++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันพุธที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2552

ปีที่ 7 สปสช.การบ้านหนักอก "หมอวินัย สวัสดิวร"

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 22 มิถุนายน 2552 10:15 น.
ขณะ ที่ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า หรือบัตรทอง
ซึ่งในอดีตรู้จักกันในชื่อ 30 บาทรักษาทุกโรคเดินหน้าเข้าสู่ปีที่ 7
มีคำถามสำคัญเกิดขึ้นว่า สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.)
ที่ดูแลงบสุขภาพมหาศาลแทนกระทรวงสาธารณสุข ภายใต้การนำของ "นพ.วินัย
สวัสดิวร" จะขับเคลื่อนระบบหลักประกันสุขภาพของชาติให้เดินไปในทิศทางใด


นพวินัย สวัสดิวร
นิมิตร เทียนอุดม ผู้อำนวยการมูลนิธิเข้าถึงเอดส์
ในฐานะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ กล่าวถึงประเด็นนี้ว่า
จังหวะก้าวต่อไปของระบบหลักประกันสุขภาพของประเทศไทยคือ
การทำให้มีระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเป็นระบบเดียว จากที่ปัจจุบัน
ประเทศไทยมี 3 ระบบ คือ สวัสดิการข้าราชการ ประกันสังคม
และหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าหรือบัตรทอง
ภาคประชาชนได้มีการพูดคุยในเรื่องนี้
และมีความเห็นว่าประเทศไทยควรมีระบบหลักประกันสุขภาพเป็นกองทุนเดียวเพื่อ
ดูแลประชาชนอย่างมีคุณภาพ
ซึ่งจะทำให้ระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเดินต่อไปได้

ส่วนจะเริ่มกันอย่างไรนั้น นิมิตรเสนอว่า
องค์กรที่ควรริเริ่มเรื่องนี้คือ
สปสช.ซึ่งมีความพร้อมและเหมาะสมมากที่สุด ทั้งนี้ ตาม
พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2545
ได้ระบุถึงเรื่องนี้อย่างชัดเจนว่า ถึงที่สุดแล้ว
ระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติของไทยต้องมีระบบเดียว
และองค์กรที่จะมีบทบาทในการเริ่มต้นเรื่องนี้ ที่เหมาะสมที่สุด คือ สปสช.
ทั้งในเรื่องของโครงสร้างภารกิจ ตัวองค์กร
ที่จะสามารถบริหารจัดการเรื่องนี้ได้

"แม้ ว่าผู้บริหาร สปสช.จะเคยให้สัมภาษณ์ว่าเห็นด้วยในเรื่องนี้
แต่ถ้าจะให้สปสช.เป็นฝ่ายริเริ่มก็ไม่อยากทำ อาจจะด้วยไม่อยากเปลืองตัว
หรืออะไรก็แล้วแต่ แต่โดยบทบาทแล้ว สปสช.ต้องเป็นฝ่ายเริ่มต้น"

สำหรับก้าวต่อไปในระยะสั้นนั้น นิมิตรระบุว่า
สปสช.ต้องเดินหน้าคือเรื่องการพัฒนาคุณภาพบริการ
ซึ่งต้องยอมรับว่าเป็นเรื่องที่ทำยากมาก
โดยเฉพาะกับสภาพเงื่อนไขในปัจจุบันนี้ แต่ไม่ว่าอย่างไรก็ตาม
เรื่องนี้เป็นหน้าที่โดยตรงที่ผู้บริหาร
สปสช.ต้องไปคิดหาแนวทางมาว่าจะทำอย่างไรที่จะประสานงานกับกระทรวงสาธารณสุข
เพื่อควบคุมและกำกับดูแลในเรื่องนี้
แม้ว่าจะถูกมองว่าก้าวก่ายหน้าที่ของกระทรวงสาธารณสุขก็ตาม

ด้าน ดร.วิโรจน์ ณ ระนอง
ผู้อำนวยการวิจัยด้านเศรษฐศาสตร์สาธารณสุขและการเกษตร
สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) ให้ความเห็นว่า
ถึงวันนี้เราได้เห็นแล้วว่าไม่ว่าพรรคการเมืองใดจะมาเป็นรัฐบาล
หรือแม้กระทั่งเมื่อเรามีรัฐบาลที่มาจากการรัฐประหารทุกรัฐบาลก็เลือกที่จะ
ดำเนินโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้ามาโดยตลอด
และโครงการนี้ก็คงจะเดินหน้าต่อไป
โดยแทบจะไม่มีความเสี่ยงกับการถูกล้มเลิกจากฝ่ายการเมืองเลย
ปัญหาคือจะเดินหน้าไปอย่างไรมากกว่า

ตั้งแต่เริ่มต้น ปัญหาใหญ่ในระบบนี้มีสามเรื่องคือ เงิน คน
และข้อมูล ในช่วงแรกปัญหาเรื่องเงิน หรืองบประมาณเป็นเรื่องใหญ่ที่สุด
เพราะระบบได้รับเงินไม่เพียงพอ แต่ปัจจุบันปัญหานี้เริ่มเบาบางลง
เพราะได้รับเงินค่าหัวเพิ่มขึ้นมาก
จนสถานพยาบาลหลายแห่งที่ขาดแคลนบุคลากรเริ่มมีเงินเหลือ

ส่วน ปัญหาเรื่องคน
ซึ่งก็คือบุคลากรที่ให้บริการสาธารณสุขทั้งหลายมีปัญหามาตลอด
และมีโอกาสที่จะกลายเป็นปัญหาที่รุนแรงยิ่งขึ้น
ปัญหาการขาดแคลนบุคลากรด้านสาธารณสุขมีผลต่อคุณภาพการบริการด้วย
สำหรับปัญหาเรื่องข้อมูลสาธารณสุขนั้น
ถือได้ว่ามีการพัฒนาที่ดีขึ้นตามลำดับ แต่ก็ยังไม่ครอบคลุมมากพอ
หากไทยมีข้อมูลสาธารณสุขที่ครบถ้วนและเป็นระบบจะทำให้การบริหารจัดการเรื่อง
ต่างๆ ทำได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

ดร.วิโรจน์ให้ความเห็นต่อไปว่า
ในปัจจุบันเรามีผู้เล่นในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าหรือบัตรทองน้อยมาก
ผู้เล่นหลัก คือ สปสช. และกระทรวงสาธารณสุข
ซึ่งทั้งสองฝ่ายถือได้ว่าเป็นยักษ์ใหญ่
ตรงนี้ทำให้เกิดสถานการณ์ที่คล้ายกับที่นักเศรษฐศาสตร์เรียกว่า bilateral
monopoly หรือภาวะการผูกขาดทั้งในตลาดผู้ซื้อและผู้ขาย
ซึ่งไม่ว่าจะเป็นยังไง
แต่ละฝ่ายก็จำต้องใช้บริการของอีกฝ่ายหนึ่งอย่างไม่มีทางเลือก

"การมีผู้เล่นที่สำคัญแค่สองฝ่าย
ทำให้การที่ผู้ซื้อจะมากำหนดมาตรฐานเรื่องคุณภาพบริการทำได้ยากมาก
เพราะขึ้นกับฝ่ายผู้ให้บริการว่าจะยินดีหรือสามารถทำตามได้แค่ไหน
ในขณะเดียวกันก็มีความเสี่ยงที่ผู้ซื้อซึ่งมีอำนาจเงินจะใช้อำนาจเงินเข้าไป
แทรกแซงอีกฝ่ายหนึ่งเช่นกัน"

"บาง คนบอกว่า สปสช.ยุคนี้ไม่มีสีสันเหมือนยุคคุณหมอสงวน (นพ.สงวน
นิตยารัมภ์พงศ์) ซึ่งก็คงจะจริง แต่ภาระหน้าที่หลักที่
สปสช.ที่จะต้องทำในขณะนี้ ไม่ใช่อยู่ที่การมีนโยบายใหม่ๆ
หรือของเล่นใหม่ๆ แต่อยู่ที่การทำหน้าที่ที่ตัวเองมีอยู่แล้วให้ดีที่สุด
คือทำให้ประชาชนเข้าถึงบริการสุขภาพอย่างมีคุณภาพ ซึ่งเป็นเรื่องใหญ่ที่
สปสช.ในฐานะผู้ซื้อบริการสุขภาพให้ประชาชนจะต้องช่วยกันคิดและหาหนทางพัฒนา
ให้โครงการนี้เป็นโครงการที่ประชาชนผู้มีสิทธิ์มีความมั่นใจว่าเป็นหลัก
ประกันสุขภาพที่พวกเขาสามารถฝากชีวิตไว้ได้จริง"ดร.วิโรจน์ให้ความเห็นทิ้งท้าย

http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9520000070100

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น