ทุกคนรู้จัก "หมีแพนด้า" กันหรือเปล่าคะ ?
ต้นหลิวไม่น่าถามเลย..เพราะต้องรู้จักกันอยู่แล้ว
พอดีว่าช่วงนี้มีข่าวเกี่ยวกับเจ้าแพนด้าน้อยกันบ่อยมากๆ เลย
แต่ต้นหลิวไม่ค่อยสนใจเท่าไหร่หรอกค่ะ เพราะยังไงต้นหลิวก็ยังชอบ หมา แมว
หนูแฮมสเตอร์ เจ้ากระต่าย มากกว่า
น้องต้นหลิว
แต่ตอนนี้ข่าวของเจ้าแพนด้าน้อยทำให้ต้นหลิวตื่นเต้นมากๆ เลยล่ะค่ะ
ใครที่สามารถตั้งชื่อเจ้าลูกแพนด้าน้อยได้ถูกใจ จะได้เงินรางวัล
1,000,000 บาท และ รถยนต์อีก 1 คัน
โอ้โห...เยอะเกินไปมั้ยเนี่ย ต้นหลิวคิดว่า
แค่ตั้งชื่อลูกหมีแพนด้าเอง ทำไมต้องให้เงินเยอะขนาดนั้นด้วย
และอีกอย่าง...คนเราก็ชอบไม่เหมือนกัน
ถ้าเราชอบชื่อแบบนี้ แต่กรรมการไม่ชอบชื่อแบบนี้
แล้วเขาจะมีวิธีตัดสินกันยังไงล่ะคะ
และอีกอย่าง ถ้าเราต้องตั้งชื่อ "ลูกหมีแพนด้า"
เพื่อให้คนอื่นชอบ....แต่เราไม่ได้ชอบ แบบนี้เราจะมีความสุขได้ยังไง
ถ้ามันเป็นชื่อที่เราไม่ได้ชอบจริงๆ แล้วต้นหลิวก็เดาไม่ถูกด้วยล่ะค่ะ
ว่ากรรมการ จะชอบชื่อแบบไหนกัน
ต้นหลิว คิดว่า ถ้าจะให้เงินรางวัล 1,000,000 บาท
ให้กับคนที่เขาแข่งขันกีฬา หรือ แข่งขันอะไรก็ได้อย่างอื่นน่าจะดีกว่า
เพราะเขาต้องฝึกฝน ต้องเหนื่อย....ถึงจะได้รางวัล
แต่นี่ แค่แต่งชื่อเข้าประกวด แค่คิด แล้วก็เขียน
ทำง่ายแค่นี้เองได้เงินตั้งเยอะ
คุณพ่อยังบอกต้นหลิว อีกว่า
เดี๋ยวยังไงเจ้าแพนด้าน้อยก็จะไม่ได้อยู่กับเรา มันต้องกลับไปเมืองจีน
แบบนี้ก็เรียกว่า "เสียตังค์ไปโดยเปล่าประโยชน์น่ะสิคะ"
...........................................................................
ข้อความดังกล่าว เป็นความเห็นของเด็กน้อยวัย 9 ปี ที่ชื่อ
น้องต้นหลิว เขียนลงเว็บบอร์ด ในเว็บไซต์ www.motherandcare.in.th
ใช้ชื่อเรื่องว่า หมาแพนดี้ (ที่น่ารัก)
น้องต้นหลิว เป็นหนูน้อยยอดนักเล่านิทาน จากโครงการ "ลับสมอง
ประลองปัญญา สรรหาหนูน้อยนักเล่านิทาน" ในปี 2549 ซึ่งจัดขึ้นโดย 3
องค์กร ได้แก่ สำนักงานอุทยานการเรียนรู้ , นิตยสาร Mother&Care
และมูลนิธิหนังสือเพื่อเด็ก
ทั้งยังเป็นคนแรกที่ชนะเลิศอันดับหนึ่งในรุ่นวัย 6-9 ปี
ได้รางวัลถ้วยพระราชทานจาก สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
พร้อมเงินรางวัล 30,000 บาท
น้องต้นหลิว
เติบโตมาในครอบครัวที่พ่อแม่ปลูกฝังการเล่านิทานให้ลูกฟัง
ผนวกกับได้รับแรงบันดาลใจและแรงสนับสนุนของคนเป็นพ่อแม่ที่เห็นแววของลูกใน
ลีลาการเล่านิทาน ซึ่งได้ ฝึกฝน อุตสาหะ
รวมถึงความพยายามในการนำสิ่งที่ตนเองชอบ ผสานกับความกล้าแสดงออก
จนนำไปสู่ความสำเร็จจากการเล่านิทานในโครงการดังกล่าว
หนูน้อยคนนี้มีการต่อยอดพัฒนาการ
ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากคนในครอบครัว
และผู้ใหญ่ใจดีที่เห็นแววอันเป็นธรรมชาติของเด็กคนนี้
ให้เธอได้มีโอกาสฝึกฝนตัวเองในเรื่องอื่นๆ
ในเชิงสร้างสรรค์อย่างต่อเนื่อง เช่น
การไปเล่านิทานให้เด็กรุ่นน้องฟังในหลายๆ สถานที่, การเป็นพิธีกร
ในงานที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนิทาน ฯลฯ ซึ่งน้องต้นหลิวก็ทำได้ดี
เธอ เป็นเด็กน้อยคนหนึ่ง ที่ได้ใช้ความเพียรพยายาม
และความสามารถของตัวเองในทางที่ตัวเองถนัด
และต้องผ่านกระบวนการฝึกซ้อมฝึกฝน ความพยายาม รวมถึงแรงบันดาลใจ
ความกล้าแสดงออก และ ฯลฯ อีกมากมาย กว่าจะฟันฝ่าอุปสรรค
ไม่แปลกใจหรอกค่ะ
ถ้าเด็กน้อยคนนี้จะมีความรู้สึกความคิดดังกล่าวข้างต้นต่อเหตุการณ์ของเจ้า
หมีแพนด้ายอดฮิตในบ้านเรา
ที่เจ้าหลินฮุ่ยคลอดลูกจนชื่อเสียงสะท้านทั้งแผ่นดิน
จนถึงตอนนี้ก็เป็นขั้นตอนของการตั้งชื่อของเจ้าหมีแพนด้าน้อยในด่าน
สุดท้าย ซึ่งล่าสุดก็ได้ชื่อ 4 ชื่อ พร้อมกับแผนโปรโมทต่อมา
ก็คือการให้ประชาชนโหวตเข้าไปว่าควรจะให้หมีแพนด้าน้อยชื่ออะไรจาก 4 ชื่อ
ที่ถูกเลือกมาเป็นตัวเลือก
ช่างเป็นแผนการโปรโมตที่สุดแสนจะถนัดของคนที่เกี่ยวข้องในการสร้างกระแสให้เจ้าหมีน้อยแพนด้ากลายเป็นสินค้าชั้นยอด
ความจริงเจ้าหมีแพนด้าน้อยก็น่ารักน่าชังน่าเอ็นดูจริงๆ แหละ
อีกทั้งเรื่องราวของหมีแพนด้าก็น่าสนใจไม่น้อย
ทำให้คนไทยตื่นตัวและมีความรู้เรื่องหมีแพนด้ามากขึ้น
รู้ว่าหมีแพนด้าเป็นสัตว์ประจำชาติจีน กว่าจะคลอดลูก กว่าจะมีพัฒนาการ
และมีวิถีชีวิตความเป็นอยู่อย่างไร ก็ทำให้ได้รู้
แต่..ประเด็นที่ชวนสะกิดคิด คือ กลยุทธ์การโปรโมตมากกว่า
ที่เกิดคำถามว่าท้ายสุดแล้วสังคมไทยได้อะไร ?
ถ้าจะมีการประกวดตั้งชื่อหมีแพนด้าก็เป็นเรื่องที่ทำได้
แต่จำเป็นต้องโปรโมทด้วยเงินรางวัลถึง 1 ล้านบาท รถยนต์ 1 คัน เชียวหรือ
การที่ใครสักคนจะได้รับรางวัลก้อนโตในชีวิต
ใยเราไม่สนับสนุนให้เกิดองค์ความรู้ หรือการผ่านความเพียรพยายาม
หรือความมุ่งมั่นในสิ่งใดสิ่งหนึ่งในระดับพิสูจน์ได้ ไม่ดีกว่าหรือ..!!
จะว่าไปก็คล้ายๆ กลยุทธ์การประกวดร้องเพลง
และประกวดอะไรต่อมิอะไรสารพัดที่ใช้วิธี "โหวต"
บางรายการก็โหวตผ่าน sms บางรายการก็ใช้ไปรษณียบัตร
ก็สุดแท้แต่เจ้าของโครงการตั้งใจว่าจะให้ใครได้รับประโยชน์จากรูปแบบไหนก็
เลือกเอา
ดูผิวเผิน แผนการโปรโมตครั้งนี้ก็ดูดี
ปลุกกระแสผู้คนให้มีอะไรกุ๊กกิ๊กมาคั่นความวุ่นวายของสังคมได้บ้าง
อีกทั้งก็มีผู้คนหลั่งไหลกันส่งรายชื่อเข้าร่วมประกวดทุกเพศทุกวัย
เพราะมีเงินล่อใจซะขนาดนั้น
อย่าลืมว่าสังคมไทยทุกวันนี้ ก็เป็นสังคมโปรโมตอยู่แล้ว
ยิ่งเรื่องการสร้างแผนดึงดูดในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง
โดยใช้เงินรางวัลเป็นเป้าหมาย
กลายเป็นสูตรสำเร็จของผู้ที่ต้องการโปรโมทสินค้าทั่วๆ ไป
ซึ่งบางครั้งก็ไม่ได้คำนึงถึงสิ่งที่ผู้คนจะได้จากการโปรโมทในเชิงคุณภาพ
หรือการมีส่วนร่วมอย่างแท้จริง
เราปฏิเสธไม่ได้ว่า
สังคมไทยขับเน้นเรื่องการสร้างกระแสในเชิงปริมาณ
ให้ความสำคัญกับกระแสข่าวในช่วงระยะเวลาสั้นๆ
และมักจะจุดชนวนต่อยอดไปสู่แผนการตลาดได้อย่างเนียนเรียบอีกต่างหาก
คำถามที่ตามมา...เราต้องการให้สังคมไทยให้คุณค่ากับเรื่องการได้สิ่ง
ใดสิ่งหนึ่งมาด้วยความง่ายดาย และความเพียรพยายามแตกต่างกันอย่างไร
สิ่งที่สังคมไทยกำลังขาดหาย ก็คือ เรื่องคุณภาพ
ถ้าเราให้คุณค่ากับคำว่า คุณภาพ
เราจะขับเน้นเรื่องการสร้างคนที่เพียรพยายามต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่ง
ที่ต้องใช้ความอดทน อุตสาหะ
และมุ่งมั่นในการทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งให้สำเร็จด้วยความภาคภูมิใจ
เพื่อสร้างสังคมอุดมปัญญา
เพราะไม่เช่นนั้นแล้ว เราจะได้สังคมอุดมปัญหา...!!
http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9520000068051
แพนด้าน้อยน่ารักมาก ยิ่งตอนกำลังโตก็จะยิ่งน่ารัก
แต่...
แพนด้า เป็นของเราคนไทยหรือเปล่า
รัฐบาลมีความพยายามจะเจรจาเพื่อขอให้แพนด้าอยู่ในเมืองไทยนานกว่า 24 เดือน
รัฐมนตรี ต้องเทียวไปเทียวมานั่งเครื่องบินไปเจรจาโดยใช้งบประมาณหลวง
ต้องใช้เงินเท่าไรในการดูแล ต้องปรับที่อยู่ให้เหมาะสมพร้อมอาหารการกินที่ดี
มีการโหวตตั้งชื่อโดยมีรางวัลล่อใจ เงินล้านกับรถหรู ใช้งบประมาณจากที่ไหน
แล้วทีกับสัตว์คู่บ้านคู่เมืองของไทยมาช้านานหลายร้อยปีอย่าง "ช้าง"ล่ะ
รัฐบาลใส่ใจดูแลอย่างจริงจังหรือไม่ ทำไมยังมีช้างเร่ร่อนหากินเลี้ยงคนอยู่ทั่วไป
ไม่ต้องอ้างเรื่องคนเลี้ยงไม่มีหัวใจ ไม่มีสามัญสำนึก
รัฐบาลจริงใจหรือเปล่าต่างหากคือเรื่องที่ต้องคิด
ดูแลมากพอหรือยังกับสัตว์ ที่ช่วยปกป้องบ้านเมือง
ง่าย ๆ ช้างที่ป่วยที่ศูนย์อนุรักษ์ช้างไทย ได้รับการเหลียวแลดีอยู่หรือ
ณ วันนี้งบประมาณทุ่มไปที่สวนสัตว์เชียงใหม่มากมาย เพื่อแพนด้า 3 ชีวิต
ส่วนสัตว์อื่นในสวนสัตว์ ก็ยังอยู่กันเหมือน ๆ เดิม ซังกะตายไปวัน ๆ
แบ่งปันงบประมาณที่ใช้รักษาหน้าตาของรัฐบาล มาดูแลสัตว์อื่น ๆ บ้างได้ไหม
สิงโตในเขาดิน ถึงจะแก่ แต่ก็ไม่น่าจะผ่ายผอมได้ขนาดนั้น
พังกำไล กำลังรอรับการรักษาพยาบาล รัฐบาลยื่นมือเข้าช่วยได้แค่ไหน
ทำไมการรักษาถึงได้ช้านัก เพราะอะไร บ่อธาราบำบัดทำไมสร้างนานจัง
ถ้าเงินที่รัฐบาลทุ่มไปกับเรื่องของแพนด้า ได้แบ่งปันให้บ้าง
คุณภาพชีวิตสัตว์ในบ้านเมืองเรา โดยเฉพาะช้างไทย จะดีกว่านี้หรือไม่
รัฐมนตรีฯ สุวิทย์ หน้าบานในการออกงานเกี่ยวกับแพนด้า
แต่หายหน้าไปจากการช่วยเหลือบรรดาช้างของไทย หัวใจคุณทำด้วยอะไร วะ
พธม.กระทรวงศึกษาธิการ (v.pok)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น