วันนี้ นับเป็นวันแห่งความหวังครั้งสำคัญที่สุดในชีวิตครั้งหนึ่ง
ของเหล่าผู้ต้องขัง เพราะนอกจากวันนี้จะมีพิธีฉลองการจัดการศึกษาครบ 25
ปี ระหว่างกรมราชทัณฑ์และมหาวิทยลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ณ
เรือนจำกลางบางขวาง
แล้วยังเป็นวันมอบปริญญาแก่ผู้ต้องหาที่มีความอุตสาหวิริยะศึกษาเล่าเรียน
ระหว่างต้องขังอีกด้วย
นัทธี จิตสว่าง อธิบดีกรมราชทัณฑ์ ให้ข้อมูล่า
กรมราชทัณฑ์ได้ร่วมกับมสธ.ในการจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษาให้กับผู้ต้องขัง
ในเรือนจำและทัณฑสถานมาตั้งแต่ปี 2527
เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ต้องขังได้ศึกษาพัฒนาความรู้ความสามารถ ตามสติปัญญา
และศักยภาพของตนเอง
จนถึงระดับอุดมศึกษาซึ่งนอกจากจะช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตเพิ่มทักษะความรู้แล้ว
ยังเป็นการสร้างโอกาสในการนำไปประกอบอาชีพภายหลังพ้นโทษ รวมทั้ง
ปรับเปลี่ยนแนวคิดและพฤติกรรที่ไม่ถูกต้อง
ให้เขาเห็นคุณค่าของตัวเองไม่หวนกลับมาทำผิดซ้ำ
และเป็นทรัพยากรบุคคลที่มีคุณภาพของประเทศต่อไปในอนาคต
" ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา
กรมราชทัณฑ์ได้พยายามหามาตรการและแนวทางต่างๆเพื่อส่งเสริมและสนับสนุน
กระตุ้นให้เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน
และผู้ต้องขังได้ตระหนักถึงความสำคัญของการศึกษาในระดับอุดมศึกษาจนทำให้มี
ผู้สนใจสมัครเข้ามาเป็นนักศึกษาเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
โดยผู้ต้องขังในเรือนจำส่วนใหญ่นิยมเลือกเรียนสาขาวิชานิติศาสตร์
เพื่อให้มีความรู้ด้านกฎหมายและสิทธิในการต่อสู้คดี โดยสำหรับ
ปีนี้มีผู้สำเร็จการศึกษาจำนวน 250 คน จากเรือนจำ/ทัณฑสถาน 30
แห่งทั่วประเทศ" อธิบดีกรมราชทัณฑ์ กล่าว
ด้าน รศ.ดร. ปราณี สังขะตะวรรธน์
อธิการบดีมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช (มสธ.) กล่าวว่า
สำหรับมหาวิทยาลัยนั้น ระยะเวลา 25 ปี
การจัดการศึกษาในเรือนจำและทัณฑสถานในปัจจุบัน
มีบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีจากที่นี่จำนวน 1,261 คน
และมีหลายคนเมื่อสำเร็จการศึกษาและพ้นโทษออกไปแล้วได้ใช้วิชาความรู้ที่ร่ำ
เรียนไปทำประโยชน์แก่ตนเอง ครอบครัว สังคม และประเทศชาติ
ซึ่งเรื่องนี้เป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้ มสธ.และกรมราชทัณฑ์
มีกำลังใจที่จะพัฒนาความร่วมมือในการจัดการศึกษาระดับปริญญาโทในโอกาสอัน
ใกล้นี้
รศ.ดร.ปราณีกล่าวต่อว่า
ผู้ต้องขังหลายคนมีผลการเรียนอยู่ในระดับดี
และทุกๆปีมีผู้ต้องขังจำนวนมากสามารถศึกษาจบสำเร็จเป็นบัณฑิต
และมีผู้สมัครเรียนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
โดยเฉพาะหลักสูตรนิติศาสตร์บัณฑิต
ซึ่งเราได้รับการร้องขอจากผู้ต้องขังให้เปิดสอนในระดับปริญญาโทด้วย
อย่างไรก็ตาม แม้ว่ามสธ.จะเปิดสอนนิติศาสตร์ระดับปริญญาโทด้วย
แต่เนื่องจากเพิ่งเปิดได้ไม่กี่ปี
จึงยังไม่พร้อมที่จะเปิดสอนให้กับผู้ต้องขัง
แต่ในอนาคตจะพิจารณาเปิดอย่างแน่นอน
ส่วนด้าน นายนัทธีกล่าวเพิ่มเติมต่ออีกว่า
"การให้ผู้ต้องขังได้เรียนต่อระดับปริญญาตรีนั้น
ไม่เพียงแต่เป็นการให้โอกาสทางการศึกษาเท่านั้น
แต่ยังทำให้ผู้ต้องขังมีกิจกรรมทำมุ่งมั่นกับการศึกษาชุดวิชา
ไม่เกิดความฟุ้งซ่าน ผู้ต้องขังหลายคนจึงทำคะแนนได้ดี
และจากการติดตามผลผู้ต้องขังที่พ้นโทษ และสำเร็จการศึกษาจาก มสธ.ไปแล้ว
หลายคนก็ได้ทำงานที่ดีโดยเฉพาะเรื่องของความรับผิดชอบถือเป็นการตั้งต้น
ชีวิตใหม่อีกครั้ง"
นายนิรันดร์ (สงวนนามสกุล)ผู้ต้องขัง ดีกรีเกียรตินิยมอันดับหนึ่ง
จากหลักสูตรนิติศาสตร์เกรดเฉลี่ย 3.57
กล่าวว่ารู้สึกภูมิใจเป็นอย่างยิ่งกับปริญญาใบนี้ที่ได้รับ
และดีใจที่วันนี้มีได้ใกล้ชิดภรรยาและลูกๆอย่างพร้อมหน้า
โดยตนเองก็จะพ้นโทษในวันที่ 1
พย.ที่จะถึงนี้จึงตั้งเป้าว่าจะนำความรู้ไปประกอบอาชีพ
" ในอดีตไม่เคยสนใจเรื่องการเรียนเลยแม้แต่น้อย
แต่พอได้มาอยู่ที่เรือนจำแล้วก็รู้สึกเสียดายวันเวลาที่ผ่านมาที่รู้แล้วว่า
มันช่างมีค่ามาก เลยตัดสินใจเรียน
แล้วเลือกกฎหมายด้วยต้องการนำความรู้ไปใช้เขียนฎีกาขออภัยโทษ
และใช้ความรู้ช่วยเหลือคนอื่นๆ
ซึ่งนับว่าเป็นโอกาสที่ดีในชีวิตกับการได้เรียน
แถมยังได้ทุนเรียนโดยคำแนะนำของผู้คุมที่ให้เขียนขอทุนไปที่การท่าเรือ
พอผมได้ทุนก็ใส่ความตั้งใจไปอย่างเต็มที่
โดยใช้เวลาตอนกลางคืนอ่านหนังสือจากนั้นก็บริหารเวลาเอาเองให้พอเหมาะกับการ
นำความรู้ไปสอบผลัดกันกับตอนกลางวันที่จะเป็นเวลาของตารางงาน
ฉะนั้นจึงอยากมอบเหรียญทองจากความตั้งใจให้การท่าเรือที่ให้โอกาสผม
ส่วนผมก็จะนำความรู้ที่ได้มาไปสอบเนติบัณฑิตต่อ
ส่วนเรื่องสังคมจะยอมรับหรือไม่นั้น
คิดว่าคำตอบอยู่ที่เราถ้าหากตัวเองขึ้นอยู่กับความถูกต้องใจเราคิดยังไงก็
แสดงออกไปอย่างนั้นมันก็ทำให้เรามั่นใจและแน่วแน่"บัณฑิตหมาดๆ กล่าว
ส่วนด้าน "เสริม สาครราษฎร์ "ผู้ ต้องขังวัย 33 ปี
บัณฑิตคณะนิติศาสตร์
กล่าวว่าภูมิใจกับปริญญาบัตรใบแรกเช่นกันที่ได้ศึกษาหาความรู้
โดยตลอดเวลาที่อยู่ในนอกจากการทำงาน
เสริมก็จะอ่านหนังสือและทำประโยชน์โดยการเป็นครูผู้ช่วยในโรงเรียนคริสเตียน
ของเรือนจำ
"ตอนแรกผมอยู่ในช่วงรอฎีกาทูลเกล้าฯ จึงยังเรียนไม่ได้
และพอศาลตัดสินโทษก็ตัดสินใจเรียนนิติศาสตร์
เพราะอยากเรียนรู้กฎหมายและใช้ประโยชน์ พอได้มาเรียนก็รู้สึกว่า
การศึกษานับว่าเป็นโอกาสที่ดี
การเรียนสามารถทำให้คนพัฒนาขึ้นอยุ่กับว่าจะโดยจะพัฒนาตนให้ดีด้านใดขึ้น
อยู่กับตัวเอง โดยระหว่างที่เรียนนั้น ที่ผ่านมาก็ช่วยงานต่างๆ
อย่างงานสอนของโรงเรียนคริสเตียน และใช้เวลาอ่านหนังสือตอนกลางคืน
สรุปเกรดเฉลี่ยที่ได้อยู่สองกว่า
และตอนนี้กำลังลงเรียนต่อเนื่องไว้เพื่อเทียบโอนในโครงการสัมฤทธิ์ผล
และใจจริงก็อยากจะศึกษาต่อป.โทถ้าหากทางเรือนจำจะเปิดและก็หวังอยากให้สังคม
ให้โอกาสด้วย"นายเสริมกล่าว
ส่วน สุพล (สงวนนามสกุล)
บัณฑิตหลักสูตรรัฐศาสตร์สาขาการเมืองท้องถิ่น เกียรตินิยมอันดับสอง
กล่าวถึงลักษณะการเรียนที่ไม่เหมือนกับโลกอิสระภายนอกว่าการเรียนในห้องขัง
รวมนั้น เต็มไปด้วยเสียงรบกวน แต่ในที่สุดก็คว้าเกรดเฉลี่ย 3.34
มาได้ด้วยความอดทนที่ฝันอยากออกไปเป็นนักการเมืองท้องถิ่นรับใช้ประชาชน
สุ พลกล่าวว่า "ทุกวันนี้การเมืองท้องถิ่นเปิดกว้าง
ทุกคนได้แต่ตำหนิมันว่าไม่ดีแต่เราก็ไม่สามารถพ้นจากมันได้
ซึ่งหากเราเรียนตรงนี้และทำงานให้ตรงกับสายผู้บริหารท้องถิ่นอย่างสุจริต
โดยแม้เราจะมีบาดแผลรอยช้ำเท่าไรแต่ความสำเร็จก็จะเป็นสิ่งซึ่งนำพามาซึ่ง
ความภาคภูมิจาก ที่เราตั้งใจ
กับความยากลำบากกับการเรียนที่ไม่เหมือนกับชีวิตอิสระข้างนอกคือ
ไม่ได้มีทั้งสื่อเทปวิทยุ หรือสื่อมัลติทัศน์ต่างๆ
แต่เรามีสื่อๆเดียวคือหนังสือ
ที่ต้องอ่านในห้องรวมซึ่งก็มีผลกระทบกับสมาธิบ้างแต่เราก็ต้องอดทน
เพื่อคว้าความสำเร็จ แม้จะเป็นห่วงอยู่ว่าสังคมจะไม่ยอมรับ
แต่ก็ดีใจที่มีคนเห็นความสำคัญของนักโทษและการศึกษา"บัณฑิตเรือนจำสรุป
http://www.manager.co.th/Campus/ViewNews.aspx?NewsID=9520000108764
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น