++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันเสาร์ที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2555

ตลาดหุ้นกับการเกิดวิกฤตเศรษฐกิจประเทศเวียดนามและประเทศจีน โดย สุทธิพงษ์ ปรัชญพฤทธิ์



ช่วงที่ผ่านมาผู้คนกล่าวขวัญถึงความเจริญทางเศรษฐกิจของประเทศเวียดนามและประเทศจีน ที่เห็นการลงทุนต่างๆ ขยายตัวอย่างรวดเร็ว มีการพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ ก่อสร้างระบบการขนส่งด้วยรถไฟความเร็วสูงระยะทางเป็นพันและเป็นหมื่นกิโลเมตร ของเวียดนามสร้างทางรถไฟความเร็วสูงจากเหนือจรดใต้ ของประเทศจีนสร้างทางรถไฟความเร็วสูงระหว่างตะวันออกตะวันตก พัฒนาสนามบินและสายการบิน ประเทศจีนสามารถส่งคนออกไปและกลับจากนอกโลกได้





แต่ผู้เขียนเห็นต่างจากการกล่าวขวัญถึงความเจริญของเวียดนามและจีน เห็นว่าความเสียหายและความเสื่อมกำลังจะเกิดขึ้นกับประเทศเวียดนามและประเทศจีน เงินเฟ้อจะสูงขึ้น ความยากจน ความเดือดร้อนกำลังเกิดขึ้นกับประชาชนคนเวียดนามและประชาชนคนจีน

เหมือนเช่นที่เกิดกับประชาชนประเทศสหรัฐอเมริกา ยุโรป และประเทศต่างๆทั่วโลก ที่ออกมาเดินขบวนตามท้องถนน หลายประเทศมีจลาจล

ทรัพยากรโลก จะตกเป็นของคนที่ไม่รู้จักตัว ไม่รู้จักสัญชาติที่มีเพียง 1 เปอร์เซ็นต์ของระบบ





ข่าวจากผู้จัดการออนไลน์ 25 กรกฎาคม 2554 เสนอข่าว “ทางการเวียดนามระบุว่า ในเดือน ก.ค.นี้ อัตราเงินเฟ้อสูงขึ้นถึงร้อยละ 22 ปรับเพิ่มมาเป็นเดือนที่ 11 ติดต่อกัน

ดูข่าว เมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 2555 ที่ผ่านมา หรือประมาณ 1 ปีหลังภาพข่าวข้างบนนี้ “คนเวียดนามแตกตื่นแห่ถอนเงินหลังจับนายแบงก์ใหญ่ ตลาดหุ้นวูบหนัก”

http://www.manager.co.th/IndoChina/ViewNews.aspx?NewsID=9550000104050











ข่าว “คนเวียดนามแตกตื่นแห่ถอนเงินหลังจับนายแบงก์ใหญ่ ตลาดหุ้นวูบหนัก” เป็นเพียงปัญหาปลายเหตุ แต่ต้นเหตุมาจากการพังทลายของตลาดหุ้น ตลาดหุ้นประเทศใดพังทลาย ค่าเงินของประเทศนั้นพังทลายลงด้วย ดูตัวอย่างต่อไปนี้ กราฟด้านซ้ายเป็นดัชนีตลาดหุ้น กราฟด้านขวาเป็นค่าของเงิน





ตัวอย่างประเทศไทย 1 การพังทลายของตลาดหุ้นระหว่างปี 1977-1982 SET ตกลงไป 62 เปอร์เซ็นต์ ทำให้ค่าเงินบาทเสียหาย ต้องลดค่าเงินบาท สภาพคล่องของระบบเสียหาย ต้องเข้ารับความช่วยเหลือสภาพคล่องจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) เป็นครั้งแรก





ตัวอย่างประเทศไทย 2 การพังทลายของตลาดหุ้นระหว่างปี 1994-1998 SET index ตกลงไป 88 เปอร์เซ็นต์ ทำให้ค่าเงินบาทเสียหาย ต้องลอยค่าเงินบาท สภาพคล่องของระบบเสียหาย ต้องเข้ารับความช่วยเหลือสภาพคล่องจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) เป็นครั้งที่ 2





ตัวอย่างประเทศสหรัฐอเมริกา การพังทลายของตลาดหุ้นแนสแด็กระหว่างปี 2000-2002 ตกลงไป 78 เปอร์เซ็นต์ ทำให้ค่าเงินเหรียญสหรัฐเสียหาย เมื่อเทียบกับเงินยูโรตกลงไป 47 เปอร์เซ็นต์ สภาพคล่องของระบบเศรษฐกิจประเทศสหรัฐอเมริกาเสียหาย ไม่พึ่งกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) แต่คิดพิมพ์เงินดอลลาร์ออกมาใช้แทน (Quantitative Easing) ปี 2008 พิมพ์ออกมา 1.7 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ ปี 2010 พิมพ์ออกมาอีก 0.6 ล้านล้านเหรียญ

การพังทลายของค่าเงินเหรียญสหรัฐกลายเป็นปัญหาใหญ่ของโลก เนื่องจากสกุลเงินดอลลาร์เป็นเงินที่สกุลใหญ่ที่สุดในโลก ทำให้คนไม่ถือเงินเหรียญสหรัฐ ทำให้เงินเหรียญสหรัฐไหลออกมาท่วมโลก สภาพคล่องท่วมโลก ท่วมยุโรป ท่วมจีน ท่วมเวียดนาม ฯลฯ ทำให้ตลาดหุ้นโลก ตลาดหุ้นยุโรป ตลาดหุ้นจีน ตลาดหุ้นเวียดนาม พุ่งสูงขึ้นอย่างรวดเร็วและรุนแรง และพังทลายลงในปี 2008 (Hamburger Crisis) ก่อให้เกิดความเสียหายและเกิดปัญหาที่ยุ่งยากแก่โลกจนถึงทุกวันนี้





ตัวอย่างประเทศกลุ่มยูโรโซน การพังทลายของตลาดหุ้นกลุ่มยูโรโซนระหว่างปี 2007-2009 (Hamburger Crisis) ดัชนีตลาดหุ้นยูโรโซนตกลง 71 เปอร์เซ็นต์ ทำให้ค่าเงินยูโรเสียหาย เมื่อเทียบกับเงินเหรียญสหรัฐ ได้ตกลงต่อเนื่องมาเป็นเวลา 4 ปีแล้ว สภาพคล่องของระบบเศรษฐกิจของกลุ่มยูโรโซนเสียหาย ต้องเข้ารับความช่วยเหลือสภาพคล่องจากธนาคารกลางกลุ่มยูโรโซน (ECB) และกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ใช้เงินไปกว่า 1 ล้านล้านดอลลาร์แล้ว บางประเทศไม่สามารถชำระหนี้ได้ มีการตัดหนี้ไม่สามารถชำระได้ (Hair cut) ทำให้เจ้าหนี้เสียหายระดับหนึ่ง





ตัวอย่างประเทศเวียดนาม ตลาดหุ้นเวียดนามเป็นตลาดหุ้นเปิดใหม่ การพังทลายของตลาดหุ้นระหว่างปี 2007-2009 HCM index ตกลง 79 เปอร์เซ็นต์ ทำให้ค่าเงินดองเสียหาย ค่าเงินดองตกลงอย่างต่อเนื่อง สภาพคล่องของระบบเสียหาย ขณะที่นำเสนอบทความนี้ ความเสียหายยังคงดำเนินอยู่ ดังที่นำเสนอไว้ในช่วงต้นของบทความนี้





ตัวอย่างประเทศจีน ปัญหาของประเทศจีนแตกต่างจากในหลายประเทศ เนื่องจากได้มีการผูกค่าเงินหยวนไว้กับเงินเหรียญสหรัฐ เมื่อตลาดหุ้นแนสแด็ก และค่าเงินเหรียญสหรัฐพังทลายลง ส่งผลให้ค่าเงินหยวนอ่อนกว่าความเป็นจริง ทำให้ผู้คนที่เข้าใจ เช่น บรรดากองทุนโลก Hedge Fund ต่างเข้ามาไล่ซื้อ ไล่เก็บหยวนอย่างเมามันตั้งแต่ปี 2001 - กลางปี 2005 ส่งผลให้ทุนสำรองของจีนสูงขึ้นอย่างรุนแรง ทุกวันนี้ทุนสำรองของจีนรวมทองคำสูงถึง 2.6 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ และติดอันดับทุนสำรองที่สูงที่สุดอันดับ 1 ของโลก สภาพคล่องท่วมประเทศจีน

จะเห็นว่าแท้จริงแล้วประเทศจีนไม่ได้รับชัยชนะในทางเศรษฐกิจ ประเทศจีนพ่ายแพ้ต่อการปกป้องค่าเงินหยวน ทุนสำรองที่เห็นว่าท่วมท้นประเทศจีน ไม่ใช่เงินออมของประเทศจีน แต่เป็นเงินที่ Hedge Fund นำมาฝากไว้ เมื่อความเชื่อมั่นที่ยังคงอยู่กับประเทศจีน ทุนสำรองของประเทศจีนก็จะยังคงอยู่กับประเทศจีน แต่ตราบใดที่ความเชื่อมั่นขาดหายไปจากประเทศจีน เงินก็จะไหลออกจากประเทศจีน ทุนสำรองก็จะหดตัวลง ดังเช่นที่เกิดขึ้นกับประเทศไทยและประเทศสหรัฐอเมริกามาแล้วนั่นเอง

(แตกต่างจากประเทศไทยในก่อนกลางปี 2540 ที่ค่าเงินบาทแข็งผิดจริง ทำให้มีการขายบาททำกำไร)

กลางปี 2005 ทางการจีนยอมยกธงขาว ยอมแพ้ ปล่อยให้เงินหยวนแข็งค่าขึ้น

ตลาดหุ้นจีนเป็นตลาดหุ้นเปิดใหม่ การพังทลายของตลาดหุ้นระหว่างปี 2007-2009 ดัชนีตลาดหุ้นจีน (China SSEA) ตกลง 72 เปอร์เซ็นต์ สิ่งที่เกิดขึ้นกับตลาดหุ้นจีน และผลกระทบที่จะตามมาหลังการพังทลายของตลาดหุ้น ก็คงไม่แตกต่างจาก 5 ตัวอย่างที่นำเสนอข้างต้น แต่มีความแตกต่างบ้างทางรายละเอียด เงินหยวนอาจจะเริ่มอ่อนค่าลงแล้วก็ได้ สังเกตที่วงกลม เป็นเรื่องที่น่าติดตามดูกันต่อไป
..
จากตัวอย่างที่นำเสนอ จะเห็นว่า กลไกของการเกิดวิกฤตของไทย ของอเมริกา ของยุโรป ของเวียดนาม ของจีน และของโลก ไม่ใช่เรื่องยากที่จะเข้าใจ

ตลาดหุ้นนอกจากจะขึ้นลงตามปกติแล้ว ยังถูกสวมรอยปั่นให้ขึ้นลงแบบผิดปกติได้ เมื่อตลาดหุ้นตกหนัก ส่งผลให้ค่าเงินเสียหายเป็นอันดับแรก เป็นต้นเหตุให้เงินเฟ้อและค่าครองชีพสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ เมื่อค่าเงินเสียหาย คนและกองทุนโลกต่างๆ ก็ไม่ถือเงินสกุลนั้น ทิ้งเงินสกุลนั้น ทำให้สภาพคล่องระบบของประเทศนั้นเสียหาย ต้องเข้ารับความช่วยเหลือทางการเงินจากไอเอ็มเอฟ หรืออีซีบี บางประเทศก็พิมพ์เงินออกมาแทน สภาพคล่องของระบบเสียหายทำให้ธุรกิจอุตสาหกรรมล้มลง ทำให้คนตกงาน ทำให้เกิดหนี้เสีย หรือเพดานหนี้สูงขึ้น หรือหนี้สาธารณะสูงขึ้น

การแก้ปัญหาต้องแก้ที่ต้นเหตุที่ทำให้เกิดปัญหา การกลับคืนสู่สามัญ (Back to the Basics) การกลับคืนสู่อ้อมกอดของพระพุทธเจ้า ก็จะทำให้ความมั่นคง ความสงบร่มเย็น เกิดขึ้นแก่ระบบได้..

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น