พีชยา สุริยวงศ์
ศูนย์ภาษา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
ใน ประเทศไทยการเรียนการสอนภาษาอังกฤษเป็นการสอนในฐานะภาษาต่างประเทศ ฉะนั้น ทักษะที่นักศึกษาไทยมีโอกาสใช้งานมากที่สุด และมีโอกาสฝึกฝนได้ด้วยตนเองมากที่สุด คือ ทักษะการอ่าน แต่อย่างไรก็ตามนักศึกษาไทยยังคงมีปัญหาเรื่องของการใช้ทักษะการอ่านเพื่อ ความเข้าใจอยู่ ผู้วิจัยจึงได้ทำการศึกษาโดยใช้วิธีการสอนทักษะการอ่านเพื่อความเข้าใจ เพื่อช่วยในการเรียนภาษาอังกฤษในระดับอุดมศึกษา และเพื่อส่งเสริมให้นักศึกษาเกิดเจตคติที่ดีต่อการอ่านภาษาอังกฤษ
กล ุ่ม ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักศึกษาชั้นปีที่ 4 มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี ที่เรียนวิชาการอ่านภาษาอังกฤษทั่วไป (1550103) ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2548 จำนวน 33 คน โดยนักศึกษาได้รับการฝึกการใช้กระบวนการอ่านเพื่อความเข้าใจแบบ เอส คิว ไฟว์ อาร์ เป็นเวลา 10 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วย 1) แบบสอบถามประเภทและความถี่ในการใช้กลวิธีการอ่าน 2) แบบสอบถามความคิดเห็นของนักศึกษาต่อการพัฒนาความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษ เพื่อความเข้าใจของนักศึกษาเอง 3) สมุดบันทึกของนักศึกษา และ 4) การสัมภาษณ์
ผลการวิจัย พบว่า 1) นักศึกษามีการใช้กลวิธีการอ่าน ประเภทต่างๆในกระบวนการเอส คิว ไฟว์ อาร์ เพิ่มขึ้น ซึ่งความถี่ของกลวิธีการอ่านทุกๆประเภท อยู่ในระดับการใช้เป็นบางครั้งจนถึงใช้เป็นประจำหรือเกือบเป็นประจำ 2) นักศึกษาคิดเห็นว่า ความสามารถด้านการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของตนเองพัฒนาขึ้นในระดับ ที่น่าพึงพอใจ 3) นักศึกษามีเจตคติที่ดีต่อการสอนการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ
จาก การประชุมสัมมนาเชิงวิชาการ ครั้งที่ 1
วิทยาศาสตร์เทคโนโลยี การศึกษา และภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
1-3 พฤศจิกายน 2549
ณ อาคารเฉลิมพระเกียรติ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
The 1st Conference Science, Technology, Education and Local Wisdom for Sustainable Development
1-3 November 2006
Udonthani Rajabhat University
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น