เมื่อเวลา 9.00 น. วันที่ 11 กรกฎาคม นายวิชาญ มีนชัยนันท์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วยนายกิริดาห์ ผู้แทนองค์การประชากรแห่งสหประชาชาติประจำประเทศไทย (UNFPA) และ นพ.ณรงค์ศักดิ์ อังคะสุวพลา อธิบดีกรมอนามัย เปิดสัมมนาวิชาการเนื่องในวันประชากรโลก ในปีนี้องค์การประชากรแห่งสหประชาชาติ กำหนดประเด็นสำคัญว่า “รู้จักสิทธิ์...ร่วมใจทำให้เป็นจริง” นายวิชาญกล่าวว่า ขณะนี้ทั่วโลกมีประชากรทั้งหมด 6,700 ล้านคน องค์การสหประชาชาติคาดจะเพิ่มเป็น 11,900 ล้านคน ในอีก 42 ปีข้างหน้า เนื่องจากโครงสร้างประชากรทุกประเทศเปลี่ยนแปลงไปอย่างชัดเจน ผู้สูงอายุมีอายุยืนยาวขึ้น แนวโน้มเด็กเกิดใหม่ลดลง ส่วนของไทย สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล คาดประมาณประชากรกลางปี ณ วันที่ 1 กรกฎาคม 2551 ว่า ไทยมีประชากร 63.1 ล้านคน มีอัตราการเพิ่มร้อยละ 0.4 ต่อปี โดยผู้หญิงไทย 1 คน มีบุตรน้อยลง เฉลี่ย 1.5 คน ทำให้ไม่เพียงพอที่จะทดแทนจำนวนพ่อแม่เมื่อเสียชีวิตไป และจำนวนผู้หญิงยังมากกว่าชายเกือบ 9 แสนคน โดยจะเพิ่มเป็น 1.5 ล้านคน ในปี 2568 ทำให้เกิดความไม่สมดุลในการจับคู่แต่งงาน ดังนั้นคาดว่าในอีก 22 ปีข้างหน้า ผู้หญิงไทยจะมีลูกโดยเฉลี่ยลดลง เหลือเพียง 1.35 คนเท่านั้น อย่างไรก็ตาม จากภาวะดังกล่าวทำให้ไทยกำลังก้าวสู่การเป็นสังคมของผู้สูงอายุ ขณะนี้มีผู้สูงอายุร้อยละ 11 ของประชากรทั้งหมด และจากอัตราเพิ่มอย่างรวดเร็วของผู้สูงอายุ คาดการณ์ว่าในอีก 22 ปีข้างหน้า หรือใน พ.ศ.2573 ผู้สูงอายุจะเพิ่มเป็นร้อยละ 25 คือคนที่เดินมาทุก 4 คน จะเป็นผู้สูงอายุ 1 คน ซึ่งถือเป็นสังคมผู้สูงอายุเต็มขั้น ส่วนประชากรวัยเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี แนวโน้มลดลง จากขณะนี้ร้อยละ 21.5 จะเหลือร้อยละ 13.5 ทำให้จำนวนวัยแรงงานสร้างเศรษฐกิจในอนาคตลดลง ปัญหาใหญ่ที่ตามมาก็คือ ผู้ที่อยู่ในวัยแรงงานทุก 100 คน จะต้องแบกรับภาระเลี้ยงดูเด็กและผู้สูงอายุเพิ่มจาก 48 คน เป็น 63 คน ส่งผลต่อการพัฒนาประเทศ นายวิชาญกล่าวต่อว่า ด้านการวางแผนรับมือปัญหาจากการเปลี่ยนแปลงประชากรไทยดังกล่าวนั้น กระทรวงสาธารณสุขได้ตั้งคณะกรรมการพัฒนางานอนามัยการเจริญพันธุ์แห่งชาติ ได้แก่ ผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งภาครัฐ เอกชน ภาคประชาชน องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น สื่อมวลชน และกลุ่มรักร่วมเพศ มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธาน เพื่อพัฒนาคุณภาพประชากรไทยให้ทัดเทียมนานาชาติ สามารถแข่งขันในสังคมโลกได้ โดยจะผลักดันให้เป็นวาระแห่งชาติ และผลักดันพระราชบัญญัติคุ้มครองการอนามัยเจริญพันธุ์ ซึ่งจะเป็นกฎหมายฉบับแรกของประเทศ ที่ว่าด้วยการดูแลสุขภาพทางเพศโดยเฉพาะ คาดว่าจะเสนอคณะรัฐมนตรีได้ในปลายปีนี้ ด้าน นพ.ณรงค์ศักดิ์กล่าวว่า องค์การประชากรแห่งสหประชาชาติเน้นให้ความสำคัญที่กลุ่มวัยเจริญพันธุ์ ซึ่งพบว่าที่ผ่านยังมีปัญหาอยู่มาก ทั้งจากค่านิยมที่เปลี่ยนแปลงไป คิดว่าการมีเพศสัมพันธ์กับแฟนเป็นเรื่องที่โก้เก๋ อีกทั้งยังเริ่มต้นมีกลุ่มผู้มีอายุต่ำลง พบว่าเริ่มมีตั้งแต่อายุ 13-14 ปี เฉลี่ยที่อายุ 15 ปี จากเดิมที่เริ่มมีเพศสัมพันธ์อายุ 19 ปี ก่อให้เกิดภาวการณ์ตั้งครรภ์ที่ไม่พึ่งประสงค์ ส่งผลให้มีอัตราการทำแท้งเพิ่ม ปัญหาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ รวมถึงโรคเอดส์ ดังนั้นจำเป็นต้องจัดบริการอนามัยเจริญพันธุ์เพื่อให้วัยรุ่นเข้าถึงบริการไ ด้และให้รู้จักการป้องกันตนเอง "ขณะนี้มีการใช้ยาคุมฉุกเฉินในกลุ่มวัยรุ่นเพิ่มมากขึ้น ซึ่งผมเพิ่งเดินทางกลับจาก จ.ภูเก็ต ซึ่งเป็นจังหวัดท่องเที่ยว รับทราบว่ายาคุมฉุกเฉินที่นั่นเป็นที่นิยมมาก ถึงขนาดร้านขายยาบางแห่งต้องวางไว้ตรงบริเวณเคาน์เตอร์คิดเงินคู่กับถุงยางอ นามัย เพราะหยิบสะดวก เป็นการใช้ยาคุมไม่ถูกวิธี เนื่องจากผู้ซื้อส่วนใหญ่จะกินยาคุมฉุกเฉินโดยใช้ในลักษณะเดียวกับยาคุมทั่ว ไป ซึ่งน่าเป็นห่วงเพราะอาจก่อให้เกิดปัญหาภายหลังได้ |
แหล่งข่าวโดย.... เว็บไซต์คมชัดลึก ผู้จัดทำ.... ฝ่ายวิเคราะห์และประมวลข่าวสาร สำนักสารนิเทศ |
Theขี้ฝุ่นริมทาง
วันจันทร์ที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2551
สธ.ฟันธง22ปีไทยเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุเต็มขั้น
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น