++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันเสาร์ที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2552

ความสำคัญของอุตสาหกรรมฮาร์ดดิสก์ไทย(1)/ดร.ชิต เหล่าวัฒนา

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์

อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์เป็นอุตสาหกรรมที่สำคัญ
ต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจไทย และปัจจุบัน มูลค่าส่งออกมากกว่า 1.4
ล้านล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 32 ของมูลค่าการส่งออกของประเทศ
อุตสาหกรรมไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์เป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมของประเทศที่คณะ
รัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในการประชุมเมื่อวันที่ 11 มกราคม 2548
ให้จัดทำแผนปฏิบัติการปรับโครงสร้าง
โดยตั้งเป้าหมายว่าอุตสาหกรรมไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์จะเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรม
ที่จะทำให้มูลค่าเพิ่มของภาคอุตสาหกรรมทั้งหมดหลังการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ
เพิ่มจาก 2.3 ล้านล้านบาทในปี 2547 เป็น 3.3 ล้านล้านบาทในปี 2551
เนื่องจากอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์เป็นอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพสูงในด้านการ
สร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ประเทศ และความสามารถในการแข่งขันในเวทีโลก

สำหรับผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ส่งออกที่สำคัญของไทย ได้แก่
ฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์และชิ้นส่วน โดยในปี พ.ศ. 2548
ที่ผ่านมาไทยสามารถส่งออกฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์
ทั้งที่สำเร็จรูปและที่เป็นชิ้นส่วนได้สูงถึง 415,711 ล้านบาท
หรือคิดเป็นร้อยละ 29 ของการส่งออกสินค้าไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ทั้งหมด
และคิดเป็นร้อยละ 10 ของการส่งออกโดยรวมของทั้งประเทศ

นอกจากนั้นในปีเดียวกันประเทศไทยได้ก้าวขึ้นมาเป็นผู้ผลิตและส่งออก
ฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์อันดับ 1 ของโลกเป็นปีแรกโดยมีส่วนแบ่งถึงร้อยละ 42
ของตลาดโลก การที่การผลิตและส่งออกจากประเทศไทยเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะในช่วง
2-3 ปีที่ผ่านมา เนื่องจากมีผู้ผลิตฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์รายใหญ่ของโลกถึง 4
บริษัท คือ Seagate, Hitachi Global Storage Technology (HGST), Western
Digital (WD), และ Fujitsu/Toshiba (ข้อมูลแสดงในตารางที่ 1)
ได้เข้ามาตั้งฐานการผลิตอยู่ในประเทศไทย
โดยเฉพาะภายหลังรัฐบาลประกาศให้มีการส่งเสริมการลงทุนเป็นการเฉพาะสำหรับ
กิจการประกอบฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ในประเทศไทยในปี พ.ศ. 2547
บริษัทเหล่านี้ต่างขยายกำลังการผลิตจนทำให้ประเทศไทยถูกจัดว่าเป็นฐานการ
ผลิตฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ที่สำคัญของโลกอีกประเทศหนึ่ง นอกเหนือจากสิงคโปร์
มาเลเซีย และจีน

ตารางที่ 1 การเข้ามาของผู้ประกอบการฮาร์ดดิสก์รายใหญ่ในประเทศไทย

ที่มา: สำนักงานคณะกรรมการการลงทุน (BOI)

อุตสาหกรรมฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ไม่เพียงก่อให้เกิดการลงทุนจากต่างประเทศ
และสร้างรายได้แก่ประเทศในฐานะของสินค้าส่งออกที่สำคัญของไทยเท่านั้น
แต่ยังก่อให้เกิดการจ้างงานในประเทศถึง100,000 อัตรา
และสร้างอุตสาหกรรมต่อเนื่องอื่นๆ อีกจำนวนมาก

ตารางที่ 2 การผลิต และการส่งออกของอุตสาหกรมฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ของไทย

กลยุทธ์การพัฒนา

จากการวิเคราะห์ถึงความสามารถและศักยภาพของคลัสเตอร์ฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์
ในประเทศไทย ทั้งในด้านจุดแข็ง จุดอ่อน อุปสรรค และโอกาส
รวมทั้งเป้าหมายของการพัฒนาคลัสเตอร์ฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์
พบว่ายุทธศาสตร์สำคัญที่จะทำให้ประเทศไทยสามารถครองความเป็นอันดับหนึ่งใน
ด้านการผลิตของโลกไปจนถึงปี 2553 (5 ปี)
โดยการบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ในระยะสั้นและระยะกลางนั้น
ในส่วนที่สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีควรเร่งดำเนินการ ได้แก่
กลยุทธศาสตร์สำคัญ 6
กลยุทธ์ที่ภาครัฐและภาคเอกชนควรช่วยกันดำเนินการเพื่อเสริมสร้างความเข้ม
แข็งและลดจุดอ่อนของคลัสเตอร์ฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ของประเทศไทย กล่าวคือ

กลยุทธ์ที่ 1: การรักษาการลงทุนเดิมและขยายฐานการลงทุนในอนาคต
การรักษาผู้ประกอบฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์รายเดิมที่มีอยู่จำเป็นต้องมีนโย
บายและมาตรการส่งเสริมให้เกิดความมั่นใจในการลงทุนระยะยาว เช่น
นโยบายสนับสนุนสำหรับผู้ที่ขยายการลงทุนอย่างต่อเนื่อง
หรือผู้ที่สามารถสร้างรายได้ให้กับประเทศอย่างต่อเนื่อง
อีกทั้งการใช้นโยบายการส่งเสริมการลงทุนและการสร้างบรรยากาศในการลงทุน
เพื่อดึงผู้ประกอบฮาร์ดดิสก์รายใหม่เข้ามาลงทุนในประเทศไทย
กลยุทธ์ที่ 2: พัฒนาแรงงานไทยให้มีจำนวนมากขึ้นและมีคุณภาพดีขึ้น
ในปัจจุบัน
บุคลากรในด้านการผลิตของไทยที่มีทักษะสูงยังมีปริมาณไม่เพียงพอ
โดยเฉพาะเมื่อเทียบกับปริมาณการผลิตที่จะขยายตัวสูงขึ้นในอนาคต
ถึงแม้ทางบริษัทจะมีการฝึกอบรมอย่างสม่ำเสมอให้กับพนักงานก็ยังไม่สามารถตอบ
สนองต่อความต้องการบุคลากรที่มีทักษะสูงได้ ดังนั้น
ระบบการศึกษาทั้งในระดับมหาวิทยาลัยและระดับอาชีวศึกษา
จำเป็นจะต้องมีหลักสูตรการผลิตบุคลากรในด้านการผลิตเพื่อรองรับความต้องการ
ที่จะขยายตัวในอนาคต
กลยุทธ์ที่ 3: พัฒนาอุตสาหกรรมสนับสนุนและชิ้นส่วนที่เข้มแข็งในประเทศไทย
โครงสร้างของอุตสาหกรรมฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ในประเทศไทยยังเป็นการกระจุก
ตัวของบริษัทต่างชาติ
และเชื่อมโยงกับผู้ผลิตชิ้นส่วนในภูมิภาคมากกว่ากับผู้ประกอบการในประเทศ
โดยเฉพาะอุตสาหกรรมสนับสนุน เช่น งานโลหะ งานแม่พิมพ์ งานพลาสติก
ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ clean room, metal finishing, heat treatment,
equipment repair
ซึ่งยังไม่สามารถเชื่อมโยงเข้ากับการผลิตอุตสาหกรรมฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์
ดังนั้น จึงจำเป็นที่จะต้องพัฒนาและยกระดับความสามารถทางธุรกิจและเทคโนโลยีของผู้
ผลิตชิ้นส่วนในประเทศให้สามารถทำงานร่วมกับบริษัทต่างชาติที่อยู่ในประเทศ
และเป็นที่ยอมรับให้ได้

ผู้ที่สนใจข้อมูลเพิ่มเติมโปรดติดต่อ โปรแกรมฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟ HDDI
ที่เบอร์โทรศัพท์ 025646957-9 ครับ

ท่านผู้อ่านสามารถส่งข้อคิดเห็น/เสนอแนะมาที่ผู้เขียนที่
djitt@fibo.kmutt.ac.th

ดูข้อมูลฉบับเต็มที่
http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9520000065947

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น