++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันอาทิตย์ที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2550

ยึดหลักพอเพียงยก "เสื้อเหลือง" แนะวิธีลดใช้พลังงานแก้โลกร้อน







โดย ผู้จัดการออนไลน์5 สิงหาคม 2550 14:09 น.

เลขาฯ กปร.ยึดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสอนแนวทางลดภาวะโลกร้อน ยกตัวอย่าง "เสื้อเหลือง" ให้รู้จักประมาณตน ซื้อตามกำลังทรัพย์และดูว่าได้ใช้งานหรือไม่ เพราะภาคการผลิตต้องใช้พลังงานซึ่งเป็นสาเหตุของก๊าซเรือนกระจก ด้านนักวิจัยโลกร้อนแจงต้องเตรียมรับผลกระทบด้วย ไม่ว่าไทยจะก่อมลพิษมาก-น้อยก็ได้ผลเหมือนกันทั่วโลก ชี้เกษตรกรน่าสงสารเหตุไม่มีประกันพืชผลจากภัยพิบัติ

เป็นที่น่ายินดีว่าคนไทยส่วนหนึ่งเริ่มตระหนักถึงปัญหาสิ่งแวดล้อมอย ่าง "ภาวะโลกร้อน" ที่พูดถึงมานานหลายสิบปีแต่เพิ่งมาตื่นตัวกันเมื่อไม่นานมานี้ ส่วนหนึ่งต้องยกความดีให้กับสารคดีสิ่งแวดล้อมอย่าง An Inconvenient Truth ซึ่งนำแสดงโดยอัล กอร์ (Al Gore) อดีตรองประธานาธิบดีสหรัฐและนำเสนอสถานการณ์วิกฤติโลกได้อย่างถึงพริกถึงขิง

ผู้รู้หลายคนกล่าวว่าต ้นเหตุภาวะโลกร้อนของไทยส่วนใหญ่มาจากภาคพลังงานที่ต้องพึ่งพาพลังงานฟอสซิล ที่ปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ซึ่งเป็นก๊าซเรือนกระจกตัวสำคัญที่เพิ่มอุณ หภูมิโลกให้สูงขึ้น แต่นอกจากข้อเท็จจริงที่หลายคนอยากได้ความกระจ่างแล้ว วิธีการที่นำไปสู่การลดปัญหาสิ่งแวดล้อมก็เป็นข้อมูลอีกส่วนที่หลายคนอยากได ้คำแนะนำ

นายเฉลิมเกียรติ แสนวิเศษ รองเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชด ำริ (กปร.) ได้เสนอแนะวิธีบรรเทาภาวะโลกร้อนโดยใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงด้วยการยกต ัวอย่างการเลือกซื้อ "เสื้อเหลือง"

ทั้งนี้เสื้อที่ชาวไทยใส่เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอย ู่หัวนั้นมีหลายราคาตั้งแต่ 100-3,000 บาท ซึ่งจะเลือกซื้อเสื้อราคาเท่าไหร่นั้น นายเฉลิมเกียรติกล่าวว่าขึ้นอยู่กับความพอประมาณของแต่ละคน

" พอประมาณของเราอยู่ที่ไหนเรารู้ดี ถ้าซื้อตัวละ 2,500 แล้วต้องมานั่งอดข้าว 3 วันก็ไม่พอประมาณ แต่บางคนอาจซื้อราคานี้ได้ 3-4 ตัวโดยไม่ตัวเองไม่เดือดร้อนและไม่เบียดเบียนใคร แต่ซื้อแล้วไม่ใส่ก็สิ้นเปลืองพลังงานกลายเป็นต้นเหตุภาวะโลกร้อน" นายเฉลิมเกียรติกล่าว

พร้อมกันนี้นายเฉลิมเกียรติได้สรุปปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็น 3 แนวสำคัญคือ ทำอะไรให้พอประมาณ ทำอะไรด้วยเหตุผล ทำอะไรให้มีภูมิคุ้มกันตลอดเวลา โดยตั้งอยู่บนพื้นฐานความรู้ จริยธรรมและคุณธรรม

ขณะเดียวกันรองเลขาธิการ กปร. ยังยกตัวอย่างผลงานของศูนย์ศึกษาเพื่อการพัฒนาห้วยห้องไคร้อันเนื่องมาจากพร ะราชดำริ อ.ดอยสะเก็ด จ.เชียงใหม่ ซึ่งได้ฟื้นฟูป่าเสื่อมโทรมตั้งแต่ปี 2526 และได้ความเขียวขจีกลับมาหลังจากดำเนินการนานกว่า 20 ปี ซึ่งลดอุณหภูมิเฉลี่ยบริเวณศูนย์ศึกษาลงจาก 26.7 องศาเซลเซียส เหลือ 25 องศาเซลเซียส และเพิ่มปริมาณน้ำฝนบริเวณดังกล่าวในช่วงปี 2528-2548 จากปีละ 1,142.2 มิลลิเมตร เป็นปีละ 1,314.7 มิลลิเมตร

" สิ่งที่สร้างในศูนย์ศึกษาต้องใช้เวลา ปัญหาโลกร้อนก็ต้องใช้เวลาเหมือนกัน อาจต้องใช้เวลาอีก 25 ปี แต่ถ้าไม่สร้างภูมิคุ้มกันตั้งแต่ตอนนี้ อนาคตจะเป็นอย่างไร" นายเฉลิมเกียรติตั้งคำถามไว้ให้คิด

ทางด้าน ผศ.ดร.กัณฑรีย์ บุญประกอบ อาจารย์คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง และคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (ไอพีซีซี) ซึ่งศึกษาและวิจัยเรื่องภาวะโลกร้อนมากว่า 20 ปี กล่าวว่าคนส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับเรื่องลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกแต่ลืม ที่จะให้ความสำคัญกับเรื่องผลกระทบจากภาวะโลกร้อน

"ดิฉันเคยเจอเกษตรกรที่เข้ามาหางานทำที่กรุงเทพฯ เพราะหมดตัวจากน้ำท่วมปีที่แล้ว น่าสงสารมาก" ผศ.ดร.กัณฑรีย์ถ่ายทอดประสบการณ์พร้อมทั้งให้ความเห็นว่ารัฐบาลควรจะเข้ามาช ่วยเหลือเกษตรกรในส่วนนี้ เนื่องจากส่วนใหญ่เป็นคนยากจนและไม่มีประกันภัยพิบัติเหมือนในต่างประเทศที่ มีการประกันภัยความเสียหายจากภัยพิบัติ

"ไม่ว่าเราจะปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์มากหรือน้อย แต่เราก็ได้รับผลกระทบเหมือนกันหมด อาจจะมากกว่า น้อยกว่าหรือเท่ากันกับประเทศที่ปล่อยมากที่สุดก็ได้ ทั้งนี้ต้องมีการศึกษาอย่างชัดแจ้งต่อไป จึงเป็นปัญหาของโลกที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์ทุกเผ่าพันธุ์" ผศ.ดร.กัณฑรีย์กล่าว



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น