++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันพฤหัสบดีที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2552

เชื่อสุภาษิตน้อยลง! นักภาษาทำนายคนกรุงบ้าวัตถุ โอ้อวด ไม่เคารพผู้ใหญ่

เชื่อสุภาษิตน้อยลง! นักภาษาทำนายคนกรุงบ้าวัตถุ โอ้อวด ไม่เคารพผู้ใหญ่
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์


ธุรกิจบัณฑิตย์ เผยผลโพลคนกรุง เมินสุภาษิตไทย เชื่อคติ
"ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน" "มีสลึงพึงบรรจบให้ครบบาท" น้อยลง หรือภาษิต
"เดินตามหลังผู้ใหญ่ หมาไม่กัด" สะท้อนความเชื่อการแข่งขันสูง
และนับถือผู้ใหญ่น้อยลง นักวิชาการด้านภาษา ทำนายนิสัยชาวกรุงจากคำพังเพย
จวกชอบโอ้อวด บ้าวัตถุนิยม สวนทางกับความพอเพียงทุกด้าน

เมื่อวันที่ 10 มิ.ย. ดร. อภิชัย อภิชาตบุตร นักวิจัยอาวุโส
(มธบ.) ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ร่วมกับ รศ.ดร.สรชัย
พิศาลบุตร จัดทำการสำรวจความคิดเห็นของชาวกรุงเทพฯ
ที่มีต่อความเชื่อในสุภาษิตที่สะท้อนการเปลี่ยนแปลงของสังคมไทยทุกๆ 3
เดือน สำหรับครั้งนี้ได้สำรวจเมื่อวันที่ 23-24 พ.ค.2552
โดยสอบถามชาวกรุงเทพฯ จำนวน 1,074 คน กระจายไปตามเพศ อายุ
อาชีพและระดับการศึกษา สรุปผลที่สำคัญได้ ดังนี้

ปัจจุบันความเชื่อในสุภาษิตไทย โดยรวมของชาวกรุงเทพฯ
เพิ่มขึ้นเล็กน้อยร้อยละ 0.53 เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา (มกราคม 2551)
สะท้อนให้เห็นว่า
ในปัจจุบันสังคมไทยยังมีความเชื่อในหลักการปฏิบัติในชีวิตที่ดีพอๆ
กับปีที่ผ่านมา

เมื่อเจาะลึกลงไปในรายละเอียดจะเห็นว่า ความเชื่อเรื่อง "อย่า
จับปลาสองมือ" "ช้าๆ ได้พร้าเล่มงาม" "ไม้อ่อนดัดง่าย ไม้แก่ดัดยาก"
"รักดีหามจั่ว รักชั่วหามเสา" "ซื่อกินไม่หมด คดกินไม่นาน"
"คับที่อยู่ได้ คับใจอยู่ยาก" "อดเปรี้ยวไว้กินหวาน" "กันไว้ดีกว่าแก้"
และ "อย่าหวังน้ำบ่อหน้า"ของชาวกรุงเทพฯเพิ่มขึ้นมากกว่าปีที่ผ่านมาโดยความเชื่อต่อสุภาษิต
"อย่าจับปลาสองมือ" เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 4.00 และ "ช้าๆ ได้พร้าเล่มงาม"
เพื่อขึ้นที่ร้อยละ 1.59

ในขณะที่ความเชื่อเรื่อง "ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน"
"มีสลึงพึงบรรจบให้ครบบาท" "เดินตามหลังผู้ใหญ่ หมาไม่กัด" และ
"แข่งเรือแข่งพายแข่งได้ แข่งบุญแข่งวาสนาแข่งไม่ได้" ลดลงกว่าที่ผ่านมา

"จากข้อมูลอธิบายได้ว่า ความเชื่อต่อสุภาษิต
เดินตามหลังผู้ใหญ่หมาไม่กัด และ แข่งเรือแข่งพายแข่งได้
แข่งบุญแข่งวาสนาแข่งไม่ได้ ลดลงเท่ากันถึงร้อยละ 1.36
ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่า สังคมคนกรุงเทพฯ ให้ความสำคัญกับผู้ใหญ่
หรือผู้สูงอายุ ในด้านความรู้และประสบการณ์น้อยกว่าเดิม
และให้ความสำคัญกับการออมน้อยลง
เนื่องจากสภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบันไม่เอื้ออำนวยเท่าที่ควร" ดร.อภิชัย
กล่าว

ด้านนาย วัฒนะ บุญจับ นักวิชาการสำนักภาษาและวรรณกรรม กรมศิลปากร
กล่าวว่า จุดที่น่าสังเกตุระหว่างกลุ่มของสุภาษิตที่มีคนเชื่อเพิ่มขึ้นกับเชื่อน้อย
ลงมีความขัดแย้งกัน นั่นหมายความว่า คนกรุงเทพฯ
เป็นคนสับสนในความคิดของตัวเอง และเป็นคนที่ทำอะไรตามแต่ใจอยู่ไม่ใช่น้อย
ตัวอย่างเช่น เชื่อสุภาษิตว่า ควรอดเปรี้ยวไว้กินหวาน ช้าๆ
ได้พร้าเล่มงาม แต่กลับเชื่อน้อยลงในสุภาษิตที่ว่า
มีสลึงพึงบรรจบให้ครบบาท ซึ่งก็มีความหมายในทำนองเดียวกัน คือ
มีนัยสอนว่า ควรทำอะไรอย่าใจร้อนหรือค่อยๆ ทำไปด้วย
การรู้จักข่มใจอย่างตามใจตัวเองนัก สุดท้ายก็จะดีเองหรือร่ำรอยมั่งมีเอง

นาย วัฒนะ กล่าวต่อไป นอกจากนี้ ยังเชื่อน้อยลงในสุภาษิตที่ว่า
คับที่อยู่ได้ คับใจอยู่ยาก หมายความว่า
คนกรุงเทพฯเดี๋ยวนี้เน้นอวดโอ่ทางวัตถุ
เพราะเห็นว่าคับที่ไม่ควรจะอยู่ได้ และยังเป็นคนไม่อดทนเสียอีก
เพราะลองคับใจแล้วจะไม่ยอมอยู่
จากปัจจัยที่ชอบทำอะไรตามแต่ใจอยากได้อยู่เป็นพื้น
จึงไม่น่าแปลกใจอะไรเลยที่สุภาษิตอะไรที่ทำให้รู้จักพอเพียงล้วนไม่เข้า
นิสัยคนกรุงเทพฯเลย

http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9520000065429

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น