พญ.เพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ รอง อธิบดีกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กล่าวว่า ตามศาสตร์แพทย์แผนไทย ช่วงฤดูร้อนต่อฤดูฝน อากาศจะร้อนจัด หลังจาก นั้นฝนจะตก สภาพเช่นนี้ส่งผลให้ร่างกายอ่อนแอเนื่องจากอากาศร้อนทำให้ธาตุไฟกำเริบ เสี่ยงต่อการเจ็บ ป่วยเป็นหวัดหรือท้องร่วง คนโบราณใช้การรับประทานอาหารรสเปรี้ยวอมฝาด รสขม เย็นและจืด ปรับธาตุช่วงต่อฤดูกาล เช่น กินยำหัวปลี มะม่วงน้ำปลาหวาน ฝรั่งจิ้มพริกกับเกลือ ผัดขิง น้ำขิง มะระขี้นก ใบยอ ผักหนาม ชะอม ผักกูด ผักปลัง ผักหวาน ขี้ เหล็ก มะขาม ตำลึง ผักเขียด ฯลฯ พญ.เพ็ญนภากล่าวด้วยว่า ช่วงหน้าร้อนต่อหน้าฝน ควรรับประทานผักสด ผลไม้สดเพิ่มขึ้น เช่น แตงกวา ถั่วฝักยาว แตงโม ต้มฟักหรือแฟงใส่มะนาวดอง โดยฟักและแฟงมีสรรพคุณคลายร้อน ควรงดเว้นอาหารทอด อาหารมันจัด หวานจัด เช่น ลำไย ขนุน ทุเรียน ใบบัวบกช่วยแก้อาการร้อนใน อากาศร้อนจัดเช่นนี้ อาจดื่มน้ำใบบัวบกหรือรับ ประทานใบบัวบก เป็นผักจิ้มน้ำพริก หรือกินกับขนมจีนก็ได้ อย่างตื่นเช้าขึ้นมาบีบน้ำมะนาว 1 ผลให้น้ำมันหอม ระเหยที่ติดกับ เปลือกออกมาด้วย เหยาะเกลือเล็กน้อย ดื่มให้หมด ตามด้วยน้ำอุ่นหรือชาหม่อน 1 ถ้วย ช่วยปรับธาตุและเป็นยาระบาย พอ สายๆก่อนเพลดื่มน้ำใบบัวบก เที่ยงก็รับประทานต้มฟัก มะนาวดอง ตอนบ่ายๆดื่มน้ำขิงอุ่นๆ สักแก้ว มื้อเย็นอาจทำยำหัวปลี ต้มยำไก่ ปลา กุ้งก็ได้ ใส่ตะไคร้ ใบมะกรูดมากๆ พริกขี้หนูสดทุบ บีบมะนาว ถือเป็นยาหม้อใหญ่ได้คุณค่าทางอาหาร และทาง ยาด้วย พญ.เพ็ญนภา กล่าว
พญ.เพ็ญนภากล่าวด้วยว่า ผู้ที่มีภูมิต้านทานโรคต่ำ เช่น ผู้ติดเชื้อ เอชไอวี ต้องระมัดระวัง สุขภาพเป็นพิเศษในช่วงหน้าร้อนต่อฝน เพราะจะป่วยเป็นหวัด เจ็บคอ ท้องเสียง่าย หากมีอาการหวัด เจ็บคอ ให้ใช้ใบฟ้าทะลายโจรสด 15 ใบ ชงในน้ำเดือด 1 แก้ว ปิดฝาทิ้งไว้สักครู่ ทิ้งไว้ให้อุ่นจึงดื่ม จะรักษาอาการดังกล่าวได้ แต่หากทนความขมไม่ได้ ให้รับประทานแบบแคปซูล.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น