++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันจันทร์ที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2547

ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

ศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาชี้ถึงแนวการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของ
ประชาชนในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชน จนถึงระดับรัฐ ทั้ง
ในการพัฒนาและบริหารประเทศให้ดำเนินไปใน ทางสายกลาง
โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัตน์ ความ พอเพียง
หมายถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุล รวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมี
ระบบภูมิคุ้ม กันในตัวที่ดีพอสมควร ต่อการมีผลกระทบใดๆ
อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอกและภายใน ทั้งนี้ จะต้องอาศัยความรอบรู้
ความรอบคอบ และความระมัดระวังอย่างยิ่งในการนำวิชาการต่างๆ มาใช้ใน
การวางแผนและการดำเนินการทุกขั้นตอน และขณะเดียวกันจะต้องเสริม
สร้างพื้นฐานจิตใจ ของคนในชาติ โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ของรัฐ นักทฤษฎี
และนักธุรกิจในทุกระดับ ให้มีสำนึกในคุณธรรมความซื่อสัตย์สุจริต และให้มี
ความรอบรู้ที่เหมาะสม ดำเนินชีวิตด้วยความอดทน ความเพียร มีสติ
ปัญญา และความรอบคอบ เพื่อให้สมดุลและพร้อมต่อการรองรับการ
เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและกว้างขวางทั้งด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และ
วัฒนธรรมจากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี
หมายเหตุ บทความ เรื่อง "ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง" นี้ สำนักงาน
คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ได้เชิญผู้ทรงคุณวุฒิใน
ทางเศรษฐกิจและสาขาอื่นๆ มาร่วมกันประมวลและกลั่นกรองพระราชดำรัส
เรื่องเศรษฐกิจพอเพียง และขอพระราชทานพระบรมราชวินิจฉัย และขอพระ

ราชทานพระบรมราชานุญาต นำบทความนี้ไปเผยแพร่

ทรงพระกรุณาปรับปรุงแก้ไขพระราชทาน และทรงพระกรุณาโปรด
เกล้าฯพระราชทานพระบรมราชานุญาต ให้เผยแพร่ได้
เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2542

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น