++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันพฤหัสบดีที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2552

สารพัดวิธีตามความเชื่อประจำมหา'ลัย

สารพัดวิธีตามความเชื่อประจำมหา'ลัย
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 24 มิถุนายน 2552 14:05 น.
นักศึกษากับความเชื่อ
ซิ้ว ติดเอฟ เรียนไม่จบ เรียนซ้ำปี เรื่องแบบนี้
ไม่บอกก็เดาได้ว่าเป็นเรื่องสุดยอดแห่งความกลัวของเหล่าบรรดานิสิตนักศึกษา
ที่ไม่อยากจะต้องกลายเป็นปู่รหัส ย่ารหัสเฝ้ามหา'ลัย
แถมยังต้องนั่งเรียนร่วมชั้นกับโหลนเหลนรหัสของตัวเองแบบเคอะๆเขินๆ
ในช่วงจิตใจที่กำลังโหวงเหวงกังวลพร้อมไปกับความเครียดที่มากับบทเรียน
สารพันวิธีที่เรียกความสบายใจต่างก็ผุดมาพร้อมกับ ความเชื่อสุดคลาสสิค
ที่หลายคนมักนำมายึดเหนื่ยวจิตใจและยินดีปฎิบัติตามแบบไม่มีข้อแม้
และผลพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์

หน้าคณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ

1.ห้ามเด็ดใบชงโค - ห้ามถ่ายรูปกับบันไดนาคเทวาลัย
บริเวณแถบคณะอักษรศาสตร์จะมีต้นไม้ ต้นใหญ่ที่มีมานาน กว่า 30 ปี
คือต้นชงโค โดยชาวคณะอักษรฯเชื่อกันว่า ใบชงโคหน้าคณะนั้น "ห้ามเด็ด
เด็ดขาด" เพราะจะถือว่านำใบไม้ซึ่งเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำสถาบัน
พร้อมกับห้ามถ่ายรูปหน้าบันไดนาคที่เทวาลัย
หากใครถ่ายก็จะเรียนไม่จบสมควรเก็บไว้ถ่ายตอนวันสำเร็จการศึกษาแล้วเท่านั้น

"ปราง" วิชญา ศิระศุภฤกษ์ชัย นิสิตเก่าคณะอักษรศาสตร์จุฬา
หนึ่งในผู้ที่ปฎิบัติตามความเชื่อ
บอกเล่าว่าตนได้ยินความเชื่อมาจากรุ่นพี่
แต่ส่วนตัวนั้นไม่ได้เชื่อมากนักแต่ก็ไม่ลบหลู่และก็ปฎิบัติตามอย่างไม่มี
เงื่อนไขและคำถาม

"คณะ อักษรฯเชื่อว่า ห้ามเด็ดใบชงโค ซึ่งเป็นต้นไม้ประจำคณะ
ห้ามขึ้นไปบนสี่เสา ซึ่งเป็นอนุสรณ์ของตึกอักษรฯ
และห้ามถ่ายรูปกับบันไดนาคที่เทวาลัย
จะถ่ายได้ก็ต่อเมื่อเรียนจบเป็นบัณฑิตแล้วเท่านั้น
ไม่อย่างนั้นจะเรียนไม่จบ
ซึ่งมันเป็นความเชื่อส่วนบุคคลและของคนที่คณะด้วย
ก็ขึ้นอยู่กับว่าจะคิดยังไงเท่านั้น"

ประเพณีวิ่ง 8 กรกฎ

2. วิ่ง "8 กรกฎ" ไม่ถึงไม่ได้ "เอ"
โอ้โห!! มีความเชื่ออย่างนี้ด้วย ล่องไปทางภาคตะวันออกอย่าง
มหาวิทยาลัยบูรพา ก็เป็นอีกหนึ่งสถาบันที่เชื่อเรื่องนี้เช่นกัน
แต่ความเชื่อของที่นี่ต้องใช้ความทรหดเอาการ
ในความเชื่อที่แลกด้วยความอดทนต่อการวิ่งและจะได้มาซึ่งเกรดเอที่ปรารถนา

"แพร- กิรดา แท่งหอม" ซีเนียร์สาว ภาควิชานิเทศศาสตร์ บอกว่า
ความเชื่อของที่นี่เป็นประเพณีที่สืบทอดกันมานานแล้ว
ถ้าไม่ทำจะเรียนไม่จบ คือ ทุกปีในวันที่ 8 กรกฎาคม
ซึ่งเป็นวันเกิดของมหาวิทยาลัย รุ่นพี่จะนำนักศึกษาน้องใหม่ชั้นปีที่ 1
วิ่งจากเขาสามมุก กลับมาที่มหาวิทยาลัยเป็นระยะทาง 5 กิโลเมตร
และพอเมื่อวิ่งมาถึงประตูหน้ามหาวิทยาลัยแล้วก็ จะมีตัวเอให้เหยียบ
ถือเป็นเคล็ดให้สอบได้เกรดเอ

" มันเป็นความเชื่อที่มากับประเพณี ในช่วงรับน้องแรกๆ
เพื่อแสดงให้น้องเห็นถึงความพยายามกว่าจะถึงเส้นชัย ก็จะมีความยากลำบาก
แต่หากใครขี้เกียจวิ่งหรือเหนื่อยก่อนกลางทางไม่ได้มาเหยียบเอตรงบริเวณ
ประตูหน้ามหาวิทยาลัยก็จะเชื่อกันว่าว่าจะเรียนไม่จบ
ตรงนี้จะเชื่อไม่เชื่อขึ้นอยู่กับแต่ละคน
แต่น้องๆส่วนใหญ่ก็จะปฎิบัติตามทุกคน"...

พิธีครอบครู

3. ห้ามข้ามเครื่องแต่งกาย และอย่าหยิบหัวโขนมาใส่เล่น
วิทยาลัยนาฎศิลป์

เรื่องนี้เป็นความเชื่อของหลากหลายสถาบันที่มีการเรียนการสอนนา
ฎศิลป์ไทย ที่โดยเชื่อกันในเรื่องความเป็นศิษย์และความเป็นครู
ซึ่งแต่ละปีนั้นจะจัดพิธีสำคัญอย่างพิธีครอบครูขึ้นมาเพื่อความเป็นสิริมงคล
ให้กับนักเรียนนักศึกษา

"พิธีครอบครู" หมายถึง การนำศีรษะครูมาครอบ (รับเป็นศิษย์)
และครูจะคอยควบคุมรักษา
ครูจะอยู่กับศิษย์คอยช่วยเหลือให้ศิษย์มีความจำในกระบวนการรำ จังหวะดนตรี
หากมีสิ่งใดที่ไม่งามจะเกิดขึ้นกับศิษย์
ครูจะช่วยปัดเป่าให้พ้นจากตัวศิษย์ ทำให้ผู้เรียนมีกำลังใจ
มีความมั่นใจมากขึ้น และพิธีครอบครูนั้น
ผู้ศึกษานาฏศิลป์ทุกคนถือว่าเป็นพิธีสำคัญ
และจำเป็นสำหรับผู้ที่ศึกษาปฏิบัติท่ารำที่อยู่ในระดับสูง เช่น
การรำเพลงหน้าพาทย์
ก่อนจะรำผู้ศึกษาจะต้องผ่านพิธีครอบครูก่อนจึงจะต่อท่ารำให้ได้รับครอบเป็น
ประธานประกอบพิธีไหว้ครูและครอบครูต่อไป
โดยอีกหนึ่งวิธีความเชื่อที่ปรากฎมาเป็นวิธีปฎิบัติต่อความเชื่อ
ในทีนี้ คือ หากนักเรียน
หรือนักศึกษาสาขานาฎศิลป์คนไหนยังไม่ได้ทำการครอบครู ก็เชื่อกันว่า
ห้ามสวมเครื่องแต่งกายและหัวโขนมาใส่ในการแสดง
จะไม่เป็นมงคลและอาจเกิดอำนาจลี้ลับว่าอาจจะมีสิ่งผิดปกติเกิดขึ้นกับผู้
นั้นได้

ขวัญ -เฉลิมขวัญ ศิษย์เก่าวิทยาลัยนาฎศิลป์ กรุงเทพ
บอกเรื่องความเชื่อในครูที่เป็นสิ่งลี้ลับประจำเครื่องแต่งกาย
ประจำเครื่องดนตรี และประจำเครื่องประกอบการแสดงชั้นสูง
เป็นความเชื่อที่สำคัญและถูกปลูกฝังกันแบบรุ่นสู่รุ่นและปฎิบัติกันมาอย่าง
เคร่งครัด

"เรื่องการปฎิ
บัติตัวและข้อห้ามต่างๆครูก็จะเป็นผู้บอกว่าห้ามทำอย่างนี้
อะไรควรทำไม่ควรทำและก็จะมีรุ่นพี่คอยเตือนอีกรอบ
โดยปกติวิทยาลัยนาฎศิลป์ก็จะครอบครูกันปีละครั้ง
คนที่ยังไม่ได้ครอบครูก็จะห้ามใส่หัวโขน
แต่หากครอบแล้วก็สามารถสวมหัวโขนขึ้นแสดงได้ แต่ถ้าหากนำมาใส่เล่น
ตรงนี้จะเป็นสิ่งที่ห้ามกันเลย
อีกทั้งยังห้ามเดินข้ามเครื่องแต่งกายชุดแสดงเพราะถือว่าเป็นผ้าไทยเป็นสิ่ง
ศักดิ์สิทธิ์ เชื่อกันว่าอาจจะโดนของเข้าได้หากทำผิดสิ่งที่ได้ห้ามบอกกันไว้ทั้งสองอย่าง
นี้"


วิ่งขึ้นดอย
4. มช.วิ่งไม่ถึงดอยก็เรียนไม่จบ
สุดท้าย ขึ้นเหนือไปที่ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
มหาวิทยาลัยมีประเพณีรับน้องขึ้นดอย โดยเชื่อว่าถ้า นักศึกษาปี 1
เดินจากมหาวิทยาลัยขึ้นไปถึงยอดดอยสุเทพระยะทาง 14 กิโลเมตรได้
จะเรียนจบภายใน 4 ปี ส่วนอีกความเชื่อเป็นเรื่องที่บอกต่อๆ
กันมาว่าห้ามนักศึกษาที่ยังเรียนไม่จบถ่ายรูปกับศาลาธรรมที่อยู่ตรงประตู
หน้ามหาวิทยาลัย เพราะจะทำให้เรียนไม่จบ
และจะถ่ายได้ก็ต่อเมื่อเรียนจบแล้วเท่านั้น
"อ้อม" นักศึกษาคณะนิเทศศาสตร์ชั้นปีที่ 4
อ้อมบอกว่าประเพณีนี้สืบทอดกันมานานแล้วและในกิจกรรมประเพณีก็แฝงความเชื่อ
ไว้ รุ่นน้องก็มักจะเชื่อตามนั้นด้วย
" คิดว่าความเชื่อต่างๆ พวกนี้ไม่ใช่เรื่องที่งมงาย
เชื่อไว้ก็ไม่ใช่เรื่องเสียหายอะไร เพราะสุดท้ายจะเรียนจบหรือไม่จบนั้น
ก็ขึ้นอยู่ที่ตัวเราเอง การทำตามหรือไม่ทำตามความเชื่อไม่ใช่หลักสำคัญ
อย่างประเพณีรับน้องขึ้นดอย
ถึงแม้จะไม่มีความเชื่อเรื่องเรียนไม่จบมากำกับให้ทำ นักศึกษา
มช.ทุกคนก็ทำอยู่แล้ว เพราะเป็นประเพณีอันดีงามที่นักศึกษาทุกคนภาคภูมิใจ
ที่ครั้งหนึ่งในชีวิตนักศึกษา มช. ต้องเข้าร่วมกิจกรรมนี้ให้ได้"
ความรู้สึกของอ้อม ที่มีต่อความเชื่อ


5. ห้ามขอพรเรื่องความรัก ม.รังสิต
ปกติทุกรั้วมหาวิทยาลัยก็มักจะมีสิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำสถาบันกันทุก
แห่ง และแต่ละแห่งเราก็มักจะพบว่าบรรดานิสิตนักศึกษาที่ต้องการที่ยึดเหนี่ยวทาง
จิตใจ ทำการเข้ากราบไหว้ ขอพรต่างๆ ซึ่งก็หนีไม่พ้นเรื่องของความรัก
การเรียน

มณฑปพระศรีศาสดา ที่ตั้งอยู่ ณ
ใจกลางมหาวิทยาลัยรังสิตที่เป็นดั่งศูนย์รวมแห่งศรัทธาในบวรพุทธศาสนา
ก็เป็นสิ่งศักดิ์สิทธ์ที่มีความเชื่อประกอบเช่นกัน บรรดาคณาจารย์
เจ้าหน้าที่ นักศึกษา
ตลอดจนผู้เดินทางมาเยี่ยมเยือนมหาวิทยาลัยรังสิตโดยทั่วไป
ต่างก็กราบไหว้ขอพรกันตามปกติโดยสิ่งที่ผิดปกติไปจากรั้วถิ่นมหาวิทยาลัย
อื่น ชาวรังสิตทุกคนจะรู้กันดีว่า คือ เรื่ององการขอพรหรือ
"การบน"จากที่เคยสามารถขอพรกันได้หมดตามศรัทธา แต่สำหรับพระศรีฯหรือ
ศรัทธาแห่งชาวรังสิตแล้ว
ห้ามขอในเรื่องของความรักเด็ดขาดเพราะมิฉะนั้นก็จะเรียนไม่จบ

"อิง-จิราภรณ์ ตุลาผล" ศิษย์เก่าคณะศิลปศาสตร์
ขณะนี้ปฎิบัติงานเป็นเจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ประจำมหาวิทยาลัยรังสิต
อิงเล่าว่าเวลารับน้องนั้นรุ่นพี่จะบอกต่อๆกันมาถึงเคล็ดลับในการขอพรให้
สำเร็จว่าให้ขอและตั้งจิตอธิษฐานดีๆโดยเฉพาะช่วงสอบ
แต่สิ่งหนึ่งที่ห้ามขอเลยทีเดียวก็คือห้ามขอเรื่องความรัก

"จำ ได้ว่าอาจารย์ที่ม.รังสิตก็เคยพูดและรุ่นพี่ก็เคยบอก
ทำให้ทุกคนที่เป็นนักศึกษาที่นี่ก็จะรู้ดี
พอช่วงใกล้ๆที่จะมีการสอบหลายคนก็จะมาบนเรื่องเกรด
และขอให้มีผลการเรียนที่ดี และถ้าหากสมหวัง
อย่างที่ไม่รู้ว่าจะด้วยการบนหรือความพยายามของตัวเอง
ตามความเชื่อทุกคนก็จะมาแก้บนด้วยการวิ่งรอบพระศรีฯกัน"



ความเชื่อเรื่องสวมชุดครุย
ท้ายสุดป็นความเชื่อที่เชื่อว่าคงกระฉ่อนไปทุกรั้วหัวระแหงสถาบัน
กับ เรื่องของชุดรับปริญญา

6. ใครใส่ชุดครุย หรือสวมหมวกบัณฑิตก่อนเรียนจบ ก็จะเรียนไม่จบ!
จริงแท้แน่นอนยังไงก็ไม่มีใครทราบได้
แต่ท้ายสุดแล้วนั่นก็เป็นความเชื่อที่เกิดขึ้นกันมาอย่างนมนาน
ที่บรรดานิสิตนักศึกษาต่างๆก็ได้มีความคิดเห็นที่แตกต่างกันออกไป
และปฎิบัติตามบ้างไม่ตามบ้างเป็นเรื่องธรรมดา

"หนิง- นพรัตน์ "
รุ่นพี่ศิษย์เก่าจากรั้วมหาวิทยาลัยพระจอมเกล้าพระนครเหนือนพรัตน์เล่าย้อน
อดึตไปสมัยใกล้จะศึกษาจบถึงความเชื่อดังกล่าวที่ตนก็ได้ปฎิบัติตามอย่าง
เคร่งครัดเช่นกันในขณะที่เพื่อนของตนไม่ได้ปฎิบัติตาม
สวมชุดครุยถ่ายรูปก่อนจะศึกษาจบ !

" จำได้ว่าตอนใกล้จบก็มีแต่คนพูดกัน ถ้าถามว่าเราเชื่อไหม
คงตอบว่าเฉยๆแต่ก็ไม่คิดที่จะท้าทาย ออกแนวไม่ลบหลู่
ในเรื่องของลางต่างๆแต่อย่างใด ก็ปฎิบัติตาม
เอาไว้ใส่ตอนรับปริญญาและไปถ่ายรูปชุดครุยเตรียมการเอาไว้หลังจากเซ็นต์ใบจบ
แล้ว แต่ส่วนเพื่อนบางคนก็ไม่ถือสากับความเชื่อที่พูดถึงกัน
เพราะเรื่องนี้ก็นานาจิตตัง"

เอาล่ะ มาถึงตรงนี้ สรุปได้ว่า หลายคำบอกเล่าที่ตกทอดกันมา
ท้ายสุดแล้วนั่นมันก็เป็นเพียง "ความเชื่อ" ที่นักศึกษาของแต่ละสถาบันอาจ
"เชื่อ" หรือ "ไม่เชื่อ" ก็สุดแล้วแต่
หากกระนั้นเองในที่สุดแล้วพอเมื่อคืนวันผ่านไป ความเชื่อ
ที่เป็นสิ่งลี้ลับ
แม้จะยังคงอยู่หรือไม่ก็จะกลับมาเป็นความทรงจำดีดีเกี่ยวกับมหาวิทยาลัย
สถานที่ศึกษาอันเป็นที่รักให้กับนิสิต นักศึกษาได้ไม่น้อยเลยทีเดียว

http://www.manager.co.th/Campus/ViewNews.aspx?NewsID=9520000071331

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น