หลายคนคงเคย ได้ยินเรื่องราว ในเทพนิยาย ของชาวประมงที่กล่าวถึง สาวน้อยเปลือยกาย อาศัยอยู่ในท้องทะเล มีร่างกาย เปลือยท่อนบนแบบคน แต่ ท่อนล่างมีครีบคล้ายปลา หรือขนานนามว่า นางเงือก
เรื่องที่เล่านั้นมีส่วนจริงอยู่บ้าง แต่ไม่ทั้งหมดความเป็นจริง ก็คือ พะยูน..
พะยูน มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Dugong dugon อยู่ในวงศ์ Dugongidae ไม่ใช่ปลาแต่เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม มีบรรพบุรุษใกล้เคียงกับช้าง ไม่มีใบหู หัวเล็กไม่มีขนที่หัว คอใหญ่ ตาเล็กมีฟันติดกันเป็นพรืด ตัวผู้มีเขี้ยวและมีหนวดหร็อมแหร็ม ขาคู่หน้าสั้นลักษณะคล้ายมือห้อย ลงมา มีลำตัวเพรียวรูปกระสวย หางแยกเป็นสองแฉก ไม่มีครีบหลัง ปากของพะยูนอยู่บริเวณตอนล่างของส่วนหน้า ริมฝีปากบนเป็นก้อนเนื้อหนา
อาศัย อยู่ในน้ำกินหญ้าทะเลเป็นอาหาร ชอบอยู่กันเป็นครอบครัวหรือหลายครอบครัวเป็นฝูงใหญ่ๆ เมื่ออายุยังน้อยลำตัวมีสีออกขาวๆ เมื่อโตเต็มวัยเปลี่ยนเป็นสีเทาอมน้ำตาล... น้ำหนักราวๆ 300 กิโลกรัม มีพื้นที่อาศัยอยู่ตั้งแต่ชายฝั่งทะเลด้านตะวันออกของทวีปแอฟริกา ทะเลแดง ตลอดแนวชายฝั่งมหาสมุทรอินเดียจนถึงประเทศฟิลิปปินส์ ไต้หวันและตอนเหนือของออสเตรเลีย ประเทศไทยพบไม่บ่อยนักทั้งฝั่งอ่าวไทยและฝั่งอันดามัน นักวิชาการเชื่อว่าน่านน้ำทะเลตรังอาจเป็นแหล่งสุดท้าย...ที่จะมีพะยูน เหลืออยู่!!
เนื่องจากพะยูนมีอัธยาศัยดีเกินไป ทำให้มันชะล่าใจ ไม่สามารถปกป้องตนเองจากมนุษย์ และศัตรูของมัน อีกทั้งพะยูนต้องอายุถึง 9 ปีกว่าจะผสมพันธุ์ได้ และตั้งท้องนานถึง 1 ปี ออกลูกเพียง 1-2 ตัว
การ ที่พะยูนดำน้ำได้ไม่นาน เพราะต้องลอยตัวขึ้นมาหายใจ ที่ผิวน้ำเช่นเดียวกับปลาโลมา และปลาวาฬก็ตกเป็นเหยื่อ ของศัตรูโดยง่าย และหากเกิดอาการตรอมตรมใจพะยูนจะร้องไห้มีน้ำตาไหลออกมา
มีความเชื่อกันว่าน้ำตาพะยูน คือเสน่ห์ยาแฝดทำให้สาวรักสาวหลง ซึ่งเป็นความเชื่อที่ผิดถนัด!!
นาย ธานี วิริยะรัตนพร ผู้อำนวยการสำนักงานอุทยานแห่งชาติ กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์ พืช ได้ออกกฎหมายควบคุมให้พะยูนเป็นสัตว์ป่าสงวนหนึ่ง ในสิบห้าชนิดที่รัฐบาลให้ความคุ้มครองสูงสุด พร้อมกับรณรงค์อนุรักษ์พะยูนที่เหลืออยู่
เพราะ ณ วันนี้ พะยูน กลายเป็นสัตว์ที่หายาก และใกล้สูญพันธุ์ของโลก...
ไชยรัตน์ ส้มฉุน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น