นัก วิชาการเสนอใช้ "ซีเรียสเกม" ใส่สาระวิชาการเข้าไปในเกม
ดึงเด็กและเยาวชนออกจากปัญหาความรุนแรงในเกมออนไลน์
ยกตัวอย่างเกมพอเพียงเกษตรกรผู้หลบสังคมเพื่อทำการเกษตรในชนบทเป็นตัวอย่าง
เกมดี หรือดัดแปลงเกมออดิชั่นจับมาแต่งชุดไทย และให้เต้นรำไทยให้สนุก
แต่แนะให้เปลี่ยนชื่อเพื่อดึงดูดทางการตลาด
Audition Game
นายอิทธิพล ปรีติประสงค์
ผู้ช่วยผู้อำนวยการด้านคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยี
สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว กล่าวว่า เมื่อเร็วๆ
นี้มีการจัดงานเสวนาหัวข้อ "เกมออนไลน์" ครั้งที่ 1
เรื่องเนื้อหาเกมคอมพิวเตอร์กับการพัฒนาเด็ก เยาวชน และสังคม
ที่กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.)
จุดประสงค์เพื่อป้องกันและร่วมหาทางออกในประเด็นเกมและความรุนแรงเพราะที่
ผ่านมาเกมกลายเป็นประเด็นร้อนที่ส่งผลกระทบในวงกว้าง
โดยเฉพาะในกลุ่มเด็กและเยาวชน ซึ่งปัจจุบันมีผู้เล่นเกมออนไลน์กว่า 6
ล้านคน โดยเนื้อหาของเกมยังเน้นการต่อสู้เป็นหลัก
สอดคล้องกับผลสำรวจเอแบคโพลที่ระบุว่าเด็กร้อยละ 81.3 เคยพบฉากเกมต่อสู้
อายุน้อยที่สุด 3 ขวบ ร้อยละ 18.5 เคยพบเห็นเกมที่มีภาพโป๊เปลือย
และอายุน้อยที่สุด คือ 5 ขวบเท่านั้น ตนจึงได้เสนอเกมมิติใหม่
ชื่อซีเรียสเกม (Serious
Game)เพื่อช่วยแก้ปัญหาผลกระทบเชิงลบระยะยาวที่เกิดขึ้นจากเกมคอมพิวเตอร์
โดยเฉพาะปัญหาพฤติกรรมรุนแรงในเด็ก
ซึ่งจุดประสงค์ของซีเรียสเกมก็เพื่อเสริมสร้างระบบความคิดสร้างสรรค์
ด้านวิชาการ คุณธรรมและจริยธรรม ทักษะการดำเนินชีวิต
และระบบครอบครัวให้เกิดขึ้นในตัวผู้เล่น
นายอิทธิพลกล่าวต่อไปว่า สำหรับรูปแบบของซีเรียสเกมยกตัวอย่าง
เช่น เกมส่งเสริมวิชาชีพ เล่นบทบาทเป็นหมอ พยาบาล วิศวกร เกมวางแผนต่างๆ
หรือเกมพอเพียงที่เล่นเป็นเกษตรกรผู้หลบออกจากสังคมเมือง
กลับบ้านต่างจังหวัดเพื่อพัฒนาพื้นที่การเกษตรให้เจริญก้าวหน้า
นอกจากนี้จะมีการนำเกมซึ่งเป็นที่นิยมอยู่แล้วมาปรับเปลี่ยนโดยอาจเจรจากับ
เจ้าของลิขสิทธิ์ เช่น เกมเต้น (Audition Game)
มาปรับเปลี่ยนเครื่องแบบการแต่งกายใส่ชุดไทย
และเปลี่ยนรูปแบบการเต้นเป็นรำไทย เป็นต้น
"ในเมื่อไม่สามารถแยกเด็กออกจากเกมได้ จึงต้องนำเอาสาระ ความรู้
เข้าไปอยู่ในเกมแทน ถือเป็นกุศโลบายใหม่
เพื่อเสริมสร้างความรู้ให้กับผู้เล่นพร้อมกับความบันเทิง
ซึ่งเกมประเภทนี้เข้ามาในประเทศไทยได้ระยะหนึ่งแล้ว
แต่ไม่เป็นที่นิยมมากนัก เพราะไม่สามารถตอบโจทย์ในด้านการตลาดได้
หรืออาจจะเน้นสาระมากเกินไปจนผู้เล่นรู้สึกไม่สนุก
ผมคิดว่าซีเรียสเกมอาจไม่สามารถแก้ปัญหาเด็กติดเกมได้โดยตรง
แต่จะช่วยส่งเสริมการพัฒนาและส่งเสริมการศึกษาเรียนรู้ในด้านต่างๆ
ให้กับเด็กและเยาวชน นอกจากนี้ยังแนะให้เปลี่ยนชื่อจาก Serious Game เป็น
Intelligent Game (I-Game) ก่อน
เพราะกลัวคนเข้าใจผิดว่าเล่นเกมนี้แล้วจะต้องเคร่งเครียด
เพราะผู้ที่เล่นเกมต้องการผ่อนคลาย ไม่ใช่เล่นไปเครียดไป"
นายอิทธิพลกล่าว
http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9520000064855
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น