++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันอังคารที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2548

กระบวนการจัดการธุรกิจชุมชนประเภทเครื่องจักสาน ขององค์การบริหารส่วนตำบลธารปราสาท อำเภอโนนสูง จ.นครราชสีมา

โดย กิตติมา จอร์นส

บธ.ม. บริหารธุรกิจ มมส.2547

การพัฒนาประ เทศอย่างยั่งยืน ชุมชนระดับรากหญ้าต้องมีความเข้มแข็ง พึ่งพาตนเองได้ แนวทางหนึ่งในการพัฒนาคือ การรวมตัวกันเพื่อสร้างธุรกิจของตนเอง โดยก่อตั้งในรูปแบบธุรกิจชุมชน เพื่อพัฒนาแปรรูปผลผลิตของชุมชน ให้มีคุณภาพ ได้มาตรฐาน โดยใช้ทรัพยากร ผลผลิต ความรู้ ภูมิปัญญา ทุนทางวัฒนธรรมและทุนทางสังคมของชุมชน ซึ่งมีรัฐให้การสนับสนุนด้านความรู้ ผู้เชี่ยวชาญในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ และการตลาด อย่างไรก็ตาม การมุ่งส่งเสริมโดยรัฐแบบทุกพื้นที่ ทำให้มีสินค้าออกสู่ตลาดจำนวนมาก และมีลักษณะคล้ายกัน ทำให้กเดการแข่งขันกันเอง โดยเฉพาะเครื่องจักสาน ซึ่งไม่เป็นไปตามหลักธุรกิจชุมชนที่ต้องพัฒนาเป็นชุมชนเครือข่าย ร่วมกันเรียนรู้ ร่วมกันจัดการ ร่วมกันผลิต ร่วมกันบริโภค

การศึกษา ครั้งนี้ มีความมุ่งหมาย 4 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษากระบวนการจัดการธุรกิจชุมชนประเภทเครื่องจักสาน ของตำบลธารปราสาทอำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา 2) เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคของการจัดการธุรกิจประเภทเครื่องจักสาน ของตำบลธารปราสาท อำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา 3) เพื่อเสนอแนวทางในการพัฒนาการบริหารจัดการธุรกิจชุมชนประเภทเครื่องจักสานขอ งตำบลธารปราสาท อำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา และ 4) เพื่อเปรียบเทียบ ความคิดเห็นของสมาชิกกลุ่มต่อกระบวนการจัดการธุรกิจชุมชนประเภทเครื่องจักสา น ตำบลธารปราสาท อำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา ที่แตกต่างกันในเรื่องอายุ เพศ อาชีพหลัก สถานภาพในชุมชน โดยศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างคือ คณะกรรมการดำเนินงานจำนวน 15 คน สมาชิกกลุ่มผลิตเครื่องจักสาน จำนวน 30 คน การเก็บข้อมูลใช้วิธีสัมภาษณ์และใช้แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้ t-test และ F-test สำหรับการทดสอบสมมติฐาน ผลการศึกษาปรากฏดังนี้

1. คณะกรรมการดำเนินการธุรกิจชุมชน มีการปฏิบัติตามกระบวนการบริหารจัดการธุรกิจชุมชนประเภทเครื่องจักสาน โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่ามีการปฏิบัติด้านการจัดองค์การ อยู่ในระดับมาก และมีการปฏิบัติอีก 3 ด้าน ที่เหลืออยู่ในระดับปานกลาง คือ การนำ การควบคุม และการวางแผน

2. สมาชิกมีความคิดเห็นเกี่ยวกับการจัดการธุรกิจชุมชนโดยรวมและเป็นรายด้าน 3 ด้าน คือ ด้านสถานที่ ด้านภาพลักษณ์องค์กร และด้านคณะกรรมการอยู่ในระดับมาก และมีด้านประโยชน์ที่ได้รับ อยู่ในระดับปานกลาง

3.ปัญหาและอุปสรรคของกลุ่มธุรกิจชุมชนตำบลธารปรา สาท ได้แก่ ขาดความรู้ความเข้าใจในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ เนื่องจากพึ่งพาจากภาครัฐมากเกินไป วัตถุดิบและแรงงานขาดแคลนในบางฤดูกาล ขาดการบริหารการตลาดเชิงรุก จะผลิตตามคำสั่งซื้อ ไม่มีการกำหนดนโยบายการแข่งขัน ทำให้สินค้ามียอดจำหน่ายต่ำ

4. สมาชิกที่มีสถานภาพในชุมชนต่างกันมีความคิดเห็นเกี่ยวกับการจัดการธุรกิจชุม ชนเฉพาะด้านคณะกรรมการ และด้านภาพลักษณ์องค์การแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และสมาชิกที่มีอาชีพต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการจัดการธุรกิจชุมชนเฉพาะด้านสถานที่และด้านประโยชน์ที่ได ้รับ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 แต่สมาชิกที่มีความแตกต่างกันในเรื่องเพศ และอายุมีความคิดเห็นเกี่ยวกับการจัดการธุรกิจชุมชนโดยรวมและเป็นรายด้านไม่ แตกต่างกัน

5.แนวทางการพัฒนากระบวนการจัดการกลุ่มธุรกิจชุมชนตำบลธาร ปราสาท ควรเริ่มจากการวิเคราะห์วัฒนธรรมชุมชน นำสิ่งที่เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่น มาประยุกต์ให้สอดคล้องกับสภาวะเศรษฐกิจ การเมือง และสังคมภายนอก สร้างความรู้สึกการมีส่วนร่วมและการเป็นเจ้าของ โดยการระดมทุน ระดมคนจากสมาชิกในชุมชน แทนที่จะรอรับการช่วยเหลือจากที่อื่น สร้างจิตสำนึกให้มีพันธะผูกพันร่วมกัน อันจะเป็นทุนทางสังคมที่สามารถแปลงหรือเพิ่มมูลค่าเป็นทรัพย์สินที่ประมาณค่ าไม่ได้ คนรุ่นหลังสามารถนำไปปรับใช้ให้เหมาะสมต่อไป

โดยสรุป นอกจากกระบวนการจัดการมีความสำคัญแล้ว ยังต้องให้ความสำคัญต่อการตลาด จึงจะทำให้องค์กรมีความเข้มแข็ง มั่นคง และเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่อง สมาชิกควรนำไปเป็นแนวทาง ปรับปรุงแก้ไขวิธีการบริหารให้ดียิ่งขึ้น เพื่อให้เป็นองค์กรเป็นที่พึ่งของสมาชิกต่อไป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น