++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันอาทิตย์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2551

การสร้างโพลีโคลนัลแอนติบอดีต่อโปรตีน marker ของอ้อยสายพันธุ์ทนแล้ง


Production of polyclonal antibody specific to protein marker of drought tolerance sugarcane clone
นิศาชล แจ้งพรมมา (Nisachon Jangpromma)*
รศ.ดร. ศักดา ดาดวง (Asst.Prof. Sakda Daduang)**
รศ.ดร. ประสิทธิ์ ใจศิล (Assoc.Prof. Prasit Jaisin)***
ผศ.ดร. สมปอง ธรรมศิริรักษ์ (Asst.Prof. Sompong Thammasirirak)****
บทคัดย่อ
อ้อย (sugarcane) เป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศไทย โดยเฉพาะภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งเป็นภาคที่มีการผลิตอ้อยมากที่สุด แต่ต้นทุนในการผลิตยังคงสูงกว่าภาคอื่นๆ ทั้งนี้เนื่องจากยังขาดพันธุ์อ้อยที่ทนแล้งและเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมที่ทำการเพาะปลูก ทำให้ความสามารถในการไว้ตออ้อยต่ำ ในงานวิจัยนี้จึงได้ทำการสร้างแอนติบอดีต่อโปรตีนของอ้อยสายพันธุ์ทนแล้ง โดยทำการแยกโปรตีนที่แสดงออกเฉพาะในอ้อยสายพันธุ์ทนแล้ง (protein marker) ด้วย SDS-PAGE จากนั้นตัดเจลตรงบริเวณที่เป็นแถบของ protein marker ของอ้อยสายพันธุ์ทนแล้ง 2 กลุ่มโปรตีน คือ กลุ่มโปรตีนขนาด 14-19 kDa และกลุ่มโปรตีนขนาด 20-22 kDa แล้วฉีดโปรตีนที่แยกได้เข้าในหนูทดลองเพื่อใช้ในการสร้างและผลิตแอนติบอดี เมื่อนำซีรั่มของหนูแต่ละกลุ่มมาหาค่า titer ด้วยเทคนิค Western blotting พบว่าหนูกลุ่มที่ฉีดกระตุ้นด้วยโปรตีนขนาด 14-19 kDa มีการสร้างแอนติบอดีที่มีความจำเพาะต่อโปรตีนขนาด 18 kDa ซึ่งมีค่า titer สูงถึง 1:100 และเมื่อนำซีรั่มของหนูกลุ่มนี้มาหาค่า titer ด้วยเทคนิค ELISA และ Dot blotting พบว่ามีค่า titer เท่ากับ 1:10 จากผลการทดลองนี้แสดงให้เห็นว่าสามารถผลิตแอนติบอดีที่มีความจำเพาะต่อ protein marker ของอ้อยสายพันธุ์ทนแล้งได้ ซึ่งงานวิจัยนี้จะมีประโยชน์อย่างมากในการพัฒนาใช้ในการตรวจวัดสายพันธุ์อ้อยที่มีความทนทานต่อสภาวะแห้งแล้งในอนาคต



ABSTRACT
Sugarcane is a major crop cultivated in Thailand, especially in the Northeastern part of the country. However, the yield of production is still low according to poor ratooning ability. This problem leads to the high cost production. To overcome of this problem, a polyclonal antibody against drought tolerance sugarcane protein was produced in mice. The specific antigen was selected and classified into 2 groups according to molecular mass namely 14-19 kDa and 20-22 kDa. The antigen was separated by SDS-PAGE and the band of protein markers were excised from the gel. Further these excised gel protein markers were used as immunogen for antibody production in mice. Mice were bled and the titer of anti-sera were assayed by Western blotting technique. The 14-19 kDa immunogen showed high specific antibody to protein 18 kDa. The titer of antigen-antibody interaction at around 1:100 was obtained. Further these polyclonal antibody was determined for titer by ELISA and Dot blotting, the titer was 1:10. This result indicates that drought tolerance sugarcane protein can elicit immune responds in mice with high specificity.
* มหาบัณฑิต หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาชีวเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
**รองศาสตราจารย์ ภาควิชาชีวเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
***รองศาสตราจารย์ ภาควิชาพืชไร่ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
****ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ภาควิชาชีวเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
จากการประชุมทางวิชาการ เสนอผลงานวิจัย ระดับบัณฑืตศึกษา ครั้งที่ 9
วันศุกร์ที่ 19 มกราคม 2550 ณ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
The 9th Symposium on Graduate Research, KKU. 19 January 2007


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น