++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันจันทร์ที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2547

ไดโนเสาร์หายไปไหน? (การปรับตัว)

วัฏสังสารกับวงจรพลังในฤดูกาลแห่งจักรวาลยุคอวกาศ
ไดโนเสาร์มิได้อันตรธานจากโลกเพราะอิทธิพลของ
ลูกอุกกาบาตพุ่งมาชนโลก ไดโนเสาร์สูญพันธ์จากโลกนี้เพราะหมดวาระของสิ่งแวดล้
อมโลกที่จะเอื้อ อำนวยให้สิ่งมีชีวิตบางชนิดที่มีรูปร่างและระบบภายในร่างกายผิดความสมดุลกับ
สภาพภูมิอากาศโลกยุคปัจจุบัน กล่าวคือ เมื่อมีมนุษย์เกิดขึ้นบนโลก
โดยรูปร่างลักษณะของคนถือว่าเป็นหยางคือ รูปร่างกะทัดรัดเล็กลง พอ
เหมาะอันเป็นผลจากสภาวะภูมิอากาศหยางของบรรยากาศทั่วสุริยจักรวาลปรับ
เปลี่ยนฤดูกาล โลกมีฤดูกาลตามรอบวงจรดวงอาทิตย์ เราจึงคำนวณเป็นปฏิทินครบรอบ 12
เดือน 360 ํ ประมาณ 365 วัน
ในขณะที่สุริยจักรวาล ซึ่งเป็นหน่วยหนึ่งของระบบจักรวาลใหญ่
ก็มีรอบครบวงจร 360 ํ กินเวลา 200 ล้านปี
หากแบ่งเป็นช่วง 4 ฤดูกาล ฤดูกาลละ 50 ล้านปี
จากอายุโลกเรานี้คำนวณกันคร่าวๆ ว่า 3.2 พันล้านปี แสดงว่าโลกเราที่อยู่
ในระบบสุริยจักรวาลนี้โคจรไปแล้ว 16 รอบ รอบละ 200 ล้านปี เราอาจ
แบ่งช่วงวิวัฒนาการสิ่งมีชีวิตปรากฏบนโลกเป็น 2 ช่วงคือ ช่วงในน้ำ ช่วงบนบก ช่วงในน้ำเป็นช่วงแรกใช้เวลา 2,800 ล้านปี
และช่วงหลังบนบก 400 ล้านปี ถือเป็นสัดส่วน 1:7 ระหว่างดินกับน้ำ
สัตว์บกใช้เวลาพัฒนาตามหลังสัตว์น้ำ จะเห็นว่า
ตามวงจรแบบหน้าปัดนาฬิกาแล้ว แบ่งเป็น 12 ช่วง
ช่วงละ 16.6 ล้านปี หรือ 200/12
แต่ละช่วง บรรยากาศในจักรวาลที่โคจรรูปวงรีมีระยะปรับเปลี่ยนมากน้อย
ห่างใกล้จุดศูนย์กลางแปรความร้อน-เย็นของสัดส่วน
พลังหยิน-หยางให้แตกต่างกันไปตามลำดับตามฤดูกาล
เริ่มต้นจากฤดูกาลดั่งฤดูกใบไม้ผลิบนโลกมนุษย์ เข็มนาฬิกา
1 ถึง 3 น. เป็นช่วงที่สัตว์น้ำเริ่มบรรลุการพัฒนาโครงกระดูกสันหลังเปลี่ยนจากสัตว์น้ำ
เป็นสัตว์ครึ่งน้ำครึ่งบก พอดีกลับสภาพอากาศอุณหภูมิในบรรยากาศลดลง

สรีระต่างๆ จึงปรับโครงสร้างเพื่อให้ดำรงอยู่ได้ อากาศขณะนั้น ไดโนเสาร์
สัตว์ใหญ่โตเกินสัดส่วนความพอดีของธรรมชาตินั้น ได้รับอิทธิพลของ
บรรยากาศจักรวาลตรงกับฤดูกร้อนสูงสุด

บรรยากาศเป็นหยาง (ร้อน) ร่างกายจึงปรับเป็นหยินขยายตัว พองโต ใหญ่ สูง
ต้นไม้ในช่วงฤดูกาลนี้ก็ใบใหญ่ ต้นใหญ่ เป็นต้นไม้ยักษ์เก็บสะสมน้ำมาก
อากาศหยางมาก รูปร่างก็ขยายตัวพองโตมาก เลือดในร่างกายก็ต้องเย็นเพื่อ
ให้ทนทานต้านความร้อนได้เหมือนน้ำมันเครื่อง
แต่เมื่อเวลานานล้านปีผ่านไป บรรยากาศเปลี่ยนเข้าสู่ฤดูกาลใหม่
ร่างกายของสิ่งมีชีวิตก็พัฒนาปรับปรุงตัวเองเพื่อให้อยู่รอดกลายเป็นจุด
กำเนิดของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม หรือสัตว์เลือดอ่อนมากขึ้น
เมื่อฤดูกาลจักรวาลเข้าสู่ฤดูใบไม้ร่วง อา กาศเริ่มเย็นลงอีก

สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมพัฒนาตามกันมาควบคู่กับพืช ต้นไม้ที่มีดอก ผล เมล็ด
เป็นผลไม้แตกต่างกันมากมายจากเดิมเป็นเพียงต้นกระบองเพชร
ต้นไม้ป่าที่ ยังไร้ผล เมื่อย่างเข้าใกล้พ้นฤดูกาลปลาย
ปีเข้าสู่ฤดูหนาว ลิงและต้นตระกูล ใกล้ตัว ของมนุษย์ก็บรรลุจุดสมบูรณ์ อากาศที่เย็นลงทำให้เกิดสภาวะหยางการหด
ตัวของสรีระให้เล็ก แน่นและแกร่งขึ้นที่สำคัญที่สุด
คือส่วนสมองกลับเป็นศูนย์กลางรวมฐานรับและส่งกระแส
คลื่นความถี่ จิตวิญญาณได้เต็มที่ เนื่องจากกระดูกสันหลัง เอื้ออำนวยให้แนว
ตั้งดิ่งเชื่อมพลังฟ้า-ดิน วิ่งโดยตรงและสะดวกเป็นแนวเส้นตรง มนุษย์จึงมี
มันสมองที่ฉลาดปราดเปรื่อง สามารถค้นคิดประดิษฐ ์อุปกรณ์สร้างเครื่อง
ปรับดุลส่วนเกินส่วนด้อยในธรรมชาติให้กลับมาใกล้เคียงความพอดีได้
ไฟจึงเป็นพลังงานสำคัญที่มนุษย์นำมาใช้ประโยชน์เอื้ออำนวยคุณประโยชน์ได้
โดยสวัสดิภาพ

ไดโนเสาร์จึงสูญไปจากโลกเพราะ รูปร่างล้าสมัย สมองเล็ก กระดูกสันหลังมี
ใหญ่เกินกว่าจะพัฒนาให้กะทัดรัดได้ และประการสำคัญ ขั้วสมองขั้วบนกับ
ขั้วอวัยวะเพศขั้วล่างห่างกันเกินไป ไม่สามารถเหนี่ยวนำพลังเพศให้เข้มแข็ง
ได้ ไดโนเสาร์เกิดต่างฤดูกาล และยังตรงข้ามกับราศีของมนุษย์
เมื่อโลกมีสภาวะเหมาะกับคน สภาวะนี้ก็จะไม่เหมาะกับ
ไดโนเสาร์ คนจึงอยู่รอด ไดโนเสาร์จึงต้องสูญพันธุ์ อีกห้าสิบล้านปี
สภาวะโลกในสุริยะจะปรับฤดูกาลสิ่งมีชีวิตบางชนิดก็จะสูญ
พันธุ์และอันตรธานไปอีก ทั้งนี้เพราะร่างกายของเขาล้าสมัยกับบรรยากาศที่
เปลี่ยนแปรไป แต่สิ่งที่จะช่วยชะลอการสูญพันธุ์ได้ก็ด้วยการใช้ไฟในการหุงต้มอาหาร
เพื่อลดส่วนเกินให้กลับพอดี แต่ไฟใน ปัจจุบันเรานิยมใช้
ไฟ ฟ้า ไฟไมโครเวฟ ไฟจากรังสีต่างๆ ไฟเหล่านี้เป็นไฟ (หยิน) เป็นไฟที่ไม่ นิ่ง ไฟที่ให้ความร้อนไม่ลึกพอ ร้อนเร็ว เย็นเร็ว ไฟจึงเป็นปัจจัยของพลังงาน ที่มนุษย์ยุคนี้ควรคำนึงและเลือกใช
้ให้ถูกและสอดคล้องกับพลังขั้นตอนของ ธรรมชาติ มิฉะนั้นแล้ว การเลือกใช้ไฟที่ผิดอาจจะเร่งให้มนุษย์เราสูญพันธุ์เร็ว
กว่าเวลาอันควรขอให้ศึกษาพิจารณาตัวอย่างของไดโนเสาร์ไว้เป็นบทเรียน
คอยเตือนสติมนุษย์ให้รู้จักป้องกันตัวเอง เลี่ยงความผิดพลาด อันเนื่องจาก
ความประมาทและอวิชชา
โดยคุณ : ผู้จัดการ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น