++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันพุธที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2552

เวทีนโยบาย:'ชุมชนปลอดอุบัติเหตุ' คิดระดับโลก ทำระดับท้องถิ่น

โดย ภาณุเบศร์ มหาเรือนขวัญ 14 กันยายน 2552 16:53 น.
นอกเหนือเจตจำนงทางการเมืองเรื่องลดอุบัติเหตุที่ถูกยกระดับเป็นวาระแห่ง
ชาติ (National Agenda) โดยนายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
ที่ให้คำมั่นสัญญาทางการเมืองว่าจะไม่ให้ตัวเลขอุบัติเหตุเป็นแค่สถิติบน
กระดาษ หากแต่ต้องเชื่อมโยงให้สังคมได้ตระหนักถึงสาเหตุสำคัญของการสูญเสียที่ทุก
ฝ่ายสามารถช่วยกันลดหรือบรรเทาปัญหาได้
โดยอาศัยมาตรการสร้างค่านิยมและจิตสำนึกที่ถูกต้องเพื่อเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม
คนไทยให้กลับมาป้องกันตนเอง ลดความเสี่ยง
และมีสำนึกรับผิดชอบต่อผู้อื่นมากขึ้นแล้ว
เครือข่ายพันธมิตรที่เข้มแข็งก็ยังเป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญด้วย

ยิ่งเป็นภาคีเครือข่ายที่ก่อเกิดจากการมีส่วนร่วมของประชาชนในชุมชน
ที่ตระหนักถึงมหันตภัยของอุบัติเหตุจราจรร่วมกันด้วยแล้ว
สวัสดิภาพความปลอดภัยในชีวิตทรัพย์สินจะยิ่งเพิ่มพูนเพราะชุมชนสามารถเข้ามา
จัดการความปลอดภัยทางถนนทั้งด้านคุ้มครองดูแลและรักษาป้องกันได้อย่างมี
ประสิทธิภาพประสิทธิผล จนกระทั่งความรุนแรงทางกายภาพ โครงสร้าง
และวัฒนธรรมที่ถั่งโถมมาช้านานพังทลายลงได้
ด้วยเกิดความเปลี่ยนแปลงอย่างน้อย 3 ด้านภายในชุมชนโดยคนในชุมชนเอง

1) พฤติกรรมของคนในชุมชนที่จะลด ละ เลิก ความประมาทเมาแล้วขับ
ง่วงแล้วขับ ขับเร็วเกินอัตรากำหนด ไม่สวมหมวกกันน็อก
และไม่คาดเข็มขัดนิรภัย 2)
โครงสร้างภายในชุมชนทั้งด้านการบังคับใช้กฎหมาย (Law Enforcement)
และการบริหารจัดการงบประมาณการก่อสร้างจะเอื้ออำนวยต่อการแก้ปัญหาจราจรมาก
ขึ้น และ 3) ค่านิยมความคิดความเชื่อของคนในชุมชนจะหลุดพ้นจากการกดทับทางวัฒนธรรมที่ว่า
ทุกเทศกาลงานรื่นเริงต้องมีสุรายาเมาถึงสนุกสนาน
และจำนนสยบยอมให้คนกระทำผิดกฎจราจรลอยนวล ทั้งๆ
ก่ออันตรายร้ายแรงละเมิดสิทธิชีวิตและการเดินทางคนอื่น

การมุ่งมั่นกำจัดและจำกัดตัวแปรเชิงกายภาพ โครงสร้าง และวัฒนธรรม
ต่างๆ นานาที่เป็นเหตุปัจจัยให้คนไทยด้อยคุณภาพชีวิตลงไปโดยใช้ชุมชนเป็นคานงัด
หลักจึงสำคัญยิ่งยวด
ด้วยจะเป็นกลไกแรกเริ่มที่ถากถางความปลอดภัยให้เกิดขึ้นได้จริงในสังคมไทย
ด้วยสเกลทั้งด้านคน โครงสร้าง
และวัฒนธรรมของชุมชนนั้นไม่ใหญ่โตอุ้ยอ้ายเกินไปที่จะปรับเปลี่ยนวิธีคิด
วิถีการบริหารจัดการเสียใหม่ให้สอดผสานกับวิสัยทัศน์วาระแห่งชาติที่ต้องการ
ลดอัตราผู้เสียชีวิตให้ไม่เกิน 10 คนจากประชากรแสนคน
ตลอดจนสอดรับกับเป้าหมายใน 10
ปีข้างหน้าขององค์การสหประชาชาติที่ปรารถนาลดจำนวนผู้เสียชีวิตจาก
อุบัติเหตุทางท้องถนนทั่วโลกลงครึ่งหนึ่งด้วย

แม้น เจตจำนงวาระแห่งชาติด้านอุบัติเหตุทางถนนของประเทศไทยจะเป็นเนื้อเดียวกัน
กับเป้าประสงค์ขององค์การระดับโลกที่ดูแล้วใหญ่โตเกินชุมชนจะเข้ามามีส่วน
ร่วมอย่างมีนัยสำคัญ หากแต่แท้จริงแล้วกลับตรงกันข้าม
ด้วยจุดชี้ขาดความสำเร็จยิ่งใหญ่นี้กลับเป็นแค่ฟันเฟืองเล็กๆ ระดับชุมชน
เพราะหน่วยทางสังคมนี้มีพลังเพียงพอจะขับเคลื่อนความสำเร็จระดับประเทศและ
โลกได้ ยิ่งยึดโยงกับแนวปฏิบัติของชุมชนที่ 'คิดระดับโลก
ทำระดับท้องถิ่น' (Think Globally, Act Locally)
เหมือนดังการเคลื่อนไหวด้านสิ่งแวดล้อมที่ปฏิบัติการภายในชุมชนแต่ส่งผล
กว้างขวางระดับโลกด้วยแล้ว
อัตราความสูญเสียจากอุบัติเหตุจราจรจะลดทอนลงเช่นเดียวกับความสูญเสียทาง
สิ่งแวดล้อมได้

กล่าวคือ
เมื่อถึงจุดหนึ่งที่เกือบทุกชุมชนสามารถวิเคราะห์จุดอ่อนจุดแข็งควบคู่กับ
สังเคราะห์อย่างยึดโยงกับบริบทของท้องถิ่น
พร้อมกันกับกล้าริเริ่มพัฒนามาตรการด้านความปลอดภัยบนกระบวนการมีส่วนร่วม
ของประชาชนอย่างแท้จริงโดยไม่ต้องรอส่วนกลางกำหนดนโยบายแนวดิ่งแบบสำเร็จ
รูปลงมา เมื่อนั้นความฝันอันสูงสุด 'ลดอุบัติเหตุถึงศูนย์ก่อนสิ้นสูญ'
ก็จะงอกงามทั้งระดับชุมชนและประเทศชาติได้
ด้วยจะก่อเกิดเครือข่ายชุมชนถนนปลอดภัยที่มีมวลวิกฤต (Mass Crisis)
มากพอจะเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมไทยที่ไม่ใส่ใจในความสูญเสียอันเนื่องมาจากวิกฤต
อุบัติเหตุจราจรได้

ด้วยในภาคปฏิบัติการจริงเพื่อสร้างเสริมความปลอดภัยในชุมชนนั้นจัก
ต้องปรับเปลี่ยนทั้งพฤติกรรมส่วนบุคคล (Individual Behavior)
พฤติกรรมส่วนรวม (Collective Behavior)
รวมถึงสร้างสิ่งแวดล้อมที่ปลอดภัยทั้งเชิงกายภาพและเทคโนโลยีขึ้นมารองรับ
พร้อมๆ กับปรับกระบวนทัศน์การบริหารจัดการทางการเมืองท้องถิ่นเสียใหม่ให้กลับมาคิด
คำนวณความเสียหายจากอุบัติทางท้องถนนบนมิติทางเศรษฐกิจและสังคม
ที่ถึงที่สุดแล้วแยกกันไม่ออกระหว่างการพลัดพรากของคนรักญาติสนิทมิตรสหาย
กับการสูญเสียทรัพยากรมนุษย์ที่เป็นทรัพยากรมีค่าสูงสุดสำหรับชุมชนและ
ประเทศชาติ

ซึ่งกว่าคว้าฝันสูงสุดนั้นได้
แต่ละชุมชนจะต้องตระหนักถึงความสำคัญของความปลอดภัยเป็นสำคัญในเบื้องต้น
ตลอดปลาย เพื่อจะได้ระดมสรรพกำลังทั้งด้านบุคลากร งบประมาณ
ความรู้ความสามารถเพื่อมาสร้างสรรค์ 'ชุมชนปลอดอุบัติเหตุ'
ร่วมกันได้อย่างยั่งยืนมั่นคงภายใต้ฉันทามติ (Consensus)
ของคนทั้งชุมชนที่ให้คุณค่าว่าอุบัติเหตุจราจรนั้นไม่ใช่เรื่องของเวรกรรม
ฟาดเคราะห์ หรือโชคร้าย หากทว่าป้องกันได้ถ้าไม่ประมาท
และสามารถคลี่คลายแก้ไขได้ถ้าร่วมพลังกันกล้าแข็ง

กล่าว ในอีกสำนวนคือชุมชนต้องกล้าตัดสินใจเพื่อสิ่งที่ดีกว่าและเชื่อมั่นศรัทธาใน
ศักยภาพของตนเองว่าสามารถรังสรรค์ความปลอดภัยขึ้นในชุมชนได้โดยไม่ต้องพึ่ง
พิงราชการส่วนกลางมากนัก หากสามารถใช้ความห่วงกังวล ความต้องการ ค่านิยม
และจิตสำนึกของชาวชุมชนที่มีปฏิสัมพันธ์ซึ่งกันและกันบนเป้าหมายการระดม
ฉันทามติเพื่อนำไปสู่การตัดสินใจที่ดีกว่าสอดคล้องกับบริบทกว่าได้

โดยแนวทางสร้างการมีส่วนร่วมลดอุบัติเหตุในชุมชนผ่านปฏิบัติการด้าน
ค่านิยมหลักๆ นั้นจะกอปรด้วยการเปิดโอกาสแสดงความคิดเห็นเพื่อตัดสินใจในเรื่องคุณภาพ
ชีวิต การสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนในการเป็นหนึ่งเสียงสำคัญในการตัดสิน
ใจของชุมชน จนถึงการตอบสนองความต้องการและข้อตกลงว่าด้วยสวัสดิภาพความปลอดภัยของ
ประชาชนผู้เข้ามามีส่วนร่วมทั้งหมด

กระนั้น การจะกระทำเช่นนั้นได้
ก็เรียกร้องชุมชนที่กล้ารื้อถอนขนบโครงสร้างเดิมๆ
ทั้งในระดับปัจเจกบุคคลและรวมหมู่ที่บ่มเพาะวัฒนธรรมความรุนแรงจาก
อุบัติเหตุทางท้องถนนให้เป็นเรื่องธรรมดาชาชินของชุมชน
ตลอดจนมีความเข้มแข็งของท้องถิ่นเป็นทุนรอนรังสรรค์วัฒนธรรมความปลอดภัยอยู่
พอควร จึงจะผลักดันวาระความปลอดภัยทางท้องถนนได้ไม่ติดขัดจนเกินไปนัก
ดังชุมชนต้นแบบด้านปลอดอุบัติเหตุมากมาย ทั้งที่เป็นชุมชนเมือง
ชุมชนกึ่งเมือง หรือชุมชนชนบท
ที่นำเสนอในงานสัมมนาอุบัติเหตุแห่งชาติครั้งที่ 9
เรื่องพลังเครือข่ายเพื่อถนนปลอดภัย

เฉกเช่น เทศบาล ต.กุดน้ำใส อ.น้ำพอง จ.ขอนแก่น
ที่ขับเคลื่อนความปลอดภัยทางถนนโดยการสร้างเครือข่ายบูรณาการการทำงานแนวราบ
ที่ทุกคนทุกหน่วยงานมีความสำคัญ
และทุ่มเททำงานอย่างเข้าใจและให้เกียรติกันเพื่อจะบรรลุจุดมุ่งหมายเดียวกัน
คือชุมชนน่าอยู่ มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
ตลอดจนต่อยอดความคิดด้วยการกำหนดถนนต้นแบบเขตกวดขันวินัยจราจรของตำบล
จนสามารถแก้ปัญหาจราจรและลดจุดเสี่ยงในพื้นที่ที่เป็นพื้นที่เกษตรกรรมอยู่
ร่วมกับอุตสาหกรรมได้

ไม่ต่างจากชุมชนปทุมวิลเลจ ต.บางปรอก อ.เมือง จ.ปทุมธานี
ที่ดำเนินโครงการชุมชนร่วมใจสร้างความปลอดภัยทางถนน จนประชากรราว 900
คนมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินจากการแก้ปัญหาแบบมีส่วนร่วมนับแต่ขั้น
ร่วมรับรู้ปัญหา ร่วมคิดแก้ไข ร่วมทำ ร่วมรับผิดชอบ
และร่วมแบ่งปันประโยชน์สุข
จนสภาพปัญหาจากการมีถนนแคบตามลักษณะบ้านแบบทาวเฮาส์ที่แต่ละบ้านจะมีรถหนึ่ง
คันนั้นหมดไปได้ โดยประยุกต์ใช้วิศวกรรมจราจรแบบพอเพียงอย่างกระจกมองแยก
การบังคับใช้กฎหมายเข้มข้นปรับรถวิ่งย้อนศร รณรงค์ผ่านป้ายประกาศ เช่น
ขับช้าๆ จอดชิดๆ

จะ โดยรู้หรือไม่รู้ก็ตามแต่
แต่ปฏิบัติการด้านความปลอดภัยของชุมชนเหล่านี้มีกระบวนทัศน์คิดระดับโลก
ทำระดับท้องถิ่น แฝงฝังอยู่
ทั้งยังมีส่วนสำคัญยิ่งในการสานฝันอันสูงสุดของประเทศชาติและโลกในการลด
จำนวนผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางท้องถนนลงได้
ด้วยก่อเกิดและงอกงามจากรากฐานความมุ่งมั่นต้องการที่หนักแน่นของชุมชน.-

มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ (มสช.) www.thainhf.org

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น