++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันพุธที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2550

การปรับปรุงทักษะแรงงานในอุตสาหกรรมก่อสร้างไทย

การปรับปรุงทักษะแรงงานในอุตสาหกรรมก่อสร้างไทย

The Labour Skillful Improvement in Thai Construction Industry

ชุดาภัค เดชพันธ์ (Chudapak Detphan)

ประเสริฐ ดำรงชัย (Prasert Damrongchai)

บทคัดย่อ

ความสามารถด้านทักษะของช่างก่อสร้างนับว่ามีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมก่อสร้างซึ่งเป็นอุตสาหกรรมที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาประเทศและเศรษฐกิจไทย อีกทั้งยกระดับความสามารถในการแข่งขันบนเวทีโลกและการพัฒนาประเทศที่ยั่งยืน บทความนี้นำเสนองานวิจัยเกี่ยวกับปัจจัยต่าง ๆ ที่มีผลต่อทักษะของช่างก่อสร้าง ระดับผลกระทบของแต่ละปัจจัย และแนวทางการปรับปรุงทักษะของช่าง 5 สาขา ได้แก่ ช่างไม้ ช่างก่ออิฐ ช่างฉาบปูน ช่างปูกระเบื้อง และช่างเหล็กเสริมคอนกรีต โดยสำรวจความคิดเห็นของหัวหน้างานก่อสร้างอาคารในโครงการขนาดเล็กและขนาดกลาง โดยปัจจัยที่ส่งผลต่อทักษะช่างก่อสร้างได้ถูกจำแนกออกเป็น ด้านบุคคล ด้านเทคนิค ด้านการจัดการ และ ปัจจัยภายนอก ผลที่ได้จากการศึกษาครั้งนี้จะเป็นประโยชน์ต่อการปรับปรุงทักษะฝีมือช่างก่อสร้างให้มีสมรรถนะในการทำงานสูงขึ้น

ABSTRACT

Labour skill of construction worker is very important for industrial development section of Thailand which influence to the sustainable development of economic system and infrastructure facilities worldwide. This paper, therefore, dealing with the factors affected to the labour skill, the impact level of each factor and the guidance in order to improve the labor skill of five worker’s skill viz, carpenter, bricklayer, plasterer, floor tiller and concrete reinforcing steel worker is also suggested in this study. The questionnaire was used to collect the data from head men who work in a small and medium construction building project. The factors which have been categorized in the questionnaire were divided into four groups as following: personal, technical, management and external factors. Finally, as the obtained results would be beneficial for improvement the labour skill and working performance of the worker in further future.


คำสำคัญ
: การปรับปรุง ทักษะแรงงาน อุตสาหกรรมก่อสร้าง

Key words : Improvement, Labour Skill, Construction Industry

* นักศึกษาปริญญาโท หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

** รองศาสตราจารย์ ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

จากการประชุมทางวิชาการ เสนอผลงานวิจัย ระดับบัณฑิตศึกษา ครั้งที่ 9
วันศุกร์ที่ 19 มกราคม 2550 ณ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
The 9th Symposium on Graduate Research, KKU. 19 January 2007

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น