++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันอาทิตย์ที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

คุณมีความเครียดหรือไม่

คุณมีความเครียดหรือไม่
ถามตัวคุณเองว่ามีอาการเหล่านี้หรือไม่
‪#‎อาการแสดงทางร่างกาย‬
มึนงง ปวดตามกล้ามเนื้อ กัดฟัน ปวดศีรษะ แน่นท้อง เบื่ออาหาร นอนหลับยาก หัวใจเต้นเร็ว หูอื้อ มือเย็น อ่อนเพลีย ท้องร่วง ท้องผูก จุกท้อง มึนงง เสียงดังให้หู คลื่นไส้อาเจียน หายใจไม่อิ่ม ปวดท้อง
‪#‎อาการแสดงทางด้านจิตใจ‬
วิตกกังวล ตัดสินใจไม่ดี ขี้ลืม สมาธิสั้น ไม่มีความคิดริเริ่ม ความจำไม่ดี ไม่สามารถเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ
‪#‎อาการแสดงทางด้านอารมณ์‬
โกรธง่าย วิตกกังวล ร้องไห้ ซึมเศร้า ท้อแท้ หงุดหงิด ซึมเศร้า มองโลกในแง่ร้าย นอนไม่หลับ กัดเล็บหรือดึงผมตัวเอง
‪#‎อาการแสดงทางพฤติกรรม‬
รับประทานอาหารเก่ง ติดบุหรี่สุรา โผงผาง เปลี่ยนงานบ่อย แยกตัว
@ หากท่านมีอาการเครียดมาก และ แสดงออกทางร่างกายดังนี้
-อ่อนแรงไม่อยากจะทำอะไร
- มีอาการปวดตามตัว ปวดศีรษะ
-วิตกกังวล
- มีปัญหาเรื่องการนอน
-ไม่มีความสุขกับชีวิต
-เป็นโรคซึมเศร้า
ให้ท่านปฏิบัติตามคำแนะนำ 8 ประการ
1 ให้นอนเป็นเวลาและตื่นเป็นเวลา เวลาที่เหมาะสมสำหรับการนอนคือเวลา 22.00น.เมื่อภาวะเครียดมาก จะทำให้ความสามารถในการกำหนดเวลาของชีวิต( Body Clock )เสียไป ทำให้เกิดปัญหานอนไม่หลับหรือตื่นง่าย การกำหนดเวลาหลับและเวลาตื่นจะทำให้นาฬิกาชีวิตเริ่มทำงาน และเมื่อความเครียดลดลง ก็สามารถที่จะหลับได้เหมือนปกติ ในการปรับตัวใช้เวลาประมาณ 3 สัปดาห์ บางครั้งเมื่อไปนอนแล้วไม่หลับเป็นเวลา 45 นาที ให้หาหนังสือเบาๆมาอ่าน เมื่อง่วงก็ไปหลับ ข้อสำคัญอีกประการหนึ่งคือให้ร่างกายได้รับแสงแดดยามเช้า เพื่อส่งสัญญาณให้ร่างกายปรับเวลา
2 หากเกิดอาการดังกล่าวต้องจัดเวลาให้ร่างกายได้พัก เช่นอาจจะไปพักร้อน หรืออาจจะจัดวาระงาน งานที่ไม่สำคัญและไม่เร่งด่วนก็ให้หยุดไม่ต้องทำ
3 ให้เวลากับครอบครัวในวันหยุด อาจจะไปพักผ่อนหรือรับประทานอาหารนอนบ้าน
4 ให้เลื่อนการเปลี่ยนแปลงใหญ่ๆในช่วงนี้ เช่นการซื้อรถใหม่ การเปลี่ยนบ้านใหม่ การเปลี่ยนงาน เพราะการเปลี่ยนแปลงจะทำให้เกิดความเครียด
5 หากคุณเป็นคนที่ชอบทำงานหรือชอบเรียนให้ลดเวลาลงเหลือไม่เกิน 40 ชม.สัปดาห์
6 การรับประทานอาหารให้รับประทานผักให้มากเพราะจะทำให้สมองสร้าง serotoninเพิ่มสารตัวนี้จะช่วยลดความเครียด และควรจะได้รับวิตามินและเกลือแร่ในปริมาณที่เพียงพอ
7 หยุดยาคลายเครียด และยาแก้โรคซึมเศร้า
8 ให้ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และอาจจะมีการเต้นรำด้วยก็ดี
หากปฏิบัติตามวิธีดังกล่าวแล้วยังมีอาการของความเครียดให้ปรึกษาแพทย์
@ เมื่อใดต้องปรึกษาแพทย์
1 เมื่อคุณรู้สึกเหมือนคนหลงทางหาทางแก้ไขไม่เจอ
2 เมื่อคุณกังวลมากเกินกว่าเหตุและไม่สามารถควบคุม
3 เมื่ออาการของความเครียดมีผลต่อคุณภาพชีวิตเช่นการนอน การรับประทานอาหารงานที่ทำความสัมพันธ์ของคุณกับคนรอบข้าง
ที่มา http://www.siamhealth.net

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น