++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันอังคารที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2552

การทำงานของอัยการ นับวันยิ่งน่ากังขา!

โดย สิริอัญญา


วันนี้ก็เป็นอันชัดเจนแล้วว่า
คณะสามเกลอหัวขวดที่เป็นแกนนำสำคัญในเหตุการณ์จลาจลเลือด
ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ที่ผ่านมา ได้ถูกปล่อยตัวเป็นอิสระแล้ว
เนื่องจากพนักงานอัยการยังไม่สั่งฟ้องคดีภายในกำหนดเวลา

ถ้าเหตุการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นเดี่ยวๆ โดดๆ
หรือเพียงเรื่องเดียวแล้ว ก็ไม่กระไรนัก
แต่เมื่อเหตุการณ์ลักษณะนี้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง
คนทั้งหลายที่หวังให้บ้านเมืองมีความยุติธรรมจะสบายใจได้อย่างไร

ดังนั้นจึงจำเป็นที่จะต้องทบทวนเรื่องราวและกระบวนการทำงานของกระบวน
การยุติธรรมชั้นกลาง
ซึ่งถือได้ว่าเป็นกลางน้ำของกระบวนการยุติธรรมกันสักครั้งหนึ่ง

อย่าง น้อยก็อาจทำให้พนักงานอัยการทั้งหลายที่ยึดมั่นในวิชาชีพและภาระหน้าที่ทนาย
ความแผ่นดิน ได้ร่วมกันคิดอ่านว่าจะทำประการใด
จึงจะทำให้ศักดิ์ศรีเกียรติภูมิของสถาบันอัยการเป็นที่ศรัทธาเชื่อมั่นของ
ประชาชนสืบไป

ในพลันที่ข่าวคราวพนักงานอัยการไม่สามารถสั่งฟ้องคดีได้ภายในระยะ
เวลาที่กฎหมายกำหนด
และต้องปล่อยคณะสามเกลอหัวขวดให้พ้นไปจากอำนาจการควบคุมตามกฎหมาย
ก็เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวางว่า "อัยการเอาอีกแล้ว"
ซึ่งจะมีความหมายประการใดนั้น
ขอสาธุชนทั้งหลายได้พิจารณาตีความกันเอาเองก็แล้วกัน

อันคดีอาญานั้น เมื่อพนักงานสอบสวนได้ควบคุมตัวผู้ต้องหาไว้แล้ว
ก็จะต้องนำไปฝากขังต่อศาล
และมีระยะเวลาขออนุญาตฝากขังต่อศาลได้ตามที่กฎหมายบัญญัติไว้
จากนั้นพนักงานสอบสวนก็จะสั่งฟ้องหรือไม่ฟ้องคดี

ในกรณีพนักงานสอบสวนเห็นควรสั่งฟ้องคดี
ก็จะส่งสำนวนพร้อมผู้ต้องหาให้พนักงานอัยการเพื่อฟ้องคดีต่อศาล
ซึ่งปกติพนักงานอัยการก็จะพิจารณาและสั่งฟ้องในวันนั้น
หรือถ้าเป็นเรื่องยุ่งยากก็อาจจะขยายเวลาสั่งฟ้องออกไป
แล้วรับผู้ต้องหาไว้ในความควบคุมของพนักงานอัยการ
โดยจะต้องขออนุมัติฝากขังต่อศาลเช่นเดียวกัน

กรณีคณะสามเกลอหัวขวดก็เป็นเช่นนี้ เพราะพนักงานสอบสวนสั่งฟ้อง
แล้วส่งผู้ต้องหาพร้อมสำนวนให้พนักงานอัยการ
แต่ไม่สามารถสั่งฟ้องในวันนั้นได้ จึงเลื่อนเวลาสั่งฟ้องไปในวันอื่น
โดยขออนุญาตศาลควบคุมตัว ซึ่งศาลอนุญาตให้ประกันตัวไป

แต่ เมื่อครบระยะเวลาที่สามารถควบคุมตัวผู้ต้องหาแล้ว
ปรากฏว่าพนักงานอัยการยังไม่สั่งฟ้องคดี
โดยอ้างว่าผู้ต้องหาร้องขอความเป็นธรรม ขอให้สอบพยานเพิ่มเติม
เมื่อเป็นดังนี้จึงไม่สามารถควบคุมตัวผู้ต้องหาได้อีกต่อไป
และต้องปล่อยตัวไปเป็นอิสระ คณะสามเกลอหัวขวดจึงเป็นอันได้รับอิสรภาพ
เพราะพนักงานอัยการไม่สามารถสั่งฟ้องคดีได้ตามเวลาที่กฎหมายบัญญัติ

เป็นกรณีอย่างเดียวกันกับคดีของนายจักรภพ เพ็ญแข
ที่มีกระบวนการและการดำเนินงานในลักษณะนี้ และถึงวันนี้นายจักรภพ เพ็ญแข
ก็หลบหนีไปอยู่ที่ไหนก็ไม่รู้
กลายเป็นว่ากฎหมายไม่สามารถบังคับกับนายจักรภพ เพ็ญแข ได้

และเรื่องแบบนี้ก็เคยเกิดขึ้นมาก่อนหน้านี้อีก
นั่นคือในคดีก่อการจลาจลหน้าบ้านประธานองคมนตรี ซึ่งใครๆ ก็รู้ ใครๆ
ก็เห็นว่าใครก่อการจลาจล ว่าใครกระทำความผิด
และเป็นความผิดที่เกิดความเสียหายใหญ่หลวงแก่บ้านเมือง

ปรากฏว่าในคดีนั้นก็ไม่สามารถสั่งฟ้องคดีได้ภายในเวลาที่กฎหมายกำหนด
จึงต้องปล่อยตัวผู้ต้องหาทั้งหมด และในที่สุดก็มีการสั่งไม่ฟ้อง
โดยอ้างว่าไม่มีพยานหลักฐานว่าผู้ต้องหากระทำความผิด

ซึ่งเป็นเรื่องที่แปลก เพราะการอ้างว่าไม่มีพยานหลักฐานนั้นหมายความว่าอะไร?

หมายความว่าไม่มีการกระทำความผิดใดๆ เกิดขึ้น
จึงย่อมไม่มีพยานหลักฐาน ซึ่งเป็นไปไม่ได้
เพราะกรณีดังกล่าวนั้นมีการจลาจลเกิดขึ้นใจกลางพระนคร
หน้าบ้านบุคคลสำคัญคือประธานองคมนตรี
จึงไม่ใช่กรณีที่ไม่มีความผิดเกิดขึ้น และไม่มีพยานหลักฐาน

กรณีเป็นเรื่องที่ไม่หาพยานหลักฐาน
หรือหาพยานหลักฐานแบบขาดตกบกพร่องต่างหาก
ซึ่งกรณีเช่นนี้ก็ต้องดำเนินการกับผู้ที่เกี่ยวข้อง
แต่อย่างน้อยที่สุดเมื่อรู้เห็นกันอยู่ว่ามีการกระทำความผิดเกิดขึ้นจริง
หากพยานหลักฐานในสำนวนไม่เพียงพอ
ก็สามารถตั้งประเด็นให้ฝ่ายตำรวจสอบสวนเพิ่มเติมได้
หรือจะเรียกพยานหลักฐานมาสอบสวนเองก็ยังได้

การ ที่มีการกระทำความผิดเกิดขึ้นแล้วไม่สามารถหาพยานหลักฐานหรือละเลยเพิกเฉย
ไม่ว่าด้วยเหตุใดๆ เพื่อนำพยานหลักฐานเข้าสู่สำนวนความ
ย่อมเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 200 คือ
กระทำการเพื่อให้การช่วยเหลือผู้กระทำความผิดไม่ให้ต้องรับโทษในคดีอาญา
ย่อมมีโทษจำคุกตลอดชีวิต

แต่สำนวนก็จบสิ้นไป หายไปกับสายลมและสายน้ำ
แต่นั่นคือการทำลายความยุติธรรมในบ้านเมือง
ทำลายขื่อแปบ้านเมืองและความศักดิ์สิทธิ์ของกฎหมาย
ที่สำคัญคือทำลายความเชื่อมั่นต่อกระบวนการยุติธรรม ทั้งเบื้องต้น
และเบื้องกลาง

หมายความว่าต้นสายธารและกลางสายธารแห่งกระบวนการยุติธรรมขุ่นมัวสกปรก
ไม่สามารถประสาธน์ความยุติธรรมในบ้านเมืองได้

นี่ แหละคือต้นเหตุสำคัญที่ทำให้คนผิดคิดชั่วทั้งหลายไม่กลัวอำนาจรัฐ
ไม่กลัวความยุติธรรม ไม่กลัวกฎหมาย เพราะต่อให้ทำผิดโต้งๆ ใจกลางเมือง
แต่กระบวนการยุติธรรมที่เป็นปัญหากลับสามารถปกป้องคุ้มครองคนกระทำความผิด
ให้พ้นผิดและลอยนวลต่อไปได้อย่างหน้าตาเฉย

เมื่อเป็นอย่างนี้กฎหมายก็ใช้บังคับไม่ได้
ในที่สุดสักวันหนึ่งเมื่อคนทั้งหลายเห็นว่าพึ่งพาอาศัยกฎหมายไม่ได้
ก็ย่อมหันไปพึ่งพากฎแห่งป่า
คือใครมีกำลังก็จัดการป้องกันสิทธิของตนเอาตามอำเภอใจเอง
หรือลงโทษเอากับผู้ที่ตนเห็นว่าทำให้ตนเสียหาย ด้วยกำลังอำนาจของตนเอง

เมื่อใดที่คนทั้งหลายหันไปใช้กฎแห่งป่าแทนกฎหมายแล้ว
เมื่อนั้นบ้านเมืองก็ย่อมเป็นกลียุค ดังนั้นจึงเป็นหน้าที่สำคัญของรัฐบาล
ของรัฐสภา ตลอดจนองค์กรตรวจสอบการใช้อำนาจทั้งหลายที่จะต้องหันมาพิจารณาเรื่องนี้กัน
เสียทีหนึ่ง

เพื่อป้องกันไม่ให้คนทั้งหลายหันมาใช้กฎแห่งป่าแทนกฎหมาย
อันจะก่อให้เกิดกลียุคขึ้นในบ้านเมือง

การที่พนักงานอัยการไม่สามารถสั่งฟ้องคดีได้ภายในเวลาที่กฎหมายกำหนด
จนต้องปล่อยผู้ต้องหา
และไม่รู้ว่าเมื่อถึงเวลาที่คดีอาจพิจารณาสั่งฟ้องแล้ว
จะได้ตัวผู้ต้องหามาดำเนินคดีหรือไม่นั้น
อาจเป็นได้ทั้งผิดกฎหมายและไม่ผิดกฎหมาย

จะไม่เป็นความผิดตามกฎหมายถ้าหากกรณีมีข้อเท็จจริงและเหตุผลอย่าง
เพียงพอว่า สำนวนที่พนักงานสอบสวนส่งมานั้นบกพร่องไม่สมบูรณ์
จำเป็นที่จะต้องสอบข้อเท็จจริงเพิ่มเติมเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม
และได้ดำเนินการอย่างเต็มที่แล้ว แต่ไม่ทันเวลา

ในกรณีเช่นว่านี้ จะให้เรื่องผ่านไปเฉยๆ กระนั้นหรือ?
ย่อมเป็นหน้าที่ของสถาบันอัยการอันเป็นทนายความแผ่นดินที่จะต้องรายงาน
รัฐบาลให้ทราบถึงความบกพร่องของพนักงานสอบสวน
ที่ทำสำนวนมีช่องโหว่ขาดตกบกพร่อง
ซึ่งอาจทำให้คนผิดหลุดรอดความรับผิดหรืออาจทำให้ผู้บริสุทธิ์ต้องถูกลงโทษ
ซึ่งเป็นเรื่องไม่เป็นธรรมทั้งสิ้น
เพื่อให้รัฐบาลได้จัดการเอาคนที่ใช้ไม่ได้แบบนี้ออกไปเสียจากอำนาจหน้าที่

ใน ขณะเดียวกัน
ก็ยังต้องกล่าวโทษให้มีการสอบสวนว่าการทำสำนวนบกพร่องผิดพลาดเช่นนั้นเป็น
การปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ในทางยุติธรรมโดยมิชอบหรือไม่
หรือว่าเป็นการจงใจปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติเพื่อช่วยเหลือผู้ต้องหา
หรือผู้กระทำความผิดไม่ให้ต้องรับโทษอาญากันแน่

ถ้ามีการทำอย่างนี้
ก็จะทำให้กระบวนการยุติธรรมเบื้องต้นได้รับการตรวจสอบจากกระบวนการยุติธรรม
ขั้นกลาง ซึ่งจะมีผลทำให้กฎหมายศักดิ์สิทธิ์
ทำให้ขื่อแปของบ้านเมืองมั่นคง ทำให้คนทั้งหลายหวังได้ในความยุติธรรม

แต่การไม่สั่งฟ้องภายในเวลาที่กฎหมายกำหนดก็อาจเป็นความผิดทางอาญา
ได้ ถ้าหากมีพฤติกรรมหรือข้อเท็จจริงว่าเป็นการละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยไม่
ชอบ หรือเป็นการใช้อำนาจหน้าที่ถ่วงรั้งคดีโดยไม่ชอบ
เพื่อช่วยเหลือผู้ต้องหาไม่ให้ต้องรับโทษหรือให้รับโทษน้อยลง
ก็จะเป็นความผิดต่อกระบวนการยุติธรรมตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 200
เช่นเดียวกัน นั่นคือผู้กระทำความผิดย่อมมีโทษจำคุกตลอดชีวิต

เหตุการณ์เกิดขึ้นเรื่องแล้วเรื่องเล่า แต่ความจริงก็ไม่กระจ่าง
ทั้งๆ ที่การกระทำความผิดปรากฏชัดต่อสาธารณะ
เป็นเหตุการณ์เกิดขึ้นใจกลางเมืองหลวง
แต่ผู้ต้องหาหรือผู้กระทำความผิดบ้างก็หลุดพ้นความผิดไปแล้ว
บ้างก็พ้นไปจากการควบคุมของเจ้าหน้าที่แล้ว
ท่ามกลางความกังขาและความไม่สบายใจของคนไทยจำนวนมาก

การ ที่คนขาดความเชื่อมั่นในกระบวนการยุติธรรมเป็นอันตรายร้ายแรงต่อความมั่นคง
ปลอดภัยของชาติ กรณีจึงอาจจำเป็นต้องตรวจสอบการทำงานของพนักงานอัยการ
และเป็นเรื่องที่รัฐบาล ตลอดจนองค์กรที่มีหน้าที่ตรวจสอบต่างๆ
ต้องใส่ใจดำเนินการเรื่องนี้

เพื่อ คลายข้อสงสัยของประชาชน
เพื่อรักษาความศรัทธาเชื่อถือต่อสถาบันอัยการ
และขณะเดียวกันก็เพื่อกำจัดคนไม่ดี ไม่ให้มีอำนาจในบ้านเมือง.

http://www.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9520000066991

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น