A Strategic Management Model using the Balanced Scorecard for Colleges
in Southern Vocational Institution, Region 1 under the Office of
the Vocational Education Commission
เสริมศักดิ์ นิลวิลัย (Sermsak Nilwilai) *
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ (1) เพื่อสร้างรูปแบบการบริหารเชิงกลยุทธ์โดยใช้การประเมินผลเชิงดุลยภาพสำหรับสถานศึกษาในสถาบันการอาชีวศึกษา ภาคใต้ 1 สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาโดยการศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง (2) เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารเชิงกลยุทธ์โดยใช้การประเมินผลเชิงดุลยภาพสำหรับสถานศึกษาในสถาบันการอาชีวศึกษา ภาคใต้ 1 สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ ผู้บริหารและครูอาจารย์ จำนวน 261 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลคือแบบสอบถามเกี่ยวกับความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบฯ ที่ได้สร้างขึ้นมา ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และแบบสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ 10 ท่าน ทำการวิเคราะห์เนื้อหาจากการสัมภาษณ์ นำผลที่ได้มาพัฒนารูปแบบฯ และ (3) เพื่อศึกษาผลรูปแบบการบริหารเชิงกลยุทธ์โดยใช้การประเมินผลเชิงดุลยภาพสำหรับสถานศึกษาในสถาบันการอาชีวศึกษา ภาคใต้ 1 สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้บริหารและครูอาจารย์ จำนวน 120 คน เครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถามเกี่ยวกับผลของรูปแบบฯ ที่ได้พัฒนาขึ้นมา ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และแบบสัมภาษณ์กลุ่ม (Focus Group)จากกลุ่มตัวอย่างโดยใช้การสุ่มแบบบังเอิญ คือ ผู้บริหารและครูอาจารย์ จำนวน 52 คน ทำการวิเคราะห์เนื้อหาจากการสัมภาษณ์กลุ่ม
ผลการวิจัยพบว่า
รูปแบบการบริหารเชิงกลยุทธ์โดยใช้การประเมินผลเชิงดุลยภาพสำหรับสถานศึกษาในสถาบันการอาชีวศึกษาภาคใต้ 1 สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ คือ 1) การกำหนดกลยุทธ์ 2) การนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติ และ 3) การควบคุมและประเมินกลยุทธ์
ทั้งนี้การประเมินผลเชิงดุลยภาพเป็นส่วนที่ใช้ในการแปลงกลยุทธ์ไปสู่แผนปฏิบัติการโดยแบ่งเป็น 4 มุมมองได้แก่ มุมมองด้านการเงินและทรัพยากร มุมมองด้านการเรียนรู้และเติบโต มุมมองด้านกระบวนการภายใน และมุมมองด้านลูกค้า (ผู้เรียน) ตลอดจนใช้ในการควบคุมและประเมินกลยุทธ์ โดยมีปัจจัยสนับสนุนการใช้งานการประเมินผลเชิงดุลยภาพ ได้แก่ ผู้บริหารและบุคลากร การบริหารเชิงคุณภาพ การจูงใจ การติดต่อสื่อสาร และระบบสารสนเทศ
ABSTRACT
The purposes of the study were to 1) Construct a Strategic Management Model using the Balanced Scorecard for Colleges in Southern Vocational Institution, Region 1 under the Office of the Vocational Education Commission by reviewing research and related literature; 2) Develop the Strategic Management Model using the Balanced Scorecard for Colleges in Southern Vocational Institution, Region 1 under the Office of the Vocational Education Commission. The representative sample used under this step were consisted of 261 administrators and teachers using the questionnaire to survey the appropriateness and the suitability for practical implementation of the model elements. The collected data were analyzed to compute arithmetic means and standard deviations. In addition 10 professionals were interviewed to determine the model elements. The collected data were analyzed for content. All comments were considered in developing the model; 3) Study an effect of the Strategic Management Model using the Balanced Scorecard for Colleges in Southern Vocational Institution, Region 1 under the Office of the Vocational Education Commission. The representative sample used for this study were 120 administrators and teachers using the questionnaire; and also 52 administrators and teachers working in focus group activities, to determine the suitability and validity of the model criteria to be adapted. The collected data were analyzed to compute arithmetic means, standard deviations and content respectively.
The finding were as follows:
The appropriate model must consist of 3 components : 1) Strategic formulation 2) Strategic implementation and 3) Strategic evaluation and control.
The Balanced Scorecard is an appropriate tool to translate the strategies into an action plan form 4 perspectives : a) financial and resources perspective, b) learning and growth perspective, c) internal process perspective and d) customer (student) perspective. Others variables identified that have impact on successful implementation are a) administrators and staff, b) quality management, c) motivation, d) communication and e) information system.
* นักศึกษาระดับปริญญาเอก สาขาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
จากการประชุมทางวิชาการ เสนอผลงานวิจัย ระดับบัณฑืตศึกษา ครั้งที่ 9วันศุกร์ที่ 19 มกราคม 2550 ณ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
The 9th Symposium on Graduate Research, KKU. 19 January 2007
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น