++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันพฤหัสบดีที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

การเปลี่ยนแปลงที่มาจากตัวตนด้านใน


การเปลี่ยนแปลงที่มาจากตัวตนด้านใน

เขียนโดย : กะว่าก๋า






ก่อนเรียนรู้เซ็น ภูเขาคือภูเขา แม่น้ำคือแม่น้ำ
ขณะเรียนรู้เซ็น ภูเขาไม่ใช่ภูเขา แม่น้ำไม่ใช่แม่น้ำ
หลังถ่องแท้ในเซ็น ภูเขาคือภูเขา แม่น้ำคือแม่น้ำ





นี่คือหนึ่งในโศลกคำสอนที่มีชื่อเสียงมากที่สุดบทหนึ่งของนิกายเซ็น
นี่จึงเป็นคำสอนที่ยึดโยงได้กับการเรียนรู้แบบ
รู้จำ รู้ทำ รู้แจ้ง รู้ปล่อยวาง




................................................






เรามักถกเถียงกันมาโดยตลอดว่า
อยากให้ระบบการสอนของประเทศเราสอนวิธี “คิด”
ไม่ใช่สอนแบบ “ท่องจำ” ให้กับผู้เรียน
ผมกลับมองว่า “การจำ” เป็นจุดเริ่มต้นของ “การคิด”
แต่เมื่อ “จำข้อมูล” แล้ว
ต้องนำไปปฎิบัติ ให้กลายเป็น “ความเคยชิน”
เมื่อเคยชินแล้วต้องกลับมาทบทวนดู
จนรู้ให้ได้ว่าเรารู้เรื่องนั้นดีแล้วหรือยัง ถูกต้องแล้วหรือยัง
เมื่อรู้แจ้งแทงตลอดแล้ว...
ก็จำเป็นที่จะปล่อยวางความรู้เดิม

การปล่อยวางที่ไม่ได้หมายความว่าให้เราทิ้งความรู้เดิมเพื่อไปหาความรู้ใหม่
หากแต่เป็นการปล่อยวางความรู้สึกที่ว่า “ฉันรู้แล้ว ฉันรู้ดี”
เพราะอาจมีคนที่รู้ดีกว่าเรา ถูกต้องกว่า พัฒนากว่า
และเมื่อเราเปิดใจเรียนรู้
“ความรู้ใหม่ที่สมบูรณ์กว่า” ก็จะเกิดขึ้น





..................................................






เคยเล่น “เป่า ยิ้ง ฉุบ” ไหมครับ ?
กระดาษ กรรไกร ค้อน
นี่เป็นการสอนที่ดีมาก นั่นคือ ในโลกนี้ “ไม่มีอะไรที่ดีที่สุด”
กระดาษชนะค้อน แต่ค้อนชนะกรรไกร
และกรรไกรก็ชนะกระดาษ
ไม่มีความรู้ใดที่ถูกต้องที่สุด ดีที่สุด
หรือไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้
ทุกข้อเท็จจริง อาจมีข้อเท็จจริงที่ลึกล้ำกว่า ดีกว่า
หากเราพัฒนาวิธีคิด วิธีเรียนรู้ไปเรื่อยๆ
สิ่งหนึ่งส่งผลต่ออีกสิ่ง
ความรู้ที่เราคิดว่าไม่มีประโยชน์
วันหนึ่งอาจเป็นความรู้ที่ทำให้เราประสบความสำเร็จ
หรือแม้แต่นำพาชีวิตให้พบกับเส้นทางแห่งความสุข





..........................................






“รู้จำ รู้ทำ รู้แจ้ง รู้ปล่อยวาง”





ผมไม่รู้ว่าคุณเห็นภูเขาเป็นอะไร ?
เห็นแม่น้ำเป็นสิ่งใด ?
แต่ “สิ่งนั้น” ที่คุณเห็น
มันกำหนดชีวิตคุณได้แน่ๆ….
ผมยืนยัน.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น