บนเวทีการชุมนมของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย
เสียงเพลงบนเวทีที่ขับกล่อมผู้เข้าร่วมชุมนุมมีมาจากหลายหลายนักร้อง
นักดนตรี หนึ่งในนั้นคือเสียงเพลงจากวงดนตรีโฮป แฟมิลี่
ซึ่งเส้นทางสายดนตรีวงดนตรีวงนี้ เริ่มต้นจากคู่สามีภรรยา สุเทพ
ถวัลย์วิวัฒนกุล และ บุษปรัชต์ ถวัลย์วิวัฒนกุล
คนคู่นี้มีผลงานเพลงซึ่งเป็นที่รู้จักของบรรดาคอเพลงเพื่อชีวิตที่มี
ชื่อเสียงหลายเพลงทีเดียว
ปัจจุบันคนคู่นี้มีทายาทไว้สืบทอดขับขานบทเพลงอันเราะไว้ถึง 2 คนด้วยกัน
คนแรกคือ ลูกโซ่ ปริตรอนงค์ ถวัลย์วิวัฒนกุล ส่วนคนที่สองคือ ลูกศร
วฤทธรัชต์ ถวัลย์วิวัฒนกุล
:ซึ่งผู้เข้าร่วมชุมนุมกับพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยรู้จักกันเป็น
อย่างดี ไลฟ์ ออน แคมปัส ออนไลน์ ไปพูดคุยกับทายาทคนที่สอง ลูกศร
วฤทธรัชต์ ถวัลย์วิวัฒนกุล นักศึกษาวิทยาลัยดนตรี มหาวิทยาลัยรังสิต
เหตุที่เลือกเรียนด้านดนตรี
เป็นความตั้งใจของลูกศรเองที่จะศึกษาด้านดนตรี
ส่วนหนึ่งอาจจะเป็นเพราะการได้ซึมซับเสียงเพลงของคุณพ่อคูณแม่มาตั้งแต่เด็ก
ดังนั้นเมื่อเข้าสู่รั้วมหาวิทยาลัยแล้วจึงเลือกศึกษาด้านดนตรีทางด้านทฤษฎี
เพิ่มเติม จากประสบการณ์ที่ได้รับมาตั้งแต่วัยเยาว์
และยังคงจะเป็นนักร้องเช่นเดียวกับคุณพ่อคุณแม่
หากแต่การเป็นนักร้องจะไม่ใช่อาชีพหลัก
เพราะความฝันของลูกศรก็คือการเปิดโรงเรียนสอนทางด้านดนตรี
ที่ลูกศรตั้งใจไว้ว่าจะใช้ทั้งภาษา
ศิลปะในการร้องเพลงเป็นสื่อในการเรียนการสอน
ลูกศรเคยได้เรียนกับครูดุษฎี พนมยงค์ มาก่อน
ซึ่งหนึ่งในคำสอนที่ไม่เคยลืมก็คือคนที่มีพรสวรรค์เป็นคนโชคดี
แต่ไม่ใช่จะใช้พรสวรรค์หากินได้ตลอด คนเราต้องมีพรแสวงด้วย
และคุณพ่อคุณแม่ของเธอก็เป็นผู้ที่ชอบแสวงหาอะไรใหม่ๆ
ให้กับตัวเองอยู่ตลอด
ประยุกต์ทฤษฎี ร่วมกับประสบการณ์
ที่ แตกต่างกันอย่างชัดเจนก็คือเรื่องของทฤษฎี
แต่ที่เหมือนกันก็คือการแสดงดนตรี ซึ่งเวลาที่เราขึ้นเวที
เราก็ไม่รู้ว่าอะไรจะเกิดขึ้น
ตรงนั้นเราต้องควบคุมสถานการณ์ที่เกิดขึ้นให้ได้
ก็เหมือนกับว่าเราได้เรียนรู้ตรงนั้นในหลักทฤษฎี ในการเรียนในห้องเรียน
แต่ในชีวิตจริงประสบการณ์ที่ผ่านมาเราก็ผ่านตรงนั้นมาแล้ว
แต่นั่นไม่ได้หมายความว่าเราจะเรียนดีกว่าคนอื่นๆ
ศรเป็นคนชอบดนตรี และคิดอยู่เสมอว่าจะพัฒนาสิ่งที่เรียน
อยากให้ดนตรีทุกแนว ทุกแขนงช่วยพัฒนาคน
อยากนำสิ่งที่เรียนและประสบการณ์ที่มี กิจกรรมทุกอย่างที่ทำไปใช้
และศรเชื่อว่าเพลงสามารถที่จะสร้างคนได้
ทั้งเรียนทั้งทำงานได้เพราะเรียนแบบเข้าใจ
ตอนนี้ลูกศรเรียนสี่วัน และทำงานในวันเสาร์ อาทิตย์
ซึ่งตอนนี้ศรเป็นพิธีกรรายการจอเหลืองอยู่ (ออกอากาศทางเอเอสทีวีวันเสาร์
- อาทิตย์) และมีงานเขียนในเวปไซต์แห่งหนึ่ง
เหตุที่ลูกศรสามารถที่จะทำงานไปพร้อมกับเรียนไปด้วยได้
เพราะว่าการเรียนด้านดนตรีจะไม่เหมือนกับการเรียนคณะอื่นๆ
ที่ต้องอ่านหนังสือ ท่องหนังสือตลอด
เพราะการเรียนดนตรีต้องอาศัยการเข้าใจเป็นหลัก
เวลาเรียนอยู่ในห้องต้องเรียนให้เข้าใจ ถ้าไม่เข้าใจต้องถาม
หากเข้าใจแล้วเมื่อกลับไปก็เพียงแค่ทบทวนก็สามารถที่จะทำข้อสอบได้
นั่นคือสาเหตุที่ทำให้ลูกศรมีเวลาที่จะทำงานได้
การเป็นนักร้อง เป็นดาราเหมือนเป็นแฟชั่นที่เพื่อนๆ พี่ๆ น้องๆ
หลายๆ คนอยากจะเป็นกัน ซึ่งลูกศรคิดว่าไม่ใช่สิ่งผิดหรอก
เพราะนั่นคือความฝันของหลายๆ คน
แต่สุดท้ายแล้วลูกศรอยากจะบอกว่าการที่ลูกศรเป็นนักร้องคือสิ่งที่ลูกศรทำ
แล้วมีความสุข เพื่อนๆ ที่อยากเป็นนักร้อง
เป็นดาราถ้าทำแล้วมีความสุขก็ทำไปเถอะ
รวมทั้งต้องไม่ลืมมองด้วยว่าสิ่งที่เราทำนั้นมันฉาบฉวยหรือเปล่า
เราต้องมองตรงจุดนั้นด้วย
ต้องไม่ลืมว่าสังคมไทย ใบปริญญาเป็นสิ่งสำคัญ
มันเป็นใบเบิกทางสำหรับทุกอย่าง และการมีความรู้ติดตัว
พร้อมกับการที่รู้ตัวว่าตัวเองกำลังทำอะไรอยู่ จะตอบแทนสังคมอย่างไร
นั่นคือสิ่งที่ดี และเราก็ควรตั้งเป้าในอนาคตว่าเราจะทำอะไร
แล้วเราก็จะรู้ว่าในระดับอุดมศึกษาเราควรเรียนอะไรเพื่อให้เป็นไปตามเป้า
หมายที่เราตั้งไว้
http://www.manager.co.th/Campus/ViewNews.aspx?NewsID=9520000067219
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น