++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันเสาร์ที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2552

หุ่นยนต์เก็บขยะบนผิวน้ำ - แก้ปัญหาขยะล้นคลอง

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์

ใครที่เคยโดยสารเรือที่เดินเรืออยู่ในคลองกรุงเทพฯ
เห็นได้ว่าแทบทุกคลองจะเต็มไปด้วยขยะที่ลอยให้เห็นกันอยู่
จะเป็นอย่างไรหากเรามีเครื่องมือที่สามารถเก็บขยะมูลฝอยเหล่านั้นได้เพียงกด
ปุ่ม 2 - 3 ครั้ง

ศรายุทธ สารธะวงศ์ อนุวัติ อุดมผล ประเวช อมรทิพย์พิมาน
และเจียรนัย กิจเจริญ สี่นักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ชั้นปีที่ 4
มหาวิทยาลัยกรุงเทพ คิดผลิตหุ่นยนต์เก็บขยะบนผิวน้ำขนาดเล็ก หรือ Small
Floating Rubbish River Keeper Robot
ด้วยแนวคิดให้เป็นเครื่องทำงานแบบกึ่งอัตโนมัติ
เพื่อความสะดวกในการเก็บขยะบนผิวน้ำ
พร้อมเสริมสร้างความปลอดภัยให้กับผู้ใช้เครื่องดังกล่าว

"ศรายุทธ สารธะวงศ์" เล่าถึงแนวคิดในการประดิษฐ์หุ่นยนต์ว่า
พวกเขาสังเกตเห็นความพยายามของทั้งหน่วยงานรัฐและเอกชนในการกำจัดเศษขยะมูล
ฝอยในแหล่งน้ำ แต่ด้วยประสิทธิภาพยังไม่ดีพอ
เนื่องมาจากขนาดของแหล่งน้ำกว้าง
รวมถึงปัญหาปริมาณบุคลากรในการจัดการด้านนี้ยังน้อยมาก
จึงทำให้เกิดแนวคิดที่จะแก้ปัญหานี้

อีกทั้งพวกเขาทั้งสี่คนกำลังศึกษาอยู่ในคณะวิศวกรรมศาสตร์
จึงนำความรู้เชิงวิศวกรรมแขนงต่างๆ อาทิเช่น วิศวกรรมไฟฟ้ากำลัง
วิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์และโทรคมนาคมมาประยุกต์ใช้เพื่อประดิษฐ์เครรื่องมือ
ดังกล่าว สำหรับทำงานแทนบุคคลในการจัดการกับปัญหาขยะมูลฝอยในแหล่งน้ำ

"อนุวัติ อุดมผล" อธิบายถึงหลักการของหุ่นยนต์ว่า
เป็นการนำเอาระบบควบคุมแบบกึ่งอัตโนมัติ MCS-51
มาควบคุมการทำงานของหุ่นยนต์ร่วมกับการออกแบบโครงสร้างกลไกการเก็บขยะบนผิว
น้ำ และระบบรับส่งสัญญาณควบคุมการทำงานไร้สาย
โดยให้หุ่นยนต์ทำงานได้แบบกึ่งอัตโนมัติ
โดยระบบการทำงานมีส่วนประกอบหลักต่างๆแบ่งออกเป็น 3 ส่วน

ส่วนที่ 1
เป็นโครงสร้างเชิงกลและเชิงไฟฟ้าจะประกอบด้วยตัวหุ่นยนต์และระบบสนับสนุน
ต่างๆ เช่นระบบกลไกเก็บขยะมูลฝอยหรือแหล่งจ่ายพลังงานเป็นต้น
ส่วนที่ 2 เป็นตัวตรวจจับสัญญาณแบบสวิตซ์จำกัดระยะ (Limit Switch)
และวงจรรับ , ส่งสัญญาณ (Transceivers)
ส่วนที่ 3
เป็นส่วนของการควบคุมระบบจะใช้ตัวควบคุมไมโครคอนโทรเลอร์ MCS-51
(Microcontrollers) ร่วมกับระบบควบคุมการตัดสินใจเชิงฟัซซี่ (Fuzzy
decision based controlled)

"เจียรนัย กิจเจริญ"
อธิบายว่าหุ่นตัวนี้เป็นเพียงหุ่นต้นแบบซึ่งมีต้นทุนการผลิต 13,000 บาท
ในส่วนของการทำงานสามารถหลังปล่อยลงน้ำแล้วบังคับด้วยรีโมทได้ทันที
สำหรับวิธีการเก็บขยะนั้น
ขยะจะถูกลำเลียงขึ้นมาทางสายพานแล้วส่งต่อไปยังตะกร้าด้านหลัง
โดยในอนาคตจะพัฒนาเพื่อเพิ่มสมรรถนะและลดขนาดลง

http://www.manager.co.th/Campus/ViewNews.aspx?NewsID=9520000065705

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น