การพังทลายของตลาดหุ้นไทย ในปี 2521 ทำให้สภาพคล่องของระบบเสียหาย
ทำให้ภาคการผลิตจริง และสถาบันการเงินล้มลงจำนวนมาก
ทำให้มูลค่าสินทรัพย์ของประเทศลดลง ทำให้ค่าเงินบาทเสียหาย
เงินไหลออกแทบเกลี้ยงประเทศ
ประเทศไทยต้องเข้ารับความช่วยเหลือทางการเงินจากไอเอ็มเอฟเป็นครั้งแรก
ต้องลดค่าเงินบาทจากประมาณ 20 บาทต่อเหรียญสหรัฐ มาเป็น 26 บาท
ต่อเหรียญสหรัฐ
วิกฤตการณ์ซ้ำรอยเกิดการพังทลายของตลาดหุ้นไทยเป็นครั้งที่ 2
วิกฤตเศรษฐกิจครั้งที่ 2 ห่างจากครั้งแรก 16 ปี
ตลาดหุ้นไทยเกิดการพังทลายอีกครั้งในปี 2537 อย่างรุนแรง หลังการนำระบบ
Maintenance margin และ Forced sell มาใช้ในปี 2536 ภาคการผลิตจริง
และสถาบันการเงินล้มลงมากกว่าครั้งแรก ทำให้ค่าเงินบาทเสียหาย
ประเทศไทยต้องเข้าโครงการไอเอ็มเอฟอีกเป็นครั้งที่ 2
ต้องลอยค่าเงินบาทจากระดับ 26 บาทต่อเหรียญสหรัฐ มาเป็น 54
บาทต่อเหรียญสหรัฐ
ยืนยันว่า การพังทลายของตลาดหุ้นทำค่าเงินเสียหาย
ไม่ได้รับความเชื่อมั่น และไหลออกจากประเทศ เป็นแบบเดียวกันทุกประเทศ
ไม่ว่า ฟิลิปปินส์ ไทย อินโดนีเซีย เกาหลีใต้ บราซิล เม็กซิโก
อาร์เจนตินา ตุรกี ยูเครน ปากีสถาน ไอซ์แลนด์ และไม่เว้น
..แม้แต่ประเทศสหรัฐอเมริกา
ปี 2000 ตลาดหุ้นแนสแดกซ์พังทลายรุนแรง ตลาดตกลง 78
เปอร์เซ็นต์ช่วงระยะ 2 ปีครึ่ง เป็นไปตามกลไกที่ผู้เขียนนำเสนอข้างต้น
คือทำให้ค่าเงินเหรียญสหรัฐเสียหาย ไม่ได้รับความเชื่อมั่น
และไหลออกจากประเทศสหรัฐอเมริกาแทบเกลี้ยง
ชาร์ตที่ 1 ค่าเงินเหรียญสหรัฐ เมื่อเทียบกับเงินยูโรของยุโรป
ชาร์ตที่ 1 แสดงให้เห็นว่า หลังปี 2000
หรือหลังการพังทลายของตลาดแนสแดกซ์
ค่าเงินเหรียญสหรัฐพังทลายลงอย่างมีนัยสำคัญเมื่อเทียบกับเงินยูโร
เงินเหรียญสหรัฐตกไปต่ำสุดกลางปี 2008 ค่าเงินเหรียญสหรัฐตกลง 47
เปอร์เซ็นต์เมื่อเทียบกับเงินยูโร หรือเงินยูโรแข็งขึ้น 87
เปอร์เซ็นต์เมื่อเทียบกับเงินเหรียญสหรัฐ
ที่เห็นว่าเงินเหรียญสหรัฐตกทันที หลังการพังทลายของตลาดแนสแดกซ์
เพราะเงินยูโรไม่ได้ผูกค่าไว้ตายตัวกับเงินเหรียญสหรัฐ
มีการแลกเปลี่ยนเสรีตามภาวะตลาด
ชาร์ตที่ 2 ค่าเงินเหรียญสหรัฐ เมื่อเทียบกับเงินหยวนของจีน
ชาร์ตที่ 2 จะเห็นว่าชาร์ตที่ 2 มีความแตกต่างจากชาร์ตที่ 1
จีนได้ผูกค่าเงินหยวนไว้กับเงินเหรียญสหรัฐ เมื่อตลาดแนสแดกซ์พังทลายในปี
2000 จึงส่งผลเงินหยวนของจีนอ่อนผิดจริงทันที
หรือค่าเงินหยวนราคาถูกมากเมื่อเทียบกับเงินเหรียญสหรัฐ
ที่ไม่เห็นว่าค่าเงินเหรียญสหรัฐอ่อนลงในช่วงแรก
เพราะมีการผูกค่าเงินหยวนไว้ตายตัวกับเงินเหรียญสหรัฐ
จึงมีการเข้ามาซื้อเงินหยวนหลังปี 2000 กันอย่างมีความสุข ซื้อ
จนถึงกลางปี 2005 จีนจึงยอมยกธงขาว ยอมแพ้ ยอมให้หยวนแข็งค่าขึ้น
เรื่องดังกล่าวนี้ส่งผลให้ทุนสำรองการเงินระหว่างประเทศของจีนพุ่งขึ้นเป็น
อันดับ 1 ของโลก
เกิดความเข้าใจผิดของผู้รับผิดชอบทางเศรษฐกิจระดับสูงของทั้งอเมริกาและจีน
สหรัฐกล่าวหาว่าจีนควบคุมเงินหยวนให้อ่อนค่าผิดจริง
ทำให้สินค้านำเข้าจากจีนเข้าไปในตลาดสหรัฐฯ มากเป็นประวัติการณ์
แท้จริงเพราะการพังทลายของตลาดแนสแดกซ์ของอเมริกา
และการผูกค่าเงินระหว่างสกุลเงินทั้ง 2 ต่างหาก
ที่ทำให้ค่าเงินหยวนอ่อนค่าผิดจริง มันไม่ใช่ความผิดของจีน
อย่างไรก็ตาม การที่เงินหยวนแข็งค่าขึ้น
ก็หาใช่เป็นการตัดสินใจของธนาคารกลางจีนแต่อย่างใด
แต่เป็นไปเพราะนักลงทุนหรือนักเก็งกำไรข้ามชาติ ผู้เขียนขอเรียกว่ากลุ่ม
World Fund (WF) ที่มุ่งเข้ามาซื้อเงินหยวนต่างหาก
พวกใช้เวลาเก็บเงินหยวนราคาถูกๆ ประมาณ 4 ปีกว่า
จึงทำให้เงินหยวนหมดไปจากพอร์ตของธนาคารกลางของจีน หยวนจึงแข็งค่าขึ้น
และตอนนี้พวกเขาก็มีกำไรจากการที่เข้าซื้อหยวนดังกล่าวแล้ว
แท้จริงแล้วทั้งสหรัฐอเมริกา และจีนต่างพ่ายแพ้ต่อ WF
อย่างย่อยยับ หลังจาก WF ได้รับชัยชนะที่อเมริกาแล้ว ก็มุ่งมาโจมตีจีน
และโลก ใครก็กล่าวขานว่าจีนมีทุนสำรองฯ สูงสุดในโลก
ส่งผลให้สภาพคล่องท่วมประเทศจีน
ทำให้เศรษฐกิจของประเทศจีนเจริญเป็นตัวเลข 2 หลักต่อเนื่องกันหลายปี
และบอกว่าจีนจะกลายเป็นมหาอำนาจอันดับหนึ่งของโลก
ผู้เขียนเห็นต่างจากคนทั่วไป
การ พังทลายทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ได้ปรากฏให้เห็นแล้ว
ส่วนการย่อยยับทางเศรษฐกิจของประเทศจีนและของโลกก็เกิดขึ้นแล้ว
เพียงแต่คนทั่วไปไม่ทราบว่าเป็นแบบไหน อย่างไรเท่านั้น
http://www.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9520000106005
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น