++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันอังคารที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2549

การหย่าร้างสร้างผลกระทบต่อเด็กนานถึง 25 ปี

Reuters - บาดแผลแห่งความเจ็บปวดจากการหย่าร้างกันระหว่างพ่อแม่กระทบต่อชีวิตของเด็ก อย่างมากมาย เพราะหลังจากที่พ่อแม่ของพวกแขาแยกกันอยู่ เด็กพวกนี้จะพยามยามประคับประคองชีวิตของพวกเขา เพื่อค้นหาความสัมพันธ์จากครอบครัวที่สมบรูณ์แบบด้วยตัวของตัวเอง

"พวกเราพบว่ามายาภาพที่เกิดจากการหย่าร้างเป็นเพียงวิกฤติชั่วคราวที่เกิดขึ้นต่อเด็ก
ใน ตอนนั้น แต่ผลของความเจ็บปวดครั้งใหญ่มันจะเกิดขึ้นเมื่อพวกเขาเติบโตเป็นผู้ใหญ่ เพราะเมื่อพวกเขาต้องเล่นบทเป็นพ่อหรือแม่บ้าง ภาพความสัมพันธ์แบบนั้น ในวัยเด็กมันก็จะย้อนกลับมากระทบต่อบทบาทในครั้งนี้"

จาก ผลการศึกษาของ อาจารย์จูดิธ วอลเลอร์สไตล์ อาจารย์แห่งมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย-เบอร์คเลย์ ที่เปิดเผยถึงผลการวิจัย เกี่ยวกับเด็กที่มาจากครอบครัวแตกแยก ผ่านหนังสือชื่อ "มรดกที่ไม่คาดฝันจากการหย่าร้าง : การศึกษากลุ่มเป้าหมายในเวลา 25 ปี" วอลเลอร์สไตน์ เข้าไปจับเรื่องนี้ตั้งแต่ปี 1971 โดยเก็บข้อมูลจากเด็กชายที่อาศัยอยู่แถบชายฝั่ง ซานฟรานซิสโก จำนวน 100 คน และนับได้ว่าเป็นงานวิจัยชิ้นแรกที่ศึกษาผลกระทบของการหย่าร้างตั้งแต่ยัง เป็นเด็กต่อเนื่องจนกระทั่งเป็นผู้ใหญ่

การ วิจัยได้ศึกษาข้อมูล โดยเปรียบเทียบระหว่างเด็กครอบครัวแตกแยกและเด็กที่มาจากครอบครัวที่สมบรูณ์ แล้วสรุปได้ว่าการหย่าร้างของพ่อแม่ยังคงเป็นผลกระทบที่ยาวนานต่อสภาวะ อารมณ์ในการดำรงชีวิตของเด็ก ๆ ซึ่งจะมีผลอย่างมากต่อความสัมพันธ์กับผู้ใหญ่

เด็ก ๆ ที่ผ่านประสบการณ์การหย่าร้างจะดำเนินชีวิตด้วยความรู้สึกที่เต็มไปด้วย อันตราย เพราะความกลัวที่จะฝ่าฟัน เพื่อให้ลืมเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น โดยอาจจะส่งผลให้เกิดการใช้ยา หรือดื่มแอลกอฮอล์จนเกิดขนาด เด็กกลุ่มนี้มีความรู้สึกว่า มันยากเย็นมากหากพวกเขาพยายามจะมีชีวิตอยู่อย่างคนปกติ และในความพยายามนี้ ทำให้พวกเขากลายเป็นเด็กที่มักจะทำผิดเสมอ ในสายตาผู้อื่น เพราะหลังจากพ่อแม่แยกกันอยู่� เด็กจะรู้สึกว่าพวกเขาได้รับการปกป้องน้อยลง ส่วนทางด้านร่างกายก็มีปัญหาการขาดสารอาหาร
ที่สำคัญในจำนวนเด็กเหล่า นี้ น้อยนักที่คิดจะแต่งงาน หรือแต่งงานแล้วก็ไม่อยากจะมีลูก และแนวโน้มของการหย่าร้างมีมากกว่าคู่แต่งงานที่ต่างมาจากครอบครัวสมบรูณ์

ผล การศึกษายังเปิดเผยอีกว่า เมื่อกลุ่มตัวอย่างโตเป็นผู้ใหญ่แล้ว เด็กครอบครัวสมบรูณ์แต่งงาน 80% ส่วนเด็กครอบครัวแตกแยก แต่งงาน 60% โดย 38% ของกลุ่มหลังมีลูก และอีก 17% ทำตัวออกห่างจากชีวิตสมรส แตกต่างจากเด็กครอบครัวสมบรูณ์ที่มีลูกตามปกติ และยังคงใช้ชีวิตอยู่ในบริบทของการสมรส

เด็ก ที่พ่อแม่หย่าร้างส่วนมากจะแต่งงานก่อนอายุ 25 ปี ขณะที่เด็กครอบครัวสมบรูณ์ทำอย่างนั้นเพียง 11% นอกจากนี้ การหย่าร้างยังเป็นผลกระทบต่อชีวิตในด้านอื่น ๆ เพราะมีเด็กเพียง 29% หลังจากที่พ่อแม่แยกทางกัน แต่ได้รับการช่วยเหลือด้านการเงินจากพ่อ ในการจ่ายค่าเทอมให้ได้เรียนในระดับที่สูงขึ้นไป เมื่อเปรียบเทียบกับ เด็กที่มาจากครอบครัวสมบรูณ์แล้วพบว่ามี 88% ที่พ่อแม่ส่งเสียให้เรียนในระดับสูง

นอก จากนี้ ผลการวิจัยยังรายถึงสถิติการใช้ยาเสพติดและดื่มแอลกอฮอล์ว่า เด็กที่พ่อแม่แยกทางกัน 25% จะใช้สิ่งเหล่านี้ก่อนอายุ 14 ปี ขณะที่จำนวนเด็กครอบครัวอบอุ่น ใช้ยาเสพติดและแอลกอฮอล์ก่ออายุ 14 ปี มีเพียง 9%

วอลเลอร์สไตล์ กล่าวว่า การศึกษาครั้งนี้สร้างความกระจ่างชัดว่า เด็กหากได้อยู่ในสภาวการณ์การหย่าร้าง นับเป็นการทำลายประสบการณ์ ชีวิตของพวกเขา แต่เธอก็ได้ก็ไม่ได้ฟันธง สรุปลงไปในงานวิจัยว่า คู่สมรสควรจะอยู่ด้วยกันเพื่อเด็ก แต่ควรจะปล่อยให้เป็นไปตามที่ชีวิตสมรสควรจะเป็น

อย่างไรก็ตาม ผู้วิจัยได้เสนอว่า หากเกิดกรณีที่รุนแรง การหย่าร้างที่รุนแรง พ่อแม่สามารถทำให้สภาพจิตใจเด็กดีขึ้น
โดยฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งยังคงคอยดูแลลูก และทำตัวเป็นแบบอย่างที่ดี แต่ก็หลาย ๆ กรณีอาจจะทำอย่างนั้นไม่ได้ แต่ให้พ่อแม่จำเอาไว้ว่า "ชีวิตมันจะยากเย็นมากขึ้นสำหรับเด็ก เพราะพ่อแม่ทำให้มันยากมากขึ้น

3 ความคิดเห็น:

  1. ไม่ระบุชื่อ21 กรกฎาคม 2551 เวลา 14:55

    ขอแสดงความคิดเห็น หลังจากได้อ่านบทความข้างต้นแล้ว คิดว่าพ่อแม่ควรจะทำให้สภาพจิตของตัวเองดีเสียก่อน ส่วนใหญ่แล้ว เราคือพ่อและแม่ ก็ยังไม่สามารถเข้าใจตัวเอง เป็นต้นเหตุให้เด็กสับสน เพราะเขาเป็นผู้ที่มีผลกระทบโดยตรง หลังจาก พ่อและแม่ ได้ทำตามใจตนเองแล้ว
    ในฐานะที่ตัวเองมีประสบการณ์ การแยกกันอยู่ แต่ยังไม่ได้หย่าร้าง แต่ความเป็นอยู่ ก็แสดงให้ทราบโดยการกระทำ เด็กทราบดี แต่ เขาไม่มีความเห็นใดใด คงใช้ชีวิตปกติ เพราะมีญาติผู้ใหญ่ และดิฉันเป็นแม่ คอยดูแลและให้กำลังใจ ไม่เคยเสียใจ เพราะเราเข้าใจ ทั้งตัวเอง และตัว พ่อเขาเอง ต้องการมีภรรยาใหม่ เมื่อเขาต้องการเลือก เพราะตัวเขาเองไม่รู้จักชีวิต ต้องให้ได้รู้เอง เรามีหน้าที่ดูแลลูก ก็ดูแลให้ความรัก อย่าติดยึดกับสิ่งที่มี มีความสุขดีค่ะ ลูกก็ดี เมื่อไม่ต้องการปัญหา ก็ต้องเข้าใจหาความรู้ หาเหตุผล จากหลายๆทาง อย่าหาเหตุผลโดยตัวเอง คิดเอง
    ถ้าทำได้ ก็เป็นโชคดีของคุณ

    ตอบลบ
  2. ไม่ระบุชื่อ22 กรกฎาคม 2551 เวลา 15:37

    ชื่นชมในความคิดเห็นของคุณอย่างมากๆครับ
    ขอคารวะ

    ตอบลบ
  3. ไม่ระบุชื่อ11 เมษายน 2554 เวลา 15:18

    เป็นคนหนึ่งที่ตอนนี้แยกกันอยู่กับสามี เหตุเพราะโดนทำร้ายร่างกายค่ะ
    อดทนมาตลอด และครั้งนี้ความอดทนก็สิ้นสุดลง
    ยอมรับว่าในคำต่อว่า... ว่าเห็นแก่ตัว....
    แต่เห็นแก่ตัวในวันนี้ดีกว่าสร้างรอยแผลในใจลูก ที่ต้องเห็นภาพพ่อทำร้ายแม่ค่ะ
    ก็ขอให้เขาไปดีค่ะ และไม่คิดกีดกันลูกด้วย

    ตอบลบ