แห่เปิดคณะ"บริหาร-บัญชี-มนุษย์ฯ-ท่องเที่ยว" ล้นตลาด
แต่กลับตกมาตรฐานอื้อ! "ม.เทคโนโลยีมหานคร" นำโด่ง!
สอบผ่านผลประเมินคุณภาพดีมากแซงหน้า ม.ดัง ทั้งเรื่องงานวิจัย
คุณภาพบัณฑิต "จุฬาฯ" คว้ามาตรฐานดีมากด้านบริการสังคม ทำนุบำรุงศิลปะ
วัฒนธรรม ส่วน "มธ." เกาะมาตรฐานคุณภาพการพัฒนาบุคลากร หลักสูตรการเรียน
การสอน ขณะที่ ม.ชินวัตร สอบตก ได้แค่ " พอใช้"
วันที่8 ก.ย. 2552 ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.สมหวัง พิธิยานุวัฒน์
ผู้อำนวยการสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา(องค์กรมหาชน)
(สมศ.) เปิดเผยถึงผลการประเมินคุณภาพภายนอกสถาบันอุดมศึกษารอบสอง(พ.ศ.2549-2551)
โดยมี มหาวิทยาลัยทั้งสิ้น 202 แห่งทั่วประเทศ เข้า รับการประเมิน
ซึ่งแบ่งเป็น 4 กลุ่ม คือ กลุ่ม 1.เน้นการผลิตผลิตบัณฑิตและงานวิจัย 23
แห่ง กลุ่ม 2.เน้นการผลิตบัณฑิตและพัฒนาสังคม ท้องถิ่น 101 แห่ง กลุ่ม
3.เน้นผลิตบัณฑิตและพัฒนาศิลปะ วัฒนธรรม 15 แห่ง และกลุ่ม
4.เน้นผลิตบัณฑิต 63 แห่ง
โดยภาพรวมในการประเมินพบว่าสถาบันอุดมศึกษามีคุณภาพดีขึ้นโดยรวมทั้งประเทศ
ทั้งนี้ ในจำนวน 202 แห่งนั้น สมศ.ได้รับรองมาตรฐานทั้งสิ้น 186 แห่ง
อย่างไรก็ตามยังมีสถาบันอุดมศึกษาอีก 16 แห่ง
ที่ยังไม่ผ่านการรับรองและรอพินิจ โดย 10 แห่งรอการพินิจ ซึ่ง สมศ.
ได้ให้ไปปรับปรุง พัฒนา เป็นเวลา 6 เดือน แต่ไม่เกิน 1 ปี
ถ้าหากมีความก้าวหน้าจะ สมศ.จะทำการประเมินให้อีกครั้ง ส่วนอีก 6 แห่ง
สมศ.ไม่รับรอง แบ่งเป็นสถาบันอุดมศึกษาในสังกัดรัฐ 3 แห่ง เอกชน 3 แห่ง
"สม ศ.จะเสนอข้อมูล ผลการประเมินไปยังต้นสังกัด อย่าง
สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา(สกอ.) ทราบว่าสถาบันอุดมศึกษาทั้ง 16
แห่งที่ สมศ.ไม่รับรองและรอการพินิจนั้นมีที่ใดบ้าง
โดยให้ต้นสังกัดเร่งดำเนินการส่งเสริม พัฒนา หากทำได้เด่นชัด
ผ่านการกลั่นกรองแล้วก็สามารถขอประเมินซ้ำได้ในการประเมินครั้งต่อไปในปี
2554 ทั้งนี้ทุกๆ 6 เดือน สมศ.จะทำการติดตามผลต่อไป" ผอ.สมศ.กล่าว
ทั้งนี้ สมศ.มีการประเมินคุณภาพรายกลุ่มสาชาวิชา โดยแบ่งออกเป็น
10 กลุ่มสาขาวิชา อาทิ
- กลุ่มสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ กลุ่มสาขาวิชาวิศวกรรมศาสตร์
- กลุ่มสาขาวิชาเกษตร กลุ่มสาขาวิชาครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์
ซึ่งปรากฎว่า กลุ่มสาขาที่มหาวิทยาลัยนิยมเปิดสอนมากที่สุด คือ
กลุ่มสาขาวิชาบริหารธุรกิจ พาณิชยศาสตร์ การบัญชี การจัดการ
การท่องเที่ยว และเศรษฐศาสตร์ ถึง 107 แห่ง รองลงมาคือ
กลุ่มสาขาวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ 103 แห่ง
และกลุ่มสาขาวิชาวิทยาศาสตร์กายภาพและชีวภาพ 92 แห่ง
คณะยอดฮิต ตกเกณฑ์มาตรฐานเพียบ!
สมศ. เผยผลการประเมินคุณภาพรายกลุ่มสาขาวิชา ปรากฎว่า มีถึง 50
กลุ่มสาขาวิชาที่ไม่ได้รับการรับรองจาก สมศ. ซึ่งเป็นที่น่าสังเกตว่า
กลุ่มสาขาวิชาที่มหาวิทยาลัยนิยมเปิดสอนจำนวนมากกลับไม่ได้รับการรับรองมาตรฐานมากที่สุด
อาทิ กลุ่มสาขาบริหารฯ ไม่ได้รับรองมาตรฐานถึง 14 แห่ง
เช่นเดียวกับกลุ่มสาขามนุษยศาสตร์ฯ ส่วนกลุ่มสาขาวิทยาศาสตร์กายภาพ
ไม่ได้รับรองคุณภาพถึง 8 แห่ง
ทั้งนี้สามารถตรวจสอบรายชื่อสถาบันที่ได้รับการรับรอง
และไม่ได้รับการรับรองจาก สมศ.ได้ทางเว็ปไซต์ www.onesqa.or.th
สิทธิชัย โภไคยอุดม เจ้าของ ม.เทคโนโลยีมหานคร
ม.มหานคร นำแชมป์สุดยอด "มหา'ลัยคุณภาพ-งานวิจัยสร้างสรรค์"
สำหรับเกณฑ์ในการประเมิน คุณภาพบัณฑิต ผลงานวิจัย
โดยผลการประเมินสถาบันอุดมศึกษาภายนอกรอบสอง กลุ่ม
1.หรือมหาวิทยาลัยที่เน้นงานวิจัย จำนวน 23 แห่ง นั้น
แบ่งเป็นมหาวิทยาลัยของรัฐ 20 แห่ง ประกอบด้วยมหาวิทยาลัยส่วนราชการ 12
แห่ง ในกำกับของรัฐ 8 แห่ง และมหาวิทยาลัยเอกชน 3 แห่ง
ซึ่งผลการประเมินภายนอกรอบสอง พ.ศ.2549-2551
เมื่อจำแนกตามระดับคุณภาพพบว่า
มหาวิทยาลัยวิจัยที่มีคุณภาพ ระดับดีมาก จำนวน 11 แห่ง ได้แก่
ม.เทคโนโลยีมหานคร, ม.เทคโนโลยีสุรนารี, ม.อุบลราชธานี, ม.ธรรมศาสตร์,
ม.สงขลานครินทร์, ม.ขอนแก่น, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ม.เกษตรศาสตร์,
ม.นเรศวร, ม.เชียงใหม่, ม.มหิดล
ระดับดี 12 แห่ง ได้แก่ วิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า,
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ,
ม.แม่โจ้,สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, ม.มหาสารคาม,
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง, ม.ศรีนครินทรวิโรฒ,
ม.เทคโนโลยีพระจอมเกล้าธรบุรี, ม.ศิลปากร, ม.ชินวัตร, ม.คริสเตียน,
ม.บูรพา
มหาวิทยาลัยที่มีการจัดการศึกษาด้านงานวิจัย งานสร้างสรรค์
ระดับดีมาก จำนวน 9 แห่ง ได้แก่ ม.เทคโนโลยีมหานคร, ม. เทคโนโลยีสุรนารี,
ม.เกษตรศาสตร์, ม.ขอนแก่น, ม.อุบลราชธานี, ม.มหิดล, ม.สงขลานครินทร์,
ม.เทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี, ม.นเรศวร
ระดับดี จำนวน 9 แห่งได้แก่ ม.เชียงใหม่, ม.ธรรมศาสตร์,
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ม.ม.ศรีนครินทรวิโรฒ,
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, ม.ชินวัตร,
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง,
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
ระดับพอใช้ จำนวน 5 แห่ง ได้แก่ ม.แม่โจ้, ม.ศิลปากร,
ม.มหาสารคาม, วิทยาลัยการแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า, ม.บูรพา
ระดับควรปรับปรุง ได้แก่ ม.คริสเตียน
" ม.บูรพา" ตกอันดับ คุณภาพบัณฑิต
มหาวิทยาลัยที่มีการจัดการศึกษาด้านคุณภาพบัณฑิตใน ระดับดีมาก
จำนวน 8 แห่ง ได้แก่ ม.เทคโนโลยีมหานคร, ม.เทคโนโลยีสุรนารี,
ม.สงขลานครินทร์, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์,
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง, ม.นเรศวร,
วิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกฎเกล้า, ม.อุบลราชธานี
ระดับดี 14 แห่ง ได้แก่ ม.แม่โจ้, ม.ขอนแก่น, ม.เชียงใหม่,
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ,
ม.ธรรมศาสตร์, ม.มหาสารคาม, ม.มหิดล, ม.เกษตรศาสตร์, ม.ชินวัตร,
ม.เทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี, ม.ศรีนครินทรวิโรฒ, ม.คริสเตียน,
ม.ศิลปากร และระดับพอใช้ 1 แห่ง คือ ม.บูรพา
จุฬาฯ บริการสังคมเยี่ยม"
มหาวิทยาลัยที่มีการจัดการศึกษาด้านการบริการสังคม ระดับดีมาก
จำนวน 19 แห่ง ได่แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ม.เกษตรศาสตร์, ม.ขอนแก่น,
ม.เชียงใหม่, ม.มหิดล, ม.ศิลปากร, ม.สงขลานครินทร์, ม.เทคโนโลยีสุรนารี,
ม.เทคโนโลยีมหานคร, วิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า,
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, ม.แม่โจ้, ม.ธรรมศาสตร์,
ม.ศรีนครินทรวิโรฒ, ม.อุบลราชธานี, ม.มหาสารคาม,
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, ม.บูรพา, ม.ชินวัตร
ระดับดี จำนวน 4 แห่ง
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง, ม.นเรศวร,
ม.เทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี, ม.คริสเตียน,
มหาวิทยาลัยที่มีการจัดการศึกษาด้านการทำนุบำรุงศิลปะ วัฒนธรรม
ระดับดีมาก มีจำนวน 14 แห่ง ได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,
ม.เกษตรศาสตร์, ม.เชียงใหม่, ม.มหาสารคาม,
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, ม.เทคโนโลยีสุรนารี, ม.บูรพา,
ม.คริสเตียน, ม.เทคโนโลยีมหานคร, วิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า,
ม.ธรรมศาสตร์, ม.ศรีนครินทร์วิโรฒ, ม.นเรศวร, ม.อุบลราชธานี
ระดับดี จำนวน 6 แห่ง ได้แก่ ม.ศิลปากร, ม.มหิดล,
ม.สงชลานครินทร์, ม.แม่โจ้, ม.ชินวัตร,
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ระดับพอใช้ จำนวน 3 แห่ง
ได้แก่ ม.ขอนแก่น, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์,
ม.เทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
มธ.ซิ่วแชมป์ "หลักสูตรดีเด่น"
มหาวิทยาลัยที่มีหลักสูตรการเรียนการสอน ระดับดีมาก จำนวน 6 แห่ง
ได้แก่ ม.ธรรมศาสตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ม.เชียงใหม่,
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, ม.ขอนแก่น,
วิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า
ระดับดี จำนวน 15 แห่ง ได้แก่ ม.เทคโนโลยีสุรนารี, ม.มหิดล,
ม.เทคโนโลยีมหานคร, ม.ชินวัตร, ม.แม่โจ้, ม.เกษตรศาสตร์, ม.อุบลราชธานี,
ม.คริสเตียน, ม.มหาสารคาม, ม.สงขลานครินทร์,
ม.เทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี, ม.นเรศวร,
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ,
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง, ม.บูรพา ระดับพอใช้
จำนวน 2 แห่ง ได้แก่ ม.ศิลปากร, ม.ศรีนครินทรวิโรฒ
มหาวิทยาลัยที่มีการพัฒนาสถาบันและพัฒนาบุคลากร ระดับดีมาก จำนวน
9 แห่ง ได้แก่ ม.ธรรมศาสตร์, สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ,
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ม.สงชลานครินทร์, ม.มหาสารคาม, ม.อุบลราชธานี,
ม.เกษตรศาสตร์, ม.ขอนแก่น, ม.เทคโนโลยีมหานคร
ระดับดี จำนวน 13 แห่ง ได้แก่ ม.มหิดล, ม.แม่โจ้, ม.ศิลปากร,
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, ม.ศรีนครินทรวิโรฒ, ม.บูรพา, ม.นเรศวร,
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง, ม.เชียงใหม่,
ม.เทคโนโลยีสุรนารี, วิทยาลัยอพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า, ม.คริสเตียน,
ม.เทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ระดับพอใช้ ได้แก่ ม.ชินวัตร
ม.ชินวัตร ได้แค่ "มหา'ลัย พอใช้"
มหาวิทยาลัยที่มีการประกันคุณภาพภายใน ระดับ ดีมาก มีจำนวน 20
แห่ง ได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ม.เกษตรศาสตร์, ม.ขอนแก่น,
ม.มหาสารคาม, ม.มหิดล, ม.ม.ศิลปากร, ม.สงขลานครินทร์,
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, ม.เทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี,
ม.บูรพา, ม.คริสเตียน, วิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า, ม.แม่โจ้,
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง, ม.ธรรมศาสตร์,
ม.เทคโนโลยีมหานคร, ม.นเรศวร, ม.อุบลราชธานี, ม.ศรีนครินทรวิโรฒ,
ม.เทคโนโลยีสุรนารี
ระดับดี จำนวน 2 แห่ง ได้แก่ ม.เชียงใหม่, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
ระดับพอใช้ ได้แก่ ม.ชินวัตร
ด้าน ดร.นายสุเจตน์ จันทรังษ์
อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กล่าวว่า
ม.เทคโนโลยีมหานครได้วางรากฐานไว้ตั้งแต่การก่อตั้งมหาวิทยาลัย
ว่าจะเน้นด้านการสอน และการวิจัย ทำให้ผลการประเมินของ
สมศ.ออกมาในระดับดีมากหลายด้าน
ซึ่งทางผู้บริหารได้ให้ความสำคัญกับการแข่งขันระดับนานาชาติ
โดยคุณภาพบัณฑิตต้องเป็นที่ยอมรับของนานาประเทศ นอกจากนี้
ยังให้การสนับสนุนการทำวิจัย การให้อาจารย์ไปศึกษาต่อต่างประเทศ
ตลอดจนความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยในต่างประเทศ ที่ดำเนินการอย่างต่อเนื่อง
ซึ่งจุดเด่นที่สำคัญ คือ
ม.เทคโนโลยีมหานครมีระบบประกันคุณภาพภายในที่เป็นรูปธรรมมาตั้งแต่ปี 2543
ทำให้สามารถแก้ไขจุดอ่อนและเสริมจุดแข็งได้อย่างมีประสิทธิภาพ
http://www.manager.co.th/Campus/ViewNews.aspx?NewsID=9520000104079
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น