++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันพฤหัสบดีที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2551

ผลของการเสริมสารสกัดสมุนไพรฟ้าทะลายโจร (Andrographis paniculata.) ในอาหาร ต่อสมรรถนะการเจริญเติบโต และภูมิคุ้มกันในไก่เนื้อ


ผลของการเสริมสารสกัดสมุนไพรฟ้าทะลายโจร (Andrographis paniculata.) ในอาหาร ต่อสมรรถนะการเจริญเติบโต และภูมิคุ้มกันในไก่เนื้อ
Effect of dietary supplementation of extracted creat (Andrographis paniculata)
product on growth performance and immune status of broilers.
กมลทิพย์ พิลาแดง (Kamontip Piladang)
ดร. สาโรช ค้าเจริญ (Dr. Sarote Khajarern)∗∗
ดร. บัณฑิตย์ เต็งเจริญกุล (Dr. Bundit Tengjaroenkul)∗∗∗
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มุ่งที่จะประเมินผลของการเสริมสารสกัดสมุนไพรฟ้าทะลายโจรในอาหาร ต่อสมรรถนะการผลิต และภูมิคุ้มกันในไก่เนื้อ ใช้ไก่เนื้อพันธุ์อาร์เบอร์ เอเคอร์ อายุ 1 วัน จำนวน 875 ตัว วางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ (CRD) โดยสุ่มไก่ออกเป็น 7 กลุ่มๆละ 5 ซ้ำ จำนวนซ้ำละ 25 ตัว แล้วสุ่มให้ได้รับอาหารสูตรใดสูตรหนึ่ง คือ สูตรอาหารพื้นฐานที่ได้รับการเสริมสารสกัดสมุนไพรฟ้าทะลายโจรที่ให้ระดับ andrographolide 0(NC), 5(A5), 10(A10), 15(A15), 20(A20) หรือ 25(A25) ppm. เปรียบเทียบกับการเสริมยาปฏิชีวนะคลอเทตราไซคลีน (AGP-CTC,20 %) ที่ระดับ 60 ppm. เมื่ออายุไก่ได้ 6 สัปดาห์ ไก่ทดลองทุกกลุ่มมีอัตราการเลี้ยงรอด 98.97% สูงกว่ามาตราฐานการเลี้ยงเป็นการค้า(>95%)แสดงว่าเลี้ยงภายใต้สภาพสุขอนามัยดีและมีภาวะการถูกคุกคามจากโรคต่ำจึงมีผลทำให้ ปริมาณอาหารที่กิน อัตราการเพิ่มน้ำหนักตัว และอัตราการแลกเนื้อของไก่เนื้อทุกกลุ่มมีค่าใกล้เคียงกัน (P>0.05) อย่างไรก็ตาม เมื่อเทียบกับกลุ่มที่เสริมCTC ไก่กลุ่ม A10 มีแนวโน้ม(P>0.05)ที่จะกินอาหารได้สูงกว่า(104.58%) เพิ่มน้ำหนักตัวได้สูงกว่า (104.17%) และมีอัตราการแลกเนื้อไม่แตกต่างกัน(1.84 vs 1.85) ถึงแม้ว่าการเพิ่มขึ้นของสมรรถนะการผลิตของไก่กลุ่มเสริม A10 ที่สูงกว่ากลุ่มCTC และกลุ่ม NC จะไม่มีนัยสำคัญทางสถิติเนื่องจากไก่ที่เลี้ยงภายใต้สภาพสุขอนามัยที่ดีปกติก็ตอบสนองต่อการเสริมAGPsน้อยอยู่แล้ว แต่ผลกระทบในเชิงเศรษฐกิจที่สามารถผลิตเนื้อเพิ่มขึ้น 70,000 ตันต่อปีมีความสำคัญต่อธุรกิจไก่เนื้อของประเทศอย่างชัดเจน ในด้านภูมิคุ้มกัน พบว่าระดับ HI-titer สำหรับโรคนิวคาสเซิลและโรคหลอดลมอักเสบติดต่อของไก่ทดลองแต่ละกลุ่มไม่แตกต่างกัน(P>0.05) ผลจากการทดลองนี้ สรุปได้ว่าระดับของสารสกัดฟ้าทะลายโจรที่เหมาะสมในการทดแทน AGP-CTC เสริมอาหารไก่เนื้อคือระดับที่ให้ andrographolide 10 ppm ของอาหาร โดยเฉพาะในการเลี้ยงไก่เนื้อเชิงปฏิบัติที่การจัดการด้านสุขอนามัยและความปลอดภัยทางชีวภาพอาจไม่ได้ตามมาตรฐานเสมอไป
คำสำคัญ : สารสกัดสมุนไพรฟ้าทะลายโจร สมรรถนะการผลิต ระดับภูมิคุ้มกัน Key words : andrographolide, productive performance, immunity



ABSTRACT
The study was aimed to evaluate the effect of dietary supplementation of extracted creat (Andrographis paniculata) product on growth performance and immune status of broilers. A total of 875 1-day-old Aber Acres chicks were used in a 7- treatments x 5 replications Completely Randomized Design (CRD) experiment with 25 chicks per experimental unit. Dietary treatments were : basal diet with supplemented creat-extracted andrographolide 0(NC), 5(A5), 10(A10), 15(A15), 20(A20) or 25(A25) ppm. or with AGP-CTC (15%) at 60 ppm. It was found that the survival rate of experimental chick was extremely high (98.97%) much higher than the commercial standard (>95%)and was not significantly different among treatments. This implied that the chicks were reared under excellent hygienic condition and thus naturally exhibited a low response to the added dietary AGPs. Consequently, feed intake, body weight gain and feed conversion ratio of all treatment groups were not significantly different(P>0.05) However, when compared to the CTC group, the broilers on A10 diet tended (P>0.05) to eat 4.58% more feed, gain 4.17% more body weight with the comparable feed/gain (1.84 vs 1.85). Although these advantages of the A10 broilers over the CTC control were not statistically significant, it could increase Thailand’s annual broiler yield by 70,000 tons and generate a substantial economic impact to broiler industry of the country. In term of immunostimulating effect, the results showed that ND and IB HI titer were not significantly changed (P>0.05) and were not significantly different among treatments. The results of the study suggested that andrographolide from the extracted creat product, at 10 ppm. of diet, could successfully replace chlortetracycline at 60 ppm. of broiler diet.
นักศึกษาหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสัตวศาสตร์ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
∗∗ รองศาสตราจารย์ ภาควิชาสัตวศาสตร์ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
∗∗∗ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
จากการประชุมทางวิชาการ เสนอผลงานวิจัย ระดับบัณฑืตศึกษา ครั้งที่ 9
วันศุกร์ที่ 19 มกราคม 2550 ณ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
The 9th Symposium on Graduate Research, KKU. 19 January 2007

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น