"ถ้าพูดถึงความฝัน ...ทุกคนก็พูดกันบ่อย
แต่การที่ทำฝันให้เกิดเป็นรูปธรรมไม่ใช่เรื่องง่าย ดังนั้น
เมื่อมีโอกาสที่จะเป็นนักเขียนก็ต้องรีบคว้าไว้ หน้ากระดาษว่างอยู่แล้ว
รอให้เรามาแต่งเติมเท่านั้นเอง
ส่วนตัวผมแค่ได้เขียนงานผมก็มีความสุขแล้ว"
และนี่คือ คำพูดจากใจ ของ "เสฎฐวุฒิ อุดาการ"นก เรียนชั้น ม. 5
โรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย หนึ่งในเยาวชนจากจังหวัดเชียงใหม่
ที่เดินตามฝัน ร่วมสมัครเข้าโครงการ "i book TK Young Writer Academy
2009 (ปี 2)" เป็นปีที่ 2 อย่างต่อเนื่อง เพื่อต้องการจะฝึก
และพัฒนาฝีมือตัวเอง เพื่อก้าวสู่เส้นทางนักเขียนมืออาชีพตามรอยบรรพบุรุษ
อย่าง อ. อุดาการ
ล่าสุดเมื่อวันเสาร์ที่ 5-6 กันยายน 2552ที่ผ่านมา
ภาคกิจกรรมระหว่างโครงการ "i book TK Young Writer Academy 2009 (ปี 2)"
เพิ่ง จะนำเหล่าเยาวชน 30 คน ขุนพลปลายปากกาที่ผ่านเข้ารอบ 2
ไปหาแรงบันดาลใจ เพื่ออบรมและประกวดเฟ้นหาตัวนักเขียนหน้าใหม่ณ
สวนศิลป์บ้านดิน จังหวัดราชบุรี
ดร.ทัศนัย วงษ์พิเศษกุล ผู้อำนวยการสำนักงานอุทยานการเรียนรู้
กล่าวว่า โครงการดังกล่าวว่าเป็นโครงการต่อยอดความฝันเยาวชน คนรุ่นใหม่
ที่มีทั้งไฟ และมีฝัน ในการเริ่มต้นเป็นนักเขียนที่ดี
ซึ่งมีหลายองค์กรร่วมสานฝันเยาวชน
ซึ่งปีนี้เป็นการประกวดผลงานเขียน ประเภท "ชีวประวัติบุคคล"
เพื่อเปิดโอกาสให้เยาวชนที่มีอายุระหว่าง 16-25 ปี
รักการเขียนได้มีโอกาสสร้างสรรค์ผลงานของตนเอง
และพัฒนาไปสู่เส้นทางของนักเขียนมืออาชีพ โดยผลงานที่ได้รับการคัดเลือก
จำนวน 10 ผลงานจากเยาวชนที่ผ่านเข้าสู่รอบสุดท้าย 10 คน
จะได้รับการตีพิมพ์เพื่อจำหน่ายสู่สาธารณชน พร้อมรับเงินรางวัลรวมมูลค่า
250,000 บาท" และ ภายใน เดือนธันวาคมนี้ จะมีการตัดสินรางวัล "i book TK
Young Writer Academy 2009 (ปี 2)"
ดร.ทัศ นัย กล่าวต่อว่า "สำหรับกิจกรรมค่าย
เวิร์คช็อปงานเขียนชีวประวัติบุคคล ครั้งที่ 1 ที่เพิ่งจัดขึ้น
ทุกคนจะได้รับโจทย์ให้เขียนผลงาน จาก คนต้นเรื่อง 3 คน ประกอบด้วย
อาจารย์มานพ มีจำรัส ศิลปินเจ้าของรางวัลศิลปาธร สาขาศิลปะการแสดง
คุณอุ้ม สิริยากร พุกกะเวส นักแสดงชื่อดัง และ คุณกอล์ฟ
"สิงห์เหนือเสือใต้" นักร้องแรฟขวัญใจวัยรุ่น ซึ่งทั้ง 3 ท่าน
เพื่อคัดจาก 30 คน เหลือ 10 คนสุดท้ายด้วย
ครูนาย มานพ มีจำรัส ศิลปินเจ้าของรางวัลศิลปาธร
สาขาศิลปะการแสดงบอกรู้สึภาคภูมิใจ ที่มีคนเห็นคุณค่า
และเห็นแนวคิดในการดำเนินชีวิตที่ผ่านมาของเรามีประโยชน์
โครงการนี้เป็นโครงการที่ยาก
และท้าทายมากกับการที่ให้เด็กมีสมาธิกับการเขียน
แต่ถ้าเด็กที่อยู่กับการอ่าน และการเขียน สมองเขาจะละเอียดขึ้น
และทำให้เรารู้จักเลือก คิด และวิเคราะห์เรื่องต่างๆ ได้ดี
" ผมคิดว่าการเขียนสำคัญมากๆ เพราะเราต้องซื่อสัตย์กับตัวเอง
มีคุณธรรมมากที่สุด และต้องให้คนอ่านสนุก แต่ผมว่าสิ่งสำคัญที่สุด คือ
แค่น้องๆ ได้สนุกกับการเดินทางตามฝัน เป็นสิ่งที่ประเสริฐสุดแล้วครับ"
ส่วนด้าน "อุ้ม สิริยากร พุกกะเวส" นักแสดงมากความสามารถ
บอกรู้สึกยินดีที่ได้ถ่ายทอดแนวทางในการดำเนินชีวิตว่ากว่าจะเป็น พี่อุ้ม
สิริยากร ทุกวันนี้ อุ้มต้องเรียนรู้จากคนอื่นมากมาย แต่วันนี้น้องๆ
ได้มีโอกาสเก็บเกี่ยวประสบการณ์ชีวิตจากอุ้มโดยตรง
ซึ่งถือเป็นการเพิ่มต้นทุนชีวิตของน้องๆ ด้วย
สำหรับ ผลงานที่น้องๆ กำลังจะเขียนเพื่อส่งประกวด อุ้มอยากอ่าน
และอยากรู้ว่า สิ่งที่พี่อุ้มถ่ายทอด และสิ่งที่น้องได้ยินนั้น น้องๆ
จะถ่ายทอดออกมาเป็นตัวหนังสืออย่างไร ส่วนกิจกรรมที่น้องๆ
มีโอกาสตีพิมพ์ผลงานของตัวเอง
ก็นับเป็นโอกาสของคนรุ่นใหม่ที่เปิดกว้างกว่าสมัยก่อนมากเลยทีเดียว"
ส่วนอีกหนึ่งคนต้นเรื่อง อย่าง "กอล์ฟ สิงเหนือเสือใต้"
นักร้องแร็พ วัยรุ่น ที่น้อยคนจะรู้จักตัวตนของเขา
บอกตนเคยทำอาชีพเป็นนักเขียนมาก่อน รู้ดีว่าอาชีพนี้
ถ้าไม่รักจริงทำให้ดีนั้นยากมาก เพราะต้องทุ่มเท แรงกาย แรงใจ
รวมถึงเวลาเยอะมาก ซึ่งผลตอบแทนก็ไม่ได้มากมาย
ดังนั้นผู้ที่จะประสบความสำเร็จกับอาชีพนักเขียน ต้องอาศัยใจรัก
ความมุ่งมั่น และพลังแห่งการสร้างสรรค์ ซึ่ง เวทีนี้ก็มีให้ทั้งการประกวด
และการอบรมทำให้มีโอกาสได้ทดลองเขียนงานจริง
ผมว่าวงการหนังสือบ้านเรายังต้องการนักเขียนรุ่นใหม่อีกมากมาย
ถ้ารักอาชีพนี้ ให้สู้ต่อไปครับ"
ส่วนด้านบรรดาตัวแทนเยาวชนจะเลือกสัมภาษณ์ชีวประวัติขอคนต้นเรื่องคนไหนกันบ้าง
ด้วยเหตุผลใด เราลองไปติดตามกัน
"วิชญ์พล พลพิทักษ์ชัย" หรือ "เฮง" นิสิตชั้นปีที่ 4
สาขาวรรณกรรมเด็ก มหาวิทยาลัยศรีนครินทร วิโรฒ
เฮงบอกการเขียนชีวประวัติข้อมูลคนนั้น กว่าจะเขียนได้ข้อมูลจะต้องลึก
และแน่นมาก ถ้าตนได้มีโอกาสสัมภาษณ์ชีวประวัติสักคนหนึ่ง ก็อยากสัมภาษณ์
พี่โหน่ง วงศ์ทนง ชัยณรงค์สิงห์ เพราะเขาเป็นคนแรกๆ
ที่ทำให้ผมสนใจอ่านหนังสือ "ชื่น ชอบผลงานพี่โหน่งมากครับ
ถึงแม้พี่โหน่งจะเขียนงานน้อย แต่สิ่งที่พี่โหน่งเขียนนั้นดี
เป็นประโยชน์ และเท่มากๆ เลย
ถ้ามีโอกาสได้เขียนเรื่องของพี่เขาสักครั้งผมคิดว่าผมคงได้ถ่ายทอดได้ดี
กว่า"
มาถึงน้อง "ชญานิน ฟุ้งสถาพร"หรือ "จริง"
นิสิตคณะแพทยศาสตร์ชั้นปีที่ 2 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ด้านว่าที่คุณหมอจริงนั้นแม้จะมีโอกาสตีพิมพ์งานเขียนของตัวเองมาแล้วครั้ง
หนึ่ง จากประสบการณ์ที่ได้รับจากทุน AFS
แต่ก็หวังที่จะมีผลงานเขียนต่อไปเรื่อยๆ
จริงบอกต่ออีกว่าต้องการจะเก็บเกี่ยวประสบการณ์ด้านงานเขียน
และฝึกทักษะเพิ่มเติม และถ้ามีโอกาสสัมภาษณ์ชีวประวัติ จริงอยากสัมภาษณ์
คุณบัณฑิต อึ้งรังษี เพราะคุณบัณฑิตป็นคนที่มีความฝัน
และสามารถทำให้สำเร็จได้
เขาพิสูจน์ให้เห็นว่าถึงแม้ไทยเป็นประเทศโลกที่สามก็ตาม แต่
คนไทยก็มีบุคลากรที่มีความรู้ ความสามารถ
"เมื่อ ก่อนเราคิดว่าการที่จะเป็นที่รู้จักในระดับโลกนั้นเป็นสิ่งที่ยาก
และไกลตัวมาก แต่คุณบัณฑิตทำให้คนไทยด้วยกันเองรู้ว่า คนไทยเก่ง
สามารถเป็นที่รู้จัก และยอมรับในระดับโลกได้เช่นกัน
จริงอยากสัมภาษณ์ถึงแนวคิด ที่ทำให้เขาประสบความสำเร็จ
คิดว่าน่าจะเป็นผลงานที่มีค่า และเป็นประโยชน์ต่อคนอ่านค่ะ"
ถัดมาที่อีกหนึ่งนิสิตจุฬาอย่าง "ต้นกล้า จักรเพชร วรสินธิ์"นิสิต
ชั้นปีที่ 3 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ต้นกล้าบอกว่าตนชอบอ่านหนังสือเยอะ
อ่านแล้วก็อยากเขียนบ้าง และอยากหาประสบการณ์
จึงเปิดโอกาสให้ตนเองได้ฝึกทักษะกับโครงการเรา
มีการบ้านให้ฝึกเขียนโดยสัมภาษณ์บุคคลที่เราสนใจ
เมื่อได้สัมภาษณ์ทำให้เราเรียนรู้ประสบการณ์ตรงจากเขา
ทำให้ได้เกร็ดความรู้ปรับใช้ในการดำเนินชีวิต
"การ เขียนชีวประวัติ เราต้องให้เกียรติผู้ที่เราเขียนถึงด้วย
กิจกรรมนี้ เป็นการฝึกสอนให้เรารู้จักการแบ่งเวลามากยิ่งขึ้น
ถ้าเวลาว่างอ่านหนังสือ และการหาข้อมูลผู้ที่เราจะเขียนงาน
ส่วนเป้าหมายสูงสุด คือ การเขียนงานเป็นและอยากเขียนชีวประวัติของคนเล็กๆ
ของปราชญ์ชาวบ้าน คนเล็กๆ ในสังคม
ที่ทำสิ่งที่ยิ่งใหญ่และเป็นประโยชน์กับคนไทยในประเทศครับ"
ด้าน ดร. พจนา ธูปแก้ว อาจารย์คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หนึ่งในวิทยากร ที่มาร่วมถ่ายทอดความรู้
เพื่อสร้างนักเขียนคน รุ่นใหม่ ในโครงการ "i book TK Young Writer
Academy 2009 (ปี 2)" กล่าวว่า "โครงการ
นี้ถือเป็นเวทีสำหรับผู้รักงานเขียนได้แสดงผลงาน โดยเฉพาะการแข่งขัน
ควบคู่กับการอบรมจะเป็นประโยชน์สำหรับผู้เข้าร่วม
ผมมั่นใจว่าเป็นเวทีจะช่วยสร้างนักเขียนหน้าใหม่ให้เกิดขึ้นในวงการนักเขียน
บ้านเรามากขึ้น การที่เราเพาะพันธุ์คนรุ่นใหม่ที่ผลิตผลงานเขียน
และเป็นแบบอย่างที่ดีกับเยาวชนคนอื่นๆ
ถือเป็นกิจกรรมส่งสริมการเรียนรู้ที่ดี ผมคิดว่าโครงการนี้
ได้ทำประโยชน์ให้กับเยาวชน และสังคม
ขอสนับสนุนให้มีโครงการแบบนี้ต่อเนื่องครับ"...
http://www.manager.co.th/Campus/ViewNews.aspx?NewsID=9520000104414
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น