ปชป.ครับ แต่เงียบครับ/ประชุม.
From: msuriyamas@hotmail.com
To: krabuangyai@hotmail.com
Subject: FW: แนวคิดในการแก้ปัญหาน้ำ(ปัญหาความยากจนของเกษตรกร/ชาวนา
ซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศนั่นเอง.)
Date: Fri, 22 May 2009 18:17:26 -0800
From: msuriyamas@hotmail.com
To: alongkorn@democrat.or.th; traffic@manager.co.th;
winweb@thaimail.com; umphol_t@hotmail.com
Subject: แนวคิดในการแก้ปัญหาน้ำ(ปัญหาความยากจนของเกษตรกร/ชาวนา
ซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศนั่นเอง.)
Date: Sat, 17 Nov 2007 19:02:38 -0900
เรียนคุณอลงกรณ์ พลบุตร
ผมยังไม่เห็นนะโยบายน้ำในรายละเอียดเลย แต่ละพรรคจะใช้เงินเป็นแสนๆล้าน
จึงอยากให้ลองฟัง(อ่านแนวคิดนี้) ครับ.
๑.) ใช้เงินน้อย
๒.) ทำได้ให้เห็นผลเร็ว
๓.) สามารถกระจายงานออกไปได้อย่างกว้างขวาง
เพราะไม่ได้มีเทคนิคอะไรที่ยุ่งยาก
ทหารช่างทำได้ดีและเร็ม ผู้รับเหมาระดับตำบลก็ทำได้.
๔.) ตัวอย่างการก่อสร้างถนนมิตรภาพจาก
จังหวัดนครราชสีมา-จังหวัดอุดรธานี แล้วเสร็จภายใน ๒ ปี
โดยการซอยสัญญากระจาย
ไป ไม่รวบยอดเจ้าเดียว. เจ้าเล็กให้ ๒ โครงการ ๒๐๐ ล้านบาท
เจ้าใหญ่ให้ ๑๐ โครงการ ๑,๐๐๐ ล้านบาท.ผู้รับเหมาไทยได้ยิ้มแนนอน
วิศวกรจบใหม่ได้เกิดแน่นอน.
จึงกราบเรียนมาเพื่อได้โปรดพิจจารณา.
ขอแสดงความนับถือ.
นายประชุม สุริยามาศ
คุณอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
กรุณาดูตัวอย่างการแก้ปัญหาน้ำ(คือการแก้ปัญหาหนี้สินทร์
และความยากจนของพี่น้องเกษตรกร/ชาวนาไทยนั่นเองครับ.)
๑.) งบประมาณนำมาจากการยกเลิกโครงการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ในพื้นที่
อุทธยานแห่งชาติ ทับลาน และเขาใหญ่คือ.-
๑.๑)โครงการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำห้วย โสมง บ้านแก่งยาว ตำบลแก่งดินสอ
อำเภอนาดี จังหวัดปราจีนบุรีงบประมาณรวมประมาณ ๖,๐๐๐
ล้านบาท.พื้นที่ผิวน้ำที่ระดับสูงสุด ๑๖,๙๔๘
ไร่.ความจุอ่างที่ระดับเก็บกักสูงสุด +๔๙.๔๐๐ ม. (ร.ท.ก.) ปริมาณ ๓๔๐
ล้าน ลบ.ม. ความจุอ่างที่ระดับเก็บกักปรกติ + ๔๘.๐๐๐ ม. ปริมาณ ๒๙๕ ล้าน
ลบ.ม. พื้นที่ชลประทาน ๑๑๑,๓๐๐ ไร่
(พื้นที่ๆได้รับประโยชน์จริงไม่เคยมีหน่วยงานไหน?ทำรายงานเลย.)
๑.๒.)โครงการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำใสน้อย-ใสใหญ่ ตำบลสพานหิน อำเภอนาดี
จังหวัดปราจีนบุรีงบประมาณรวมประมาณ ๑๐,๐๐๐
ล้านบาท.พื้นที่ผิวน้ำที่ระดับเก็บกักสูงสุด ๘,๑๒๙
ไร่.ความจุอ่างที่ระดับเก็บกักสูงสุด + ๖๖.๐๐๐ ม.ปริมาณ ๓๖๑ ล้าน
ลบ.ม.คงามจุอ่างที่ระดับเก็บกักปรกตอ + ๖๕.๐๐๐ ม. ปริมาณ ๓๒๘ ล้าน ลบ.ม.
พื้นที่ชลประทาน ๒๘๓,๙๐๐ ไร่.
๒.) วิธีการแก้ไข ไปศึกษาตัวอย่างการพัฒนาพื้นที่อำเภอเขาวง
ตามแนวพระราชดำริ "เศรษฐกิจพอเพียง"โดยการนำ เกษตร
"ทฤษฎีใหม่"เข้าไปเสริมการผลิต และแก้ปัญหาภัยแล้ง ฝนทิ้งช่วง โดย.-
๒,๑.) งบประมาณรวมกัน ๑๖,๐๐๐ ล้านบาท แบ่งมา ๕๐%จำนวน ๘,๐๐๐ ล้านบาท.
นำมาก่อสร้างอ่างเก็บน้ำขนาดเล็กรวมระบบจ่ายน้ำงบประมาณอ่างละ ๑๐๐
ล้านบาท. จะก่อสร้างได้เป็นจำนวน = ๘,๐๐๐/๑๐๐ = ๘๐
อ่างและแต่ละอ่างบริการพื้นที่การเกษตรได้จำนวน ๓,๐๐๐ ไร่
คำนวนเป็นพื้นที่การเกษตรรวม ๒๔๐,๐๐๐ ไร่.ส่วนที่ ๒ อีกจำนวน ๘,๐๐๐
ล้านบาท นำมาใช้ในการขุดสระเก็บกักน้ำประจำแปลงเกษตร "ทฤษฎีใหม่"
พื้นที่แปลงละเฉลี่ย ๑๕ ไร่ ความจุสระแปลงละ ๕,๐๐๐ ลบ.ม.@๒๕.-บาท =
๑๒๕.๐๐๐.-บาท/แปลง จะสามารถช่วยเกษตรกรได้เป็นจำนวน = ๘,๐๐๐/๐.๑๒๕ =
๖๔,๐๐๐ แปลงพื้นที่แปลงละ ๑๕ ไร่ ก็จะเป็นพื้นที่ทั้งสิ้น = ๖๔,๐๐๐x๑๕ =
๙๖๐,๐๐๐ ไร่
๓.)พื้นที่ชลประทานเดิมเพียง = ๑๑๑,๓๐๐ + ๒๘๓,๙๐๐ = ๓๙๕,๒๐๐ ไร่เท่านั้น
แต่กระจายมาทำแปลงเล็ก จะถึงมือเกษตรกรอย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพ
ได้เป็นพื้นที่รวม คิดจากความสามารถของอ่างขนาดเล็กเป็นจำนวนถึง ๒๔๐,๐๐๐
ไร่ หรือคิดจากแปลงเกษตร "ทฤษฎีใหม่" ได้เป็นจำนวนถึง ๙๖๐.๐๐๐ ไร่
และเมื่อปริมณน้ำจากอ่างขนาดเล็กบริการได้ไม่พอเพียง
ก็สามารถก่อสร้างอ่างเสริมให้มีขนาดที่ใหญ่ขึ้นไว้คอยมาเติมน้ำให้อ่างขนาดเล็ก
หรือพื้นที่บริเวณนั้นมีเขื่อนอยู่แล้ว
ก็สามารถเจาะอุโมงผันน้ำมาเติมได้เหมือนที่ อำเภอเขาวง
ซึ่งพระเจ้าอยู่หัวทรงให้เจาะอุโมงผันน้ำจากอ่างเก็บน้ำห้วยใผ่อีกฝั่งของจังหวัดมุกดาหารย้อนกลับมาเติมอ่างและพื้นที่เกษตรในอำเภอเขาวง
จังหวัดกาฬสินธุ์เป็นต้น ใช้งบประมาณน้อนเพียง ๑๐๐ ล้านบาทเศษเท่านั้น.
๔.)หากรัฐบาลหางบประมาณมาดำเนินการเพียง ๑๖๐,๐๐๐ ล้านบาท
ก็จะสามารถพัฒนาพื้นที่การเกษตรได้ถึง ๙.๖
ล้านไร่กระจายอยู่ทั่วทั้งภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ส่วนภาคเหนือนั้นก็สามารถทำได้เช่นเดียวกันและทำไปพร้อมๆกันก็จะใช้เงินงบประมาณอีกเพียง
๑๖๐,๐๐๐ ล้านบาท หากกระจายงานเช่นนี้ได้
ก็จะสามารถก่อสร้างได้แล้วเสร็จภายในระยะเวลา ๔ ปี ปัญหา เศรษฐกิจ
ก็จะดีขึ้นเอง และจะยั่งยืนครับ.
๕.) เมื่อพูดถึงรายจ่ายแล้วก็จะพูดถึงรายรับ (ความคุ้มต่า)มีแปลงเกษตร
"ทฤษฎีใหม่"เกิดชึ้นรวม(แปลงละ ๑๕ ไร่) = ๖๔,๐๐๐x๒ = ๑๒๘,๐๐๐
แปลงคิดผลผลิตเฉลี่ยแปลงละ ๗๒,๐๐๐.-บาท/แปลง/ปี
ก็จะได้เงินทั้งสิ้นถึงปีละ ๙,๒๑๖ ล้านบาท/ปี ภายในไม่เกิน ๕
ปีก็จะได้เงินคืนครับ
๖.)ถามว่ามามาราคคาซองละ ๖.-บาทจะขายดีเป็นเทน้ำเทท่าหรือไม่ครับ
เพราะเกษตรกรแต่ละครัวเรือนมีรายได้เฉลี่ยถึงเดือนละ ๖,๐๐๐.-บาท
แถมแทบจะไม่ต้องซื้ออาหารอะไรเลย เนื่องจากปลูกกินเองครับ.
หมายเหตุโครงการนี้ประชาชนเขาต่อต้านอยู่แล้วและจะทำลายทรัพยากรป่าไม่ในอุทธยานแห่งฃาติด้วย.
ก.)อนึ่งเขื่อนปากมูลต้องมีสัญญาประชาคมว่า
จะทำการปิดเขื่อนอย่างน้อยเป็นระยะเวลา ๒ ปี
เพื่อทำการศึกษาระบบนิเวชปลาขึ้นมาวางไข่ใหม่ว่า ลูกปลาที่เกิดใหม่นั้น
จะมีน้ำในการเจริญเติบโตได้หรือไม่อย่างไร?
เพราะระบบน้ำโขงที่ต้นน้ำในประเทศจีนได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างสิ้นเชิงแล้ว
ข.) โครงการผันน้ำโขง (โครงการ โขง ชี มูลเดิม)
ต้องตัดสินใจรีบดำเนินการก่อนที่จะสายเกินไป ทั้งนี้
เขื่อนต่างๆในภาคอิสานนั้นเก็บกักน้ำได้เฉลี่ย ไม่เกิน
๕๐%ของปริมารน้ำเก็บกักสูงสุด
เพาะการทำลายป่าทำให้ฝนตกน้อยลงถ้าตกมากในปีได้ เช่นปี ๒๕๔๘ และปีนี้
๒๕๕๐ ก็จะเกิดน้ำท่วมท่วประเทศดังที่เป็นข่าว ทั้งนี้เพราะสาเหตุ ๒
ประการคือ หนึ่งปริมาณน้ำมหาศาลจะไหลลงเขื่อนโดยเร็มเพราะไม่มีป่าไม้ไว้ชลอน้ำ
จึงต้องเปิดเขื่อนปล่อยน้ำทิ้งไปอย่างน่าเสียดายแถมยังทำลายไร่นาของเกษตรกรอีกด้วย
สอง เขื่อนจำนวนหลายแห่งประสิทะภาพต่ำลงมาก
ไม่สามารถเก็บกักน้ำได้ดังแต่ก่อน ยกต้
วอย่างที่เป็นข่าวแทบจะทุกปีก็ตือ เขื่อน ลำปาว อันลือลั่นเมื่อ
ครม.สัญจร สมัยรัฐบาลประชานิยมได้(หลับตา) อนุมัติเงินงบประมาณถึง ๓,๐๐๐
ล้านบาทโดยหลอกประชาชนว่าจะใช้เสริมสันเขื่อนลำปาวให้สูงขึ้นอีก ๒
เมตรเพื่อให้เก็บกักน้ำได้จาก ๑,๔๓๐ ล้านลบ.ม.เป็น ๑,๙๓๐
ล้านลบ.ม.ข้อมูลเขื่อนลำปาวเก็บกัน้ำได้สูงสุดถึง ๒,๔๕๐
ล้านลบ.ม.อยู่แล้ว และเขื่อน ลำพระเพลิง โคราช เขื่อนมุลบน โคราช
และเขื่อน ลำแซะ โคราช ก็ปล่อยน้ำทิ้งออกมาท่วมไร่น่เกษตรกรเช่นเดียวกัน
อถมนักการเมืองยังจะไปแย่งน้ำจากเขื่อน ลำแซะมาทำน้ำประปาอีกด้วย
ทั้งๆที่ ปริมาณน้ำในเขื่อนมีไม่พอใช้อยู่แล้ว อีกแห่งเขื่อนลำนางรอง
จังหวัดบุรีรัมย์ก็มีสภาพไม่ต่างกัน(ขยะกอวมหึมาอยู่ใต้พรมครับ)
พรรคอื่นคิดว่าดีและถูกต้องก็สามารถนำไปหาเสียงได้ครับ
ผมไม่สงวนลิขสิทธิครับ.
จากคนโคราชกันเองครับ.
---
รียนคุณอัญชลี ฯ
ภาพ ๑๔๘ ผมทำไว้เพื่อแนะนำเกษตรกร/ชาวนา ที่อยู่ในพื้นที่
น้ำท่วมเป็นระยะเวลาไม่ยาวนานนักครับ
โดยใช้ยุทธการ หว่านวันแม่ - เกี่ยววันพ่อ แต่เนื่องจาก หน้าแล้ว
และฝนทิ้งช่วงในแต่ละปีไม่ตรงกัน และเปลี่ยนแปลงไปมาก
จึงใช้วิธีดูจากกร๊าฟท์น้ำไหลลงเขื่อนครับและหาช่วงที่เหมาะสมดังกล่าว.
ภาพ ๑๔๙ ผมใช้แนบ บทความ ยุทธการหว่านวันแม่ - เกี่ยววันพ่อครับ.
จากทั้งสองภาพจะพบว่า ปี ๒๕๔๘ น้ำจะท่วมมาก
หากเขื่อนไม่เปิดน้ำทิ้ง และสันเขื่อนมีความแข็งแรงและ
ปลอดภัย จะสามารถเก็บกักน้ไว้ได้ ถึง ประมาณ ๒,๒๓๐ ล้าน ลบ.ม.
ก็จะทำให้มีปริมาณน้ำต้นปี ๒๕๔๙ ถึงประมาณ
๑,๘๕๐ - ๑.๙๐๐ ล้าน ลบ.ม.
ปริมาณน้ำมหาศาลนี้ก็จะสามารถปล่อยให้เกษตรกร/ชาวนา
ทำนาปรังได้ทุกปีครับ.
กรุณานำเรียท่านนายกด้วยนะครับ./ประชุม.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น