++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันพฤหัสบดีที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2552

วธ.เดินหน้ากลยุทธ์ธรรมะ-ศิลปะลดความรุนแรงในเด็ก

วธ.เดินหน้ากลยุทธ์ธรรมะ-ศิลปะลดความรุนแรงในเด็ก
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์


วธ.เผยใช้ธรรมมะ -ศิลปวัฒนธรรมลดความรุนแรงในเด็ก จับมือ
มธบ.-กศน.เดินหน้าโครงการศิลปวัฒนธรรมสัญจรให้นักเรียนศูนย์ศึกษาพระพุทธ
ศาสนาวันอาทิตย์ ถ่ายทอดความรู้ ความดี และความเป็นไทยครบถ้วน
ชี้จัดต่อเนื่องจะช่วยแก้ปัญหาระยะยาว

นายอภินันท์ โปษยานนท์ รองปลัดกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) กล่าวว่า
จากผลวิจัยเชิงสำรวจของเอแบคโพลล์ เรื่อง
สถานการณ์การใช้ความรุนแรงในกลุ่มเด็กและเยาวชน ที่มีอายุ 12-24 ปี
ในเขตกทม. ระหว่างวันที่ 10-17 ก.พ.ที่ผ่านมา ระบุชัดเจนว่า
ปัจจัยสำคัญอันดับแรกที่มีผลต่อการใช้ความรุนแรงในกลุ่มเด็กและเยาวชนมากที่
สุด คือ การใช้สารเสพติดประเภทต่างๆ ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
ติดเกมออนไลน์ เห็นการใช้อาวุธทำร้ายกันในรายการโทรทัศน์
การทำผิดกฎหมายของคนในชุมชนที่พักอาศัย
การเห็นภาพคุกคามทางเพศในรายการโทรทัศน์ และการมีปัญหาครอบครัวตามลำดับ
ดังนั้นจึงมีโครงการศิลปวัฒนธรรมสัญจรที่วัดราชาธิวาสวิหารขึ้น
เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการแก้ปัญหาเด็กและเยาวชนที่มีพฤติกรรมไม่เหมาะสม

"กิจกรรมในโครงการเป็นการบูรณาการร่วมกันของหน่วยงานภายในและ
นอกกระทรวงวัฒนธรรม ประกอบด้วย การบรรยายธรรมะบันเทิงจากนักพูดชื่อดัง
อาจารย์สุรวงศ์ วัฒนกูล การแสดงพื้นบ้านจากสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์
การแสดงร่วมสมัยจากมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ (มธบ.) การวาดภาพเหมือน
ตลาดนัดศิลปะจากสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย
การสาธิตและฝึกอบรมมารยาทไทย
กิจกรรมหมอภาษาจากสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ
การสาธิตศิลปหัตถกรรม
ขนมพื้นบ้านจากศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนกาญจนาภิเษกหรือวิทยาลัยในวัง
โดยแบ่งการเรียนรู้เป็นแต่ละฐาน
หวังให้เด็กและเยาวชนที่เข้าร่วมตะหนักถึงคุณค่าของหลักธรรมทางศาสนา
ขนบธรรมเนียมประเพณีไปใช้ในชีวิตประจำวัน ปลูกฝังให้มีความรู้ มีคุณธรรม
และมีความเป็นไทย เป็นคนดีของสังคม" รองปลัด วธ.กล่าว

ด้าน พระครูปลัดสมใจ อุทโย
ผู้ช่วยเลขานุการศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ วัดราชาธิวาสวิหาร
กล่าวว่า รู้สึกยินดีที่เห็น
วธ.ให้ความสำคัญต่อการแก้ปัญหาความรุนแรงในเด็กด้วยการจัดกิจกรรมปลูกฝัง
ความดี ความรู้ และความเป็นไทยให้เด็กได้อย่างครบถ้วน
มีเด็กและผู้ปกครองสนใจเข้าร่วมเป็นจำนวนมาก
จากการสอบถามนักเรียนพบว่าทุกคนมีความสุข
กระตือรือล้นในการเรียนรู้แต่ละฐานมาก มีความนอบน้อม มีสัมมาคารวะ
รู้จักการไหว้ รู้จักรากเหง้าของตัวเองผ่านการทำขนมไทยแบบโบราณ
มีสุนทรียะทางจิตใจด้วยการวาดรูปศิลปะ
เหล่านี้จะช่วยหล่อหลอมให้เด็กมีจิตใจอ่อนโยน ไม่ใช่ความรุนแรง ดังนั้น
วธ.ควรจัดโครงการศิลปวัฒนธรรมสัญจรไปตามสถานศึกษา ชุมชนต่างๆ
อย่างต่อเนื่อง จะช่วยแก้ปัญหาสังคมในระยะยาว

http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9520000068391

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น