++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันศุกร์ที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2552

อ่านสร้างแรงบันดาลใจ/สรวงมณฑ์ สิทธิสมาน

โดย สรวงมณฑ์ สิทธิสมาน


นึก ขึ้นได้ว่ามีเรื่องติดค้างที่ตั้งใจจะเขียนผ่านคอลัมน์นี้ตั้งแต่เดือนที่
แล้ว แต่ก็มีเรื่องอื่นๆ เข้ามาแทรกหลายต่อหลายครั้ง
จนเกือบลืมเรื่องนี้ไปซะแล้ว

แต่เนื้อหาไม่เก่าเลยค่ะ


เรื่องที่ว่าก็คือ
งานเสวนาที่ใช้คำขวัญของงานวันหนังสือเด็กแห่งชาติปี 2552 เป็นชื่อหัวข้อ
นั่นก็คือ "อ่านหนังสือหลากหลายชนิด เพิ่มสีสันให้ชีวิตงด

งาม"

ผู้เข้าร่วมการเสวนาในวันนั้น ได้แก่ คุณรสนา โตสิตระกูล
สมาชิกวุฒิสภา จากกรุงเทพมหานคร, รศ.เกริก ยุ้นพันธ์
อาจารย์ประจำสาขาวิชา

วรรณกรรมสำหรับเด็ก มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ และคุณเรืองศักดิ์
ปิ่นประทีป ผู้จัดการมูลนิธิหนังสือเพื่อเด็ก
โดยมีดิฉันรับหน้าที่เป็นผู้ดำเนินรายการ

ซึ่งแต่ละท่านได้แสดงทัศนคติและความคิดเห็นต่อการอ่านไว้อย่างน่าสนใจ
ที่สำคัญแต่ละท่านได้รับแรงบันดาลใจจากการอ่าน และนำไปสู่มุมของการใช้

ชีวิตในบางด้านที่น่าสนใจ

เริ่มจาก คุณรสนา ให้ข้อคิดของการอ่านหนังสือที่หลากหลายว่า

"ทำ ให้เรามีความคิดที่กว้างขวาง มีความเข้าใจที่กว้างไกล
และหนังสือไม่เพียงจะทำให้ชีวิตงดงามเท่านั้น
แต่ยังสามารถทำให้ชีวิตของคนๆ หนึ่ง

เปลี่ยนแปลงได้อย่างมากมาย"

แรงบันดาลใจที่ทำให้คุณรสนา หันมาสนใจเรื่องราวเกี่ยวกับธรรมะ
เนื่องเพราะเห็นคำสั้นๆ จากหนังสือของท่านพุทธทาส "ตัวกู ของกู"
ทำให้เกิดความ

สงสัยใคร่รู้ จนต้องค้นหาคำตอบและได้พบกับเส้นทางสายใหม่ นั่นก็คือ
พระพุทธศาสนา ที่ทำให้ได้พบคุณค่าในชีวิต
ที่ทำให้เธอสามารถพัฒนาตัวเองมาจน

ถึงทุกวันนี้

ไม่เพียงเท่านั้นค่ะ ในบทบาทของความเป็นแม่ของคุณรสนา
เธอก็ตอกย้ำชัดเจนว่าพ่อแม่มีส่วนสำคัญอย่างมากที่จะช่วยปลูกฝังนิสัยรักการ
อ่านให้กับ

ลูกได้โดยเล่าจากประสบการณ์ตัวเองว่า

"ตอนแรกก็จะเริ่มอ่านให้ลูกฟังก่อน
พอเขาเริ่มรู้เรื่องแล้วก็เริ่มจะเอาหนังสือภาพให้เขาดู
เขาจะพลิกดูเองของเขาไปเรื่อยๆ แต่ตอนที่เขาอ่านไม่ได้เขา

ก็จะให้เราอ่านให้ฟัง โดยเขาจะเป็นคนหยิบหนังสือเลือกมาให้อ่าน
บางทีเขาก็พยายามเลียนแบบเนื้อหาที่ปรากฏอยู่ในหนังสือก็เพื่อจำให้ได้
เรื่องไหนที่ชอบ

เขาจะให้อ่านซ้ำไปซ้ำมา แม้จะเบื่อก็ต้องอ่าน
เพื่อปลูกฝังนิสัยรักการอ่านให้เขาค่ะ"

ในขณะที่คุณเรืองศักดิ์
ได้พูดคุยถึงมิติที่ว่าเมื่อหนังสือมีอิทธิพลต่อชีวิตของคนๆ หนึ่งได้
ก็ทำให้เกิดความสงสัยขึ้นว่า แล้วหนังสือที่ไม่ดีจะส่งผลให้

ชีวิตเราไม่ดีตามไปด้วยหรือไม่

"มัน อยู่ที่ภาวะของคน พี่เชื่อว่าคนรู้ว่าอะไรดีไม่ดี
แต่บางภาวะคนอยากไปอ่านอะไรที่บ้าๆ บอๆ
เพื่อสร้างความครึกครื้นชุ่มชื่นให้กับหัวใจ เราจึงต้อง

รู้จักคัดกรองเองว่าสิ่งไหนที่ดี สิ่งไหนไม่ดี
เหมือนการ์ตูนสำหรับเด็กที่ผู้ใหญ่มองว่าไร้สาระ แต่จริงๆ
แล้วในการ์ตูนมันมีอะไรดีเยอะมาก ซึ่งเราไม่ควรไปดูถูก

สติปัญญาของเด็ก เพราะเขาจะรู้ได้เองว่าตัวละครไหนที่ดีหรือไม่ดี
เพราะมีผลแสดงให้เห็น แล้วเขาก็จะชั่งน้ำหนักเองว่าเขาจะเดินตามทางของใคร
ไม่มี

หนังสือเล่มไหนฉุดเราลงเหว แต่มันจะมีหนังสือที่จะบอกกับเราว่าเหวคืออะไร
พื้นดินคืออะไร แล้วนรกสวรรค์คืออะไร"

คุณเรืองศักดิ์ ได้แนะนำพ่อแม่ว่า
"เวลาเราสอนอะไรลูกมักจะค่อนไปทางบ่นก่นด่า
แต่ถ้าเราหันมาใช้ตัวละครที่สนุกๆ เด็กก็จะซึมซับรับเอาไว้ ถ้าอยาก

ให้ลูกเป็นอย่างไรลองเลือกหนังสืออย่างนั้นให้กับลูก
อย่างเรื่องราชสีห์กับหนู มันเป็นความสมดุลของการใช้ชีวิต
เป็นการใช้ชีวิตของคนในสังคมที่มันต้อง

สร้างให้เกิด คนตัวใหญ่ต้องให้อภัยคนตัวเล็ก
แล้วคนตัวเล็กต้องตอบแทนคนตัวใหญ่เท่าที่เรามีพละกำลังที่จะตอบแทนได้
แล้วที่สำคัญคือการอยู่อย่างไม่

เบียดเบียนกัน รู้จักให้อภัยซึ่งกันและกัน
ซึ่งพ่อแม่สามารถใช้ตัวละครเหล่านี้ในการสอนลูกได้"

ทางด้าน รศ.เกริก ก็ได้มาบอกเล่าถึงประสบการณ์ ว่า
อิทธิพลของหนังสือที่มีต่อตัวเอง
และลักษณะการอ่านของครูเกริกจะมีการเปลี่ยนแปลงไปตามวัย

แต่หนังสือเล่มที่ทำให้ครูเกริกค้นพบเส้นทางของตัวเองและสามารถก้าวต่อไป
อย่างมั่นคงคือหนังสือเรื่อง "ปีกปริศนา" ของคุณจิระนันท์ พิตรปรีชา
ที่แปล

มาจากเรื่อง The Soul Bird ของ Michael Snunit
ซึ่งเป็นหนังสือที่ใช้ภาพในการดำเนินเรื่อง
บอกเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับลิ้นชักความรู้สึกในหัวใจที่มีมากมาย

อยู่ที่ว่าเราจะเลือกใช้ลิ้นชักไหนในสถานการณ์ใด
และนอกจากนี้ครูเกริกยังได้ให้ข้อคิดดีๆ อีกว่า

"นาฬิกา ชีวิตของเราเนี่ยมันเปลี่ยนทุกขณะเวลาอย่างรวดเร็ว
แต่หนังสือทำให้คนช้าลง เพราะหนังสือจะเป็นตัวฉุดให้นาฬิกาชีวิตสมดุลขึ้น
ผมก็

เลยอยากให้ย้อนกลับมาอ่านหนังสือ"

อ.เกริก ยังได้ฝากเรื่องการอ่านไว้กับผู้ใหญ่ ว่า
"วัฒนธรรมของคนไทยนิยมฟังมากกว่าอ่าน
ซึ่งมันเกิดจากผู้ใหญ่ไม่อ่านให้เห็นเป็นตัวอย่าง เด็กก็เลย

ไม่ทำตาม ดังนั้นเราจะต้องทำให้เห็นเป็นตัวอย่างที่ดีก่อน
มีคำกล่าวคำหนึ่งว่า
ถ้าชาติใดเมืองใดให้ความสำคัญกับการอ่านและการเล่านิทานให้เด็กฟัง ชาติ

นั้นเมืองนั้นก็จะเจริญในแง่ของเศรษฐกิจ วัฒนธรรม การเมือง
สังคมและวัฒนธรรม
เพราะการอ่านคือการเติมเต็มแล้วก็พัฒนาในเรื่องของการดำรงชีวิต และ

ก็สอนในเรื่องคุณธรรมและจริยธรรม"
และยังได้ฝากถึงครูทั่วประเทศให้ทุ่มเทและส่งเสริมการอ่านให้กับเด็กด้วย
หัวใจอีกด้วย

ดิฉันเชื่อว่า ทุกคนเคยมีหนังสือเล่มโปรดของตัวเอง
ดิฉันก็มีเหมือนกัน เพียงแต่หนังสือเล่มโปรดเล่มนั้นเมื่ออ่านในวัยเด็ก
วัยรุ่น วัยผู้ใหญ่ หรือวัยที่ตัว

เองเป็นแม่ มุมในการอ่านหนังสือเล่มโปรดเล่มเดิมก็มีมุมที่แปลกแตกต่างกันออกไป
อยู่ที่ประสบการณ์ในการอ่าน และการใช้ชีวิต รวมถึงเข้าใจชีวิตมากขึ้น

ก็ทำให้อรรถรสของการอ่านเปลี่ยนไปด้วย

การมีทัศนคติที่ดีต่อการอ่าน สามารถสร้างได้ตั้งแต่ในวัยเด็ก
ผู้ใหญ่มีส่วนสำคัญที่จะช่วยเสริมสร้างและปลูกฝังนิสัยรักการอ่านให้แก่เด็ก
และเยาวชน

โดยเฉพาะพ่อแม่ ผู้เป็นคนนำหนังสือสู่ลูก
เป็นส่วนสำคัญที่สุดที่จะสร้างโลกการอ่านให้กับลูกได้
รวมถึงการเปิดโอกาสให้เด็กได้เลือกอ่านหนังสือที่หลาก

หลายเพื่อให้เด็กค้นหา ว่าหนังสือแบบใดที่เหมาะกับตัวเอง
ไม่ใช่ตัดสินให้ลูกว่าลูกควรจะเหมาะกับหนังสือประเภทใด
หรือควรจะให้ลูกอ่านในแบบที่เราต้อง

การเท่านั้น

หนังสือดีๆ ทำให้เราเปลี่ยนมุมมอง
บางคนถึงกับเปลี่ยนชีวิตก็เพราะได้รับอิทธิพลจากหนังสือเล่มใดเล่มหนึ่ง
บางครั้งถ้าเราอยากสร้างแรงบันดาลใจให้

เกิดกับลูกรักของเรา การหยิบยื่นหนังสือดีๆ
หรือต้องการปรับพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมในบางด้าน แก้ไขในบางสิ่ง เช่น
หากเขาเกิดท้อแท้หดหู่ต่อชีวิตในช่วง

ใดช่วงหนึ่ง หนังสือดีๆ ที่มีผู้คนต่อสู้ชีวิต
หรือฟันฝ่าอุปสรรคก็น่าจะเป็นตัวช่วยในสถานการณ์นั้นๆ ได้
ให้เขามีกำลังใจไม่ยอมแพ้ต่อโชคชะตา และเรียนรู้ว่า

ยังมีคนที่ลำบากกว่าเขาอีกไม่น้อย

การที่ได้อ่านหนังสือที่หลากหลาย
จะทำให้ชีวิตพบกับประสบการณ์ที่มีสีสันและมีคุณค่า

แล้วคุณล่ะค่ะ
มีหนังสือเป็นแรงบันดาลใจในการเปลี่ยนแปลงชีวิตในด้านใดด้านหนึ่งหรือเปล่า...!!

http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9520000061983

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น