กรณีการชี้มูลความผิดของ ป.ป.ช. ที่มีต่อนักการเมือง 2 นาย
และนายตำรวจระดับสูง 2 นาย จากเหตุการณ์ 7 ตุลาคม 2551
จนทำให้มีผู้บาดเจ็บ ล้มตาย และต้องพิการไปชั่วชีวิตนั้น
เป็นเครื่องพิสูจน์ที่ดีประการหนึ่งว่า ผู้มีอำนาจ
และข้าราชการตำรวจไทยหลายท่าน ไม่เคยคิดที่จะเรียนรู้บทเรียนในอดีต
ไม่ว่าจะผ่านพ้นเหตุการณ์ต่างๆ มากี่ยุคกี่สมัย แต่ตำรวจชั่วๆ บางคน
ยังคงพิสมัยที่จะย่ำเท้าอยู่กับวงจรอุบาทว์ ลุแก่อำนาจ
และทำได้อยู่ประการเดียวคือ ปัดความผิดให้พ้นตัว
เมื่อถึงคราวที่ต้องรับผิดชอบ
บาดแผลจาก 7 ตุลาคม 2551 ที่เกิดขึ้นกับประเทศไทย ไม่ใช่กรณีแรก
แต่เป็นหนึ่งในหลายกรณีที่เกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำเล่า
และเกิดขึ้นจากสาเหตุเดิมๆ คือการกระทำอันเกินกว่าเหตุ
และละเมิดซึ่งหลักการอนุสัญญาระหว่างประเทศ และหลักสิทธิมนุษยชน
ตัวอย่างอันดี มีให้เห็นมาแล้วทั้งในเหตุการณ์ 20 ธันวาคม 2545
กรณีที่ พล.ต.อ.สันต์ ศรุตานนท์ อดีต ผบ.ตร.ออกคำสั่งสลายการชุมนุม
ของกลุ่มชาวบ้านผู้คัดค้านโครงการท่อส่งก๊าซและโรงแยกก๊าซธรรมชาติไทย
-มาเลเซีย อ.จะนะ จ.สงขลา
ซึ่งเป็นโครงการพัฒนาขนาดใหญ่ที่ส่งผลกระทบต่อชุมชน ผลคือ
ทำให้มีผู้บาดเจ็บและทรัพย์สินเสียหายจำนวนมาก เรื่องนี้ทำให้ชาวบ้าน
และกลุ่มสิทธิมนุษยชนพากันยื่นฟ้องร้องให้เอาผิดผู้มีอำนาจและผู้เกี่ยวข้อง
4 ปีให้หลัง ในวันที่ 1 มิถุนายน 2549 ศาลปกครองจังหวัดสงขลา
พิพากษาคดีดังกล่าว ระบุว่า สำนักงานตำรวจแห่งชาติ จำเลยที่ 1
ละเมิดสิทธิสลายการชุมนุมกลุ่มคัดค้านท่อก๊าซไทย-มาเลเซีย
โดยตอนหนึ่งของคำพิพากษาระบุว่า
"คำว่า เสรีภาพ
ในทางคดีปกครองจึงต้องหมายรวมถึงเสรีภาพตามกฎหมายมหาชนด้วย
เมื่อเสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธ
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540
ได้บัญญัติรับรองไว้ในมาตรา 44
จึงก่อให้เกิดหน้าที่แก่หน่วยงานของรัฐและเจ้าหน้าที่ของรัฐที่จะงดเว้นไม่
กระทำการใดอันเป็นการละเมิดเสรีภาพดังกล่าว
หากมีการกระทำการอันเป็นการละเมิดต่อเสรีภาพดังกล่าวก็เป็นอำนาจของศาลที่จะ
ให้ความคุ้มครอง มิฉะนั้นแล้วการที่รัฐธรรมนูญบัญญัติรับรองเสรีภาพไว้
ก็หาเกิดประโยชน์อันใดไม่
เมื่อคดีนี้ผู้ฟ้องคดีที่ 1 ถึงผู้ฟ้องคดีที่ 24
และกลุ่มผู้ชุมนุมตามที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540
ได้บัญญัติรับรองไว้
การที่เจ้าหน้าที่ตำรวจได้ใช้อำนาจตามที่กล่าวอ้างผลักดันให้มีการสลายการ
ชุมนุม อันเป็นการกระทำทางปกครองที่จำกัดเสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบหรือปราศจากอาวุธ
ของผู้ฟ้องคดีที่ 1 ถึงผู้ฟ้องคดีที่ 24
กับกลุ่มผู้ชุมนุมโดยไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญดังที่ได้วินิจฉัยไว้ข้างต้น
จึงเป็นการกระทำละเมิดต่อเสรีภาพในการชุมนุมด้วยการใช้อำนาจตามกฎหมาย
ทำให้ผู้ฟ้องคดีที่ 1 ถึงผู้ฟ้องคดีที่ 24
ได้รับความเสียหายโดยไม่อาจอยู่ชุมนุมต่อไป" (ไทยโพสต์, 2 มิย. 49)
(หมายเหตุ มาตรา 44 เรื่องเสรีภาพในการชุมนุมตามรัฐธรรมนูญปี
2544 ถูกนำมาใส่ในรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน มาตรา 63
เรื่องสิทธิในการชุมนุม)
ความวัวไม่ทันหาย ความควายก็มาสอด เมื่อคดีที่อำเภอจะนะ
ยังถูกวิพากษ์วิจารณ์จากสังคมไม่ทันลืม
ตำรวจและทหารไทยก็ตกเป้าให้สังคมได้ประณามอีกรอบจากกรณีการสลายการชุมนุมที่
หน้า สภ.อ. ตากใบ เมื่อ 25 ตุลาคม 2547 จนทำให้มีผู้เสียชีวิต 7 ราย
ถูกจับกุมอีกกว่าพันคน
และการจับกุมดังกล่าวยังกลายเป็นชนวนเหตุของการเสียชีวิตของชาวบ้านอีก 78
คนที่ถูกจับ และถูกขนส่งอย่างแออัดด้วยรถบรรทุกของทหารเพื่อมุ่งหน้าไปยังค่ายอิงคยุทธ
บริหาร จังหวัดปัตตานี คดีนี้รายงานของ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
ชุดที่มีคุณหญิงอัมพร มีสุข เป็นประธานระบุชัดว่า
"การดำเนินการของเจ้าหน้าที่ของรัฐในการควบคุมและการสลายการชุมนุม
เป็นการละเมิดศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิและเสรีภาพของผู้ชุมนุม
และผู้ที่ถูกควบคุมตัวหลังจากสลายการชุมนุมในส่วนที่เกี่ยวกับสิทธิและ
เสรีภาพในชีวิตและร่างกาย
เสรีภาพในการเดินทางและในการเลือกถิ่นที่อยู่ภายในราชอาณาจักรสิทธิในการรับ
บริการสาธารณสุขที่ได้มาตรฐาน ตามมาตร 4 มาตรา 36 มาตรา 48 และมาตรา 52
ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540
และกรณีนี้ยังเป็นการกระทำที่ขัดต่อปฏิญญาสากลและกติการะหว่างประเทศที่
ประเทศไทยเป็นภาคีอีกด้วย
กล่าวคือ เป็นการกระทำที่ขัดต่อข้อ 3 ข้อ 5 ข้อ 13 (1) ข้อ 17
ข้อ 21 (2) และข้อ 25 (1) ของปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (Universal
Declaration of Human Rights) ข้อ 6 ข้อ 7 ข้อ 9 ข้อ 10 ข้อ 12 และข้อ 21
ของกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง
(International Covenant on Civil and Political Rights) และข้อ 12
ของกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม
(International Covenant on Economic, Social and Cultural Rights)
คณะอนุกรรมการฯ
เห็นว่าหากได้มีการเตรียมพร้อมล่วงหน้าเพื่อเตรียมรับสถานการณ์และมี
การใช้เจ้าหน้าที่ที่มีทักษะในการปฏิบัติเฉพาะสำหรับการสลายการชุมนุม
น่าจะไม่มีผู้บาดเจ็บและผู้เสียชีวิต และเนื่องจากขาดการประสานงานที่ดี
อาทิ ได้ปิดเส้นทางสัญจรบางเส้น
เป็นเหตุให้ประชาชนที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องถูกบีบให้เดินทางผ่านเข้ามาใน
บริเวณที่มีการชุมนุม รวมทั้งได้ปิดกั้นเส้นทางออกจากบริเวณสถานที่ชุมนุม
จึงเป็นเหตุให้ผู้ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องไม่สามารถออกจากบริเวณที่ชุมนุมได้"
(มติชน, 26 กย. 2547)
ฉะนั้นการออกมาตั้งโต๊ะแถลงข่าวของเหล่าสมาคมสีกากีภายใต้การขับ
เคลื่อนของนายพลทั้งหลายที่ออกมาค่อนขอดว่า ต่อไปนี้ตำรวจจะทำอะไรต้องถาม
ป.ป.ช. แสดงให้เห็นถึงความไม่รู้ของท่านเหล่านี้อย่างน้อย 2 ประการคือ
1.ไม่รู้กรอบการทำงานของตนเองทั้งที่ดำรงตำแหน่งระดับบัญชาการกัน
ทั้งนั้น ทำให้เกิดความสงสัยว่าแล้วในอนาคตพวกท่านจะทำงานภายใต้กรอบกฎหมายต่อไปได้
อีกละหรือ ประชาชนจะไว้ใจได้อย่างไร ทางที่ดีที่สุด
ท่านเหล่านั้นควรจะเสียสละ ลาออกจากตำแหน่งไป
เพื่อเปิดทางให้ผู้ที่เขารอบรู้ในกรอบหน้าที่ของผู้พิทักษ์สันติราษฎร์
ทั้งตามหลักกฎหมายและหลักสากล ให้เข้ามาทำหน้าที่แทนท่านไม่ดีกว่าหรือ
เป็นการประหยัดทั้งงบประมาณชาติ และสร้างความมั่นใจให้กับประชาชนมากขึ้น
2. ป.ป.ช.เป็นองค์กรอิสระตามกฎหมาย
มีหน้าที่ตรวจสอบการทำงานของข้าราชการการเมืองและประจำตามที่กฎหมายกำหนดให้
อำนาจไว้ ไม่ได้มีหน้าที่คอยแนะนำใครทั้งสิ้น
ตัวอย่าง การแถลงนโยบายของรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
ที่หลีกเลี่ยงการปะทะเพราะหวั่นจะซ้ำรอยเหตุการณ์ 7 ตุลาคม
โดยปฏิเสธที่จะใช้กฎหมายพิเศษคุมม็อบเสื้อแดงในช่วงปลายปีที่แล้ว
หรือแม้แต่การปฏิเสธที่จะดึงดันแถลงนโยบายให้ได้
แต่ใช้วิธีย้ายสถานที่ไปยังกระทรวงการต่างประเทศแทน
ถือเป็นเรื่องที่ต้องชื่นชม
เพราะอย่างน้อยตัวอย่างที่คุณอภิสิทธิ์ทำในวันนั้น
ก็ช่วยทำให้ประชาชนแยกออกได้ว่า
การตัดสินใจของคนระดับผู้นำกับฆาตกรแตกต่างกันอย่างไร
http://www.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9520000105247
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น