวจสอบด้วยละเอียดเพื่อกรณีระบุว่าเชื้อราดังกล่าวเป็นตัวทำให้เกิดภูมิแพ้ เช่น เชื้อรา แอสเปอร์จิลลัส ฟูมิกาตัส (Aspergillus fumigatus) เป็นสาเหตุหนึ่งของโรคระบบทางเดินหายใจ สามารถส่งบริการทั้งต่างประเทศและภายในประเทศ ซึ่งในประเทศไทยการระบุชนิดของเชื้อราและการตรวจเชื้อราทางห้องปฏิบัติการ โดยดูรูปลักษณะสัณฐานวิทยาและใช้เทคนิคเชิงโมเลกุลมาช่วยจำแนก สามารถติดต่อผู้เชี่ยวชาญด้านราวิทยาโดยตรง เช่น การบริการการจำแนกเชื้อรา ในมหาวิทยาลัยรัฐบางแห่ง สถาบันวิจัยของ ภาครัฐบางแห่ง หน่วยงานในกำกับของกระทรวงของภาครัฐบางแห่ง
เอกสารและข้อมูลอ้างอิง
@ ห้องปฏิบัติการราวิทยา หน่วยวิจัยการเทคโนโลยีทรัพยากรชีวภาพ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) http://www.biotec.or.th/mycology/
@อ้างอิงบางส่วนจาก คู่มือ “A Brief Guide to Mold, Moisture and Your Home” ของhttp://www.epa.gov/mold/moldguide.html
@อ้างอิงบางส่วนจาก www.epa.gov/mold/pdfs/moldguide.pdf
@อ้างอิงบางส่วนจาก “Mold Removal Guidelines For Your Flooded Home” ของ Louisiana State University Agricultural Center
@อ้างอิงบางส่วนจาก http://www.vcharkarn.com/my/154/blog
@อ้างอิงบางส่วนจาก http://inspectapedia.com/sickhouse/mold.htm
@อ้างอิงบางส่วนจาก www.vcharkarn.com/vcafe/134208
@อ้างอิงบางส่วนจาก www.vcharkarn.com/vcafe/66372
@อ้างอิงบางส่วนจาก www.vcharkarn.com/vblog/114955/1/30
*หมายเหตุ งานเขียนชิ้นนี้ ได้รับการคุ้มครองสิทธิตามพระราชบัญญัติคุ้มครองสิทธิทางปัญญา โดยลิขสิทธิเป็นของผู้เขียน ที่ให้เกียรตินำเผยแพร่ผ่าน วิชาการ.คอม เรามีความยินดีและอนุญาตให้ทำซ้ำหรือเผยแพร่ต่อเพื่อประโยชน์ทางการศึกษาเท่านั้น กรุณาให้เกียรติผู้เขียน โดยอ้างชื่อผู้เขียนและ วิชาการ.คอม (www.vcharkarn.com) ทุกครั้งที่ทำการเผยแพร่ต่อ ห้ามนำส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อในสื่อที่เอื้อประโยชน์ทางธุรกิจก่อนได้รับอนุญาต ขอขอบคุณที่ร่วมกันช่วยสร้างให้สังคมไทยเป็นสังคมแห่งปัญญา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น