++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันพุธที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2551

ผลการใช้รูปแบบการพัฒนาทีมงานต่อการทำงานเป็นทีมของบุคลากรสุขภาพศูนย์สุขภาพชุมชนอำเภอบ้านบึง จังหวัดชลบุรี


EFFECT OF TEAM DEVELOPMENT PROGRAM ON TEAMWORK OF HEALTH CARE PERSONNEL IN PRIMARY CARE UNIT OF BANBUENG DISTRICT CHONBURI PROVINCE


นิสารัตน์ อ้นวงษา
Nisarat Onaongsa (พยาบาลวิชาชีพ 5 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดตราด)


เรณา พงษ์เรืองพันธุ์
Rana Pongruengphant (รองศาสตราจารย์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา)


วิจิตร์พร หล่อสุวรรณกูล
Wichitporn Lausiwanagoon (อาจารย์ภาควิชาวิจัยประเมินผลและบริหารการพยาบาล คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา)



การวิจัยชิ้นนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง แบบ 2 กลุ่ม วัดผลก่อนและหลังการทดลอง ที่มุ่งศึกษาเปรียบเทียบผลการใช้รูปแบบการพัฒนาทีมงานต่อการทำงานเป็นทีมของบุคลากรสุขภาพระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ บุคลากรสุขภาพในศูนย์สุขภาพชุมชนอำเภอบ้านบึง จังหวัดชลบุรี จำนวน 22 คน สุ่มอย่างง่ายโดยวิธีจับสลากและสุ่มแบ่งเป็นกลุ่มทดลองที่ใช้รูปแบบการพัฒนาทีมงาน 1 เครือข่าย จำนวน 11 คน และกลุ่มควบคุมที่ปฏิบัติงานตามปกติ 1 เครือข่าย จำนวน 11 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) แบบประเมินการทำงานเป็นทีม เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ที่ผ่านการตรวจสอบความเที่ยงตรงและหาค่าความเชื่อมั่นโดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาคได้เท่ากับ .91 2) รูปแบบการพัฒนาทีมงานที่ใช้ในการทดลอง 3) แบบสังเกตทักษะการทำงานเป็นทีม และ 4) แบบประเมินปัญหาการทำงานเป็นทีม ซึ่งผ่านการตรวจสอบความเที่ยงตรงและตรวจสอบความเห็นพ้องของผู้ทรงคุณวุฒิได้ ร้อยละ 100 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างกลุ่มโดยใช้สถิติ independent t test และ dependent t test


ผลการวิจัย พบว่า


1. การทำงานเป็นทีมของกลุ่มควบคุมที่ปฏิบัติงานตามปกติก่อนการทดลองและหลังการทดลอง ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


2. การทำงานเป็นทีมของกลุ่มทดลองหลังใช้รูปแบบการพัฒนาทีมงาน (X= 4.13, SD = 0.20) สูงกว่าก่อนใช้รูปแบบการพัฒนาทีมงาน (X = 3.62, SD= 0.27, t= 6.59, p< .05)


3.การทำงานเป็นทีมของกลุ่มทดลอง หลังใช้รูปแบบการพัฒนาทีมงาน (X = 4.13, SD = 0.20) สูงกว่ากลุ่มควบคุมที่ปฏิบัติงานตามปกติหลังการทดลอง (X = 3.58, SD = 0.41, t = 3.94, p<.05)


ที่มา วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
ปีที่ 12 ฉบับที่ 1 ม.ค.- เม.ย.2547




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น