++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันเสาร์ที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2551

ความคิดเห็นของสมาชิกกลุ่มผู้ใช้น้ำต่อการดำเนินงานของกลุ่มผู้ใช้น้ำ โครงการชลประทานสุรินทร์

Opinions of Water User Members Group Towards the Operation of the Water User Group in Surin Irrigation Project
เวชยันต์ จันทร์เพชร (Wetchayan janpet) *
ภูมิจิต เรืองเดช (Poomjit Rungdej) **
ประชัน คะเนวัน (Prachan Kanawan) ***
วุฒินันท์ รามฤทธิ์ (Wutinum Ramrit) ***

บทคัดย่อ


การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมาย เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบความคิดเห็นของสมาชิกกลุ่มผู้ใช้น้ำต่อการดำเนิน งานของกลุ่มผู้ใช้น้ำโครงการชลประทานสุรินทร์ โดยศึกษาในด้านต่างๆ ได้แก่ ด้านการบริหารจัดการน้ำ ด้านการประสานงานระหว่างหน่วยงานราชการกับเกษตรกรและด้านการใช้น้ำอยางประหยัดและเกิดประโยชน์สูงสุด จำแนก ตามจำนวนพื้นที่การเกษตรและตำแหน่งที่ตั้งพื้นที่การเกษตร กลุ่มตัวอย่าง คือ สมาชิกกลุ่มผู้ใช้น้ำโครงการชลประทานสุรินทร์ จำนวน 351 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลทำการวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้ คอมพิวเตอร์โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS มีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม เท่ากับ 0.94 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ One – Way ANOVA และเปรียบเทียบความแตกต่างเป็นรายคู่โดยวิธี Scheffe ผลการวิจัย พบว่า
ความคิดเห็นของสมาชิกกลุ่มผู้ใช้น้ำ ต่อการดำเนินงานของกลุ่มผู้ใช้น้ำโครงการชลประทานสุรินทร์ ทั้ง 3 ด้านส่วนใหญ่อยู่ในระดับปานกลางมีเพียงสมาชิกกลุ่มผู้ใช้น้ำมีส่วนบำรุงรักษาซ่อมแซมอาคารบังคับน้ำ การจัดกิจกรรม ให้สมาชิกทำร่วมกันเพื่อเสริมสร้างและพัฒนาความสามัคคี และการแนะนำให้สมาชิกกลุ่มผู้ใช้น้ำใช้เมล็ดพันธ์ ที่สมบูรณ์เพื่อเพิ่มผลผลิต มีความคิดเห็นอยู่ใน ระดับน้อย
เมื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของสมาชิกกลุ่มผู้ใช้น้ำต่อการดำเนินงานของกลุ่มผู้ใช้น้ำโครงการชลประทานสุรินทร์ในด้านการบริหารจัดการน้ำและด้านการใช้น้ำอย่างประหยัดและเกิดประโยชน์สูงสุด จำแนกตามจำนวน พื้นที่ การเกษตร พบว่าแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ .05
เมื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของสมาชิกกลุ่มผู้ใช้น้ำต่อการดำเนินงานของกลุ่มผู้ใช้น้ำโครงการ ชลประทานสุรินทร์ ในด้านการบริหารจัดการน้ำ ด้านการประสานงานระหว่าง หน่วยงานราชการกับเกษตรกร และ ด้านการใช้น้ำอย่างประหยัดและเกิดประโยชน์สูงสุด จำแนกตามตำแหน่ง ที่ตั้งพื้นที่การเกษตร พบว่ามีเพียง ด้านการประสานงานระหว่างหน่วยงานราชการกับเกษตรกรเท่านั้นที่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ .05


ABSTRACT
The aims of this research were to study and compare the opinions of water user members with towards the operation of the water user groups in Surin Irrigation Project by according to the following topics : water administration and management, the coordinative activities between the service unit and the agriculturists, and how to use the water in the most useful and safest way which was sorted by the number of the agricultural location and position. The sample were the people who were the members of water user group in Surin Irrigation Project 351 people. In this research, the questionnaire was the tool for collecting the information. The reliability of the questionnaire was 0.94 The statistics used for analyzing the information were frequency, the percentage, average, standard value, One - Way ANOVA, and Scheffe.
The opinions of the water uses were at moderate level in 3 topics except the members. Who participated in maintaining and repairing the water contract, organizing the members to work tag ether to enhance and develop the unity, and suggesting the members to use thepertec seeds to inenease the opinions towards the water management and the safe test and most useful way in using water classified accordingly to the farming area, there was a statistical significant different at .05 level.
After comparing the options towards the water management and the safe test and most useful way in using water classified accordingly to the farming area, there was a statistical signify cant different at .05 level.
After comparing the opinions towards the water management, the cooperation between government units and formers, and the safe test and most useful way in using water classified accordingly to the farming area, it the researcher found the .05 statistical significant different only the opinions towards the cooperation between governmental units and farmers.
คำสำคัญ : กลุ่มผู้ใช้น้ำ โครงการชลประทานสุรินทร์
Key words : Water user member group, Surin irrigation project

* นักศึกษาหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขารัฐประศาสนศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
** รองศาสตราจารย์สาขาวิจัยและพัฒนาท้องถิ่น คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
*** ผู้ช่วยศาสตราจารย์สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
จากการประชุมทางวิชาการ เสนอผลงานวิจัย ระดับบัณฑืตศึกษา ครั้งที่ 9
วันศุกร์ที่ 19 มกราคม 2550 ณ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
The 9th Symposium on Graduate Research, KKU. 19 January 2007

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น