++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันอังคารที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

ใครแพ้นิเกิลบ้าง....

ใครแพ้นิเกิลบ้าง....
1 ก่อนอื่นต้องทราบก่อน ว่าแพ้โลหะนิเกิลแน่ๆ ใช่หรือไม่ เช่น สังเกตว่าเมื่อมีการสัมผัส แล้วจะมีผื่นขึ้นเป็นตุ่มน้ำใส หรือกลายเป็นหนอง หรืออาจยืนยันให้ชัดเจนจากการทำการทดสอบผื่นแพ้สัมผัสค่ะ ซึ่งต้องติดแผ่นทดสอบที่หลังไว้ อ่านผลที่ 48 ชั่วโมงถัดไป และอีกครั้งที่ 72 ชั่วโมง
2 เมื่อทราบว่าแพ้นิเกิลแล้ว ลำดับต่อไปก็ต้องทราบว่านิเกิลมีอยู่ที่ใดบ้าง เพราะการรักษาหลักคือการหลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้น ซึ่งก็คือนิเกิลนั่นเอง
3 โดยทั่วไป นิเกิลมักใช้ผสมในโลหะเพื่อเพิ่มความแข็ง และให้เป็นมันวาว มักพบที่เครื่องประดับ ตุ้มหู หัวเข็มขัด กระดุมกางเกงยีนส์ เหรียญ เป็นต้น
@ คำแนะนำสำหรับผู้แพ้นิเกิล
1 หลีกเลี่ยงสัมผัสวัสดุที่มีนิเกิลผสมอยู่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีเหงื่อออก เสียดเสี อากาศร้อน เมื่อสัมผัสวัสดุเหล่านั้น จะทำให้มีการปล่อยนิเกิลออกมามากขึ้น นอกจากนี้ยังอาจมีผื่นที่บริเวณได้อีก เช่นเมื่อใช้นิ้วมือที่มีเหงื่อออกสัมผัสนิเกิลที่ใดที่หนี่งแล้วไปสัมผัสบริเวณอื่นๆ ของร่างกาย ก็จะสามารถเกิดผื่นที่บริเวณอื่นๆ ตามมาด้วยได้
2 ในกรณีที่จะใช้เครื่องประดับ อาจใช้วัสดุที่ทำจากสเตนเลสสตีล (Stainless steel) โรเดียม ทอง พลาตินัม เงิน พลาสติก ทองเหลืองแทน
นิเกิลมักผสมในเครื่องประดับราคาถูก แต่ถ้าจำเป็นต้องใช้ อาจใช้น้ำยาทาเล็บใส ทาเคลือบเครื่องประดับก่อนเพื่อป้องกันการสัมผัสนิเกิลโดยตรง หรือนำเครื่องประดับไปชุบเคลือบด้วยพลาตินัม หรือโรเดียมก่อน
3 ระมัดระวังในการแต่งกายที่มีนิเกิลเป็นส่วนประกอบ เช่นโครงเหล็กเสริมเสื้อชั้นใน ซิป ตะขอ หัวเข็มขัด กระดุมกางเกงยีนส์ นาฬิกา เหรียญ (อาจใส่เหรียญในซองพลาสติกแทนการใส่เหรียญในกระเป๋ากางเกงโดยตรง เพราะเมื่อเหงื่อออกอาจทำให้นิเกิลในเหรียญออกมาได้) ขาแว่น (อาจใช้ขาแว่นพลาสติกแทน)เป็นต้น
4 ในกรณีที่สงสัยเครื่องใช้ที่อาจมีนิเกิลเป็นส่วนประกอบ สามารถใช้ชุดทดสอบนิเกิล (DMG) เพื่อทดสอบวัสดุได้ ทำโดยการหยดสารทดสอบที่ไม้พันสำลี แล้วถูวัสดุที่สงสัยว่าจะมีนิเกิลเป็นส่วนประกอบ ถ้ามีนิเกิลผสม ที่ไม้พันสำลีจะกลายเป็นสีชมพู
5 หากจำเป็นต้องสัมผัสวัสดุที่มีนิเกิล อาจใส่ถุงมือไวนิลก่อนสัมผัส ไม่ควรใช้ถุงมือยาง เพราะนิเกิลสามารถซึมผ่านถุงมือยางได้
6 ในบางกรณี อาหารบางประเภทสามารถกระตุ้นให้ผื่นแพ้นิเกิลเห่อมากขึ้นได้ เช่นเบียร์ ไวน์ ปลาทูน่า มะเขือเทศ หัวหอม แครอท แอปเปิ้ล ผลไม้ตระกูลส้ม สัปปะรด นมช็อคโกแลต โกโก้ อาหารกระป๋อง (นิเกิลจากโลหะของกระป๋องอาหาร) ถั่วต่างๆ เป็นต้น ทั้งนี้ไม่ใช่ว่าจะเกิดผื่นดังกล่าวในคนไข้ทุกคนที่รับประทานอาหารเหล่านี้ จำเป็นต้องสังเกตเป็นรายๆไป
@ การรักษา
นอกจากการหลีกเลี่ยงแล้ว เมื่อมีผื่นเกิดขึ้น ก็จะให้การรักษาเหมือนผื่นผิวหนังอักเสบโดยทั่วไป กล่าวคือ การใช้ยาทาสเตียรอยด์จะเป็นการรักษาหลัก และเสริมด้วยการทามอยส์เจอไรเซอร์ให้ผิวชุ่มชื้น
สำหรับการเลือกใช้ยาสเตียรอย์ มักเลือกความแรงของยาตามตำแหน่งของผื่นที่เกิดขึ้น เช่น
ถ้าเป็นผื่นที่บริเวณหน้า ก็ใช้สเตียรอยด์ชนิดที่มีความแรงน้อยเช่น 1-2% hydrocortisone cream, 0.02% triamcinolone cream เป็นต้น
ถ้าเป็นผื่นที่ลำตัว แขนขา ก็ใช้สเตียรอยด์ที่มีความแรงปานกลาง เช่น 0.1% triamcinolone cream, 0.05% betamethasone cream เป็นต้น
ถ้าเป็นผื่นที่ฝ่ามือ ฝ่าเท้า ก็ใช้สเตียรอยด์ที่มีความแรงสูงเช่น clobetasol cream เป็นต้น
หวังว่าข้อมูลที่กล่าวไป คงเป็นประโยชน์และเป็นแนวทางในการปฏิบัติตัวนะครับ..
ที่มา พญ. เปรมจิต จันทองจีน แพทย์ผิวหนัง http://haamor.com
อ่านเพิ่มที่นี่ครับ....http://www.siamhealth.net/public_html/Health/Photo_teaching/nickelallergy.htm#.VE-a-FfaLLs

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น