++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันอังคารที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2549

ก้าวกระโดดใหม่สู่การพัฒนาประเทศด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ที่ผ่านมามีหลักฐานหลายประการบ่งชี้ว่า ประเทศไทยของเราใช้
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอย่างไม่เพียงพอในการพัฒนาความรู้
เศรษฐกิจ และสังคมของประเทศ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และ
เทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) จึงมีภารกิจที่สำคัญอย่างยิ่งที่จะต้องผลัก
ดันให้เกิดการนำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้เพื่อยกระดับ
คุณภาพชีวิต เศรษฐกิจและสังคม ในปัจจุบัน รัฐบาลมักจะถูกตั้ง
คำถามที่จะต้องตอบให้ได้เสมอว่ามีทิศทางใน การพัฒนาเศรษฐกิจ
และสังคมอย่างไร จะทำอะไรคือทำแล้วได้อะไร หากประเทศชาติจะลง
ทุนไม่ว่าด้านใดเราก็ต้องตอบให้ได้ว่าหวังที่จะให้ประเทศมีอะไรดีขึ้นเช่นเดียวกัน
การลงทุนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีนั้น ควรที่จะสอดคล้อง
กับแนวนโยบายของรัฐบาลเป็นสำคัญ แล้วผลที่คาดว่าจะได้รับนั้นคือ
อะไร แนวความคิดของ ศ.ดร.ไพรัช ธัชยพงษ์ ผู้อำนวยการสำนักงาน
พัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ได้มีความเห็นใน 3 ลักษณะ ดังนี้

ด้านแรก คือความรู้ หากเราลงทุนทั้งเงินและทรัพยากรอื่นๆ แล้ว
ประเทศชาติไม่สามารถสร้างองค์ความรู้ให้เป็นสมบัติของชาติเราได้ และ
ยังต้องซื้อความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจากประเทศอื่นอยู่ร่ำไป
ก็จะไม่คุ้มทุน

ด้านที่สอง ที่มองเห็นคือทางด้านเศรษฐกิจและการจ้างงานหากเรา
มีความรู้แต่ไม่สามารถคิดกลไกหรือกลยุทธ์ที่จะทำให ้ภาคเศรษฐกิจ ทั้ง
อุตสาหกรรมการบริการ รวมทั้งการค้าทั้งในประเทศและระหว่างประเทศ
มีความเป็นวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมากขึ้น เราก็จะไม่สามารถที่จะ
ประกอบธุรกิจ ให้สามารถแข่งขันกับประเทศอื่นได้

ด้านสุดท้าย ที่มองเห็นได้อย่างชัดเจน คือ คุณภาพชีวิตและสังคม
หากเรามีฐานะทางเศรษฐกิจที่ดีแต่ไม่ใส่ใจในการรักษา ทรัพยากรธรรมชาติและ
สิ่งแวดล้อมอีกทั้งยังไม่ใส่ใจต่อคนด้อยโอกาสคนยากไร้คน
ห่างไกลใน ชนบทปล่อยให้เกิดช่องว่างในสังคมก็ยากที่
จะจรรโลงให้มีความยั่งยืนในชาติได้ ดังนั้นวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจะ
ถูกนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างเต็มที่ และที่สำคัญต้องสามารถสร้างให้เกิดผลอย่างเด่นชัดและอย่างยั่งยืนได้ เราจึง มี
ความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องนำวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้สร้าง
สรรค์ให้เกิดผลดี เพื่อความมั่นคงของประเทศในสามลักษณะดังกล่าว
ข้างต้นให้ได้ คำถามที่มักเกิดขึ้นเสมอ คือ การลงทุนด้านวิทยาศาสตร์และ
เทคโนโลยีนั้น กระจายอยู่ทั่วไปในสังคมที่ใหญ่โตระดับชาติ และหากลงทุน
แล้วจะเกิด ผลประโยชน์อย่างไรต่อประเทศชาติบ้างและจะสอดคล้อง
กับทั้งสามประด็น ที่กล่าวข้างต้นได้อย่างไร เพื่อให้สามารถมอง
เห็นได้อย่างเป็นรูปธรรม การลงทุนจะต้องลงทุนใน 4 ด้าน

ด้าน แรก คือ คนหรือทรัพยากรบุคคล (Human Resource & Development) เราจะต้องลงทุนทางด้านการศึกษาให้กับคนไทย เพื่อให้มีแนวความคิดที่เป็นวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีให้มากขึ้นอย่าง
น้อยก็ให้รู้จักคิดและปฏิบัติอย่างมีเหตุผลไม่หลงเชื่ออย่างงมงาย และถ้า
ให้ดียิ่งขึ้นก็คือ การพัฒนาไปจนถึงขั้นที่สามารถรู้จักนำ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาช่วย เพิ่มประสิทธิภาพในการ
ประกอบอาชีพในทุกระดับและเพิ่มการลงทุนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในสถาบันการศึกษาโรงเรียนและสถาบันอุดม
ศึกษา หรือแม้กระทั่งคนที่กำลังทำงานอยู่เพื่อให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง ของกระแสโลกทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ด้าน ที่สอง คือ การวิจัยพัฒนาและวิศวกรรม (Research & Development) นอกจากจะเน้นให้คนทั่วไปมีพื้นฐานของแนวความคิดที่เป็นวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยีแล้วเราจะต้องกล้าที่จะลงทุนในการค้นคว้าหาความรู้ใหม่ให้เกิดใน ประเทศเราเองทั้งการวิจัยพื้นฐาน
การพัฒนาต้นแบบ และการวิจัยพัฒนาและวิศวกรรมให้เป็นผลิตผลและ
ผลิตภัณฑ์ที่มีค่าทางเศรษฐกิจและสังคมจึงจะช่วยเพิ่มมูลค่าและรายได้
เป็นการช่วยผลักดันเศรษฐกิจ ให้กระเตื้องอีกทางหนึ่ง

ด้านที่สาม คือ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน หากปราศจากโครง
สร้าง พื้นฐานแล้วก็ยากที่วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจะเลื่อนไหลสู่
ภาคเศรษฐกิจ และสังคมได้รวดเร็วทันต่อการเปลี่ยนแปลงของ
กระแสเทคโนโลยีที่จะทำให้ประเทศไทยของเราสามารถแข่งขันกับ
ประเทศอื่นๆ ได้ อาทิ การลงทุน ในโครงการไทยสารส่งผลให้สถาบันระดับอุดมศึกษามีการเชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์
ในลักษณะอินเทอร์เน็ตเต็มรูปแบบเป็นครั้งแรกในประเทศไทย จึงทำให้เกิดความ
เลื่อนไหลของสารสนเทศในระบบการศึกษาการค้นหาส่งและ
แลก เปลี่ยนความรู้เปลี่ยนรูปแบบจากการใช้เทคโนโลยีการพิมพ์ไปเป็นเทคโนโลยี อิเล็กทรอนิกส์ทำให้มหาวิทยาลัยผลิตความรู้และบุคลากร ป้อนเอกชนจนเกิดธุรกิจภาคเอกชนมาจนทุกวันนี้ โครงการ
เขตอุตสาหกรรม ซอฟต์แวร์หรือ "ซอฟต์แวร์พาร์ค" (Software Park) ก็เป็นอีกตัวอย่างหนึ่ง ซึ่งเพิ่งเริ่มต้นได้รับการตอบสนองค่อนข้างดีก็เป็นอีกตัวอย่างหนึ่งของการ ลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานของ
รัฐบาล ที่ทำให้เทคโนโลยีด้านซอฟต์แวร์เลื่อนไหลกลายเป็นผลดีทางด้านเศรษฐกิจและการจ้างงานเป็นต้น

ด้านที่สี่ คือ การแพร่กระจายของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไปสู่คนส่วนใหญ่ของประเทศ
ทั้งจากภาครัฐและเอกชนทุกฝ่ายต่างก็มีความคาดหวังและมีความต้องการที่จะเห็นการแพร่กระจายของวิทยาศาสตร์
และเทคโนโลยี ไปสู่ภาคเศรษฐกิจและสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
จากแหล่งของวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีภายในประเทศเป็น
สำคัญ จึงมีความจำเป็นที่จะต้องลงทุนเพื่อให้เกิดกลไกการกระจายของวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยี บ่อยครั้งที่กลไกดังกล่าวจะต้องลง ทุนทั้งฝ่ายที่เป็นผู้ถ่ายทอดเทคโนโลยีและฝ่ายที่เป็นผู้รับการถ่ายทอด
เทคโนโลยี ประเทศที่เข้าใจเรื่องนี้เช่น ประเทศเกาหลีใต้ จะมีธนาคาร
เทคโนโลยีเพื่อปล่อยสินเชื่อให้แก่เอกชนที่ประสงค์จะลงทุนด้าน
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประเทศแคนาดามีโครงการไอแร็ป (IRAP ย่อมา
จาก Industrail Research Assistance Project) ซึ่งได้ประสบความ
สำเร็จมาเป็นเวลา 50 ปี จนถึงปัจจุบัน n


ใน การชักนำให้ภาคเอกชน โดยเฉพาะอุตสาหกรรมขนาดกลาง และขนาดย่อม ให้ใช้ผู้เชี่ยวชาญทำหน้าที่ช่วยปรับปรุงการใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจาก แหล่งของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อเป็นการช่วยเพิ่มผลผลิตอย่างได้ผลคุ้มค่า ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นในการเชื่อมโยง ดังกล่าว เป็นการลงทุนร่วมกันระหว่างภาครัฐและเอกชนแต่ละราย ประเทศไทยได้ริเริ่มโครงการนำร่องคล้ายไอแรปของแคนาดาและประสบความสำเร็จใน
หลายโรงงาน ขณะนี้ได้เสนอโครงการให้กว้างขวางมากขึ้นครอบคลุมประมาณ 2,500
โรงงานภายในระยะเวลา 5 ปี เรียกว่า "โครงการไอแทป" (ITAP ย่อมาจาก Industrial Technology Assistance Project)
คาดว่าจะได้รับการอนุมัติ จากรัฐบาลในเร็วๆ นี้ ความอยู่รอดของเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ
จนกระทั่งสามารถยืนหยัดอยู่ได้อย่างมั่นคงและอย่างยั่งยืนต่อไป
เพื่อ เป็นการดำเนินงานให้สอดคล้องกับนโยบายด้านการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ได้เล็งเห็นความสำคัญนี้ จึงได้จัดให้บริการสำหรับภาคเอกชนโดยมีกิจกรรมต่างๆ ดังนี้


กิจกรรม บริการปรึกษาปัญหาทางอุตสาหกรรม (Industrial Consultancy Services : ICS) ซึ่งเป็นกิจกรรมที่สนับสนุนอุตสาหกรรมไทยในรูปแบบของการให้ผู้เชี่ยวชาญ ด้านเทคนิค จากเครือข่ายทั้งใน
และต่างประเทศเข้าช่วยในการปรับปรุงและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิต เพื่อให้สามารถ
ผลิตสินค้าที่ได้มาตรฐานและมีคุณภาพสูงขึ้นและมี โครงการสนับสนุนการพัฒนาสมรรถภาพในการเลือกและรับ
เทคโนโลยี (Support for Technology Acquistition and Mastery Program : STAMP) โครงการสนับสนุนการพัฒนาสมรรถภาพในการเลือก และรับเทคโนโลยีนี้ ได้ให้การสนับสนุนภาคเอกชน โดยเฉพาะผู้ประกอบการขนาดกลางและเล็ก ให้มีโอกาสเสาะหาและถ่ายทอดเทคโนโลยีใหม่
หรือเทคโนโลยีที่เหมาะสมจากต่างประเทศ เพื่อปรับปรุงกระบวนการผลิตและผลิตภัณฑ์ใหม่
รวมทั้งสนับสนุนให้มีการเจรจาธุรกิจกับบริษัทต่างประเทศ ซึ่งจะนำไปสู่การ
เลือกและรับเทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพ และเกิดการถ่ายทอดเทคโนโลยีในระดับบริษัทต่อไป

นอกจากนี้ แล้ว สวทช. ยังมีการให้บริการด้านทรัพย์สินทางปัญญา
(Intellectual Property Services : IPS) ซึ่งเป็นกิจกรรมที่ให้บริการใน
การดำเนินการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาของ สวทช. ในการให้คำแนะนำ
เกี่ยวกับการใช้ประโยชน์จากข้อมูลเอกสารสิทธิบัตร แก่หน่วยงาน ของ สวทช. และภาคเอกชน
และ สวทช. ได้ดำเนินกิจกรรมสนับสนุนโครงการวิจัยพัฒนาและวิศวกรรมของภาคเอกชน (Company Technology Development Program : CD) เพื่อเป็นการสนับสนุนด้านการเงินทั้งในรูปแบบของเงิน กู้ดอก
เบี้ยต่ำ (ซึ่ง สวทช.ให้การสนับสนุนได้ในวงเงิน 20 ล้านบาท) และเงินทุนให้
เปล่า (ซึ่งให้การสนับสนุนได้ในวงเงิน 3 ล้านบาท) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ
สนับสนุนให้ภาคอุตสาหกรรมปรับปรุงเทคโนโลยีและทำการค้นคว้าวิจัย และพัฒนาบริการ ที่ สวทช.มีให้กับภาคเอกชน
อีกอย่างหนึ่งก็คือ การลงทุนเพื่อพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
(Investment in New Ventures for Enhancing Science and Technology : Invest) ซึ่งได้ถูกกำหนดให้เป็นโครงการหลัก เพื่อเป็นไปตามแผนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ปัจจุบัน สวทช.ได้ร่วมลงทุนกับภาคเอกชนและ
ประสบผลสำเร็จเป็นบริษัทที่มีประสิทธิภาพในการประกอบการดีเยี่ยมคือ บริษัท
อินเทอร์เน็ต (ประเทศไทย) จำกัด และอีกบริษัทหนึ่งคือ บริษัท เอ็นทียู (ประเทศไทย) จำกัด
ที่ ให้บริการศึกษาทางไกลผ่านระบบดาวเทียม จาก จำนวน 40 มหาวิทยาลัยชั้นนำในสหรัฐอเมริกา ในระดับสูงกว่าปริญญาตรี และจัดการฝึกอบรมประชุมสัมมนาทางวิชาการให้แก่หน่วยงานและบุคคลทั้ง
จากภาครัฐและภาคเอกชนด้วย

สรุปว่า ประเทศไทยจะต้องลงทุนทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 4
ด้านดังกล่าวข้างต้น เพื่อให้ได้ผลตามวัตถุประสงค์ 3 ด้านคือ การพัฒนา
ความรู้ เศรษฐกิจและการจ้างงาน และคุณภาพชีวิตและสังคม โดยอาศัยวิธีการบริหารกระบวนการให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) มีการจัด
รูปแบบการบริหารองค์กรเป็นส่วนที่สำคัญ คือ ส่วนงานกลาง (Central Office)
ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BIOTEC) ศูนย์
เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (MTEC) ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และ
คอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) เน้นเทคโนโลยีทั้งสามสาขาหลักเป็น สำคัญ
แต่ ได้มีการจัดระบบให้มีกระบวนการบริหารการลงทุนให้เกิดผลอย่าง กะทัดรัด ตามลักษณะของงานเพื่อให้สอดคล้อง และสอดรับกับนโยบายของรัฐบาล ซึ่งมุ่งที่จะพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม นับว่าเป็นอีกแนวทางหนึ่งที่จะ
ช่วยผลักดั นให้เกิดการฟื้นฟูเศรษฐกิจและพัฒนาคุณภาพชีวิตของสังคมไทยได้
ข้อสำคัญอีกอย่างหนึ่งคือ จะต้องได้รับความร่วมมือและร่วมใจจากทุก ฝ่ายทั้งจากภาครัฐบาลและภาคเอกชน
ในการช่วยเป็นแรงผลักดันให้บรรลุเป้าหมายร่วมกันคือ การพัฒนาเพื่อความอยู่รอดของประเทศไทย และเป็น
การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม จนกระทั่งสามารถยืนหยัดอยู่ได้ด้วยตนเอง
อย่างมั่นคงและอย่างยั่งยืนต่อไป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น