++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันพฤหัสบดีที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2552

สถาปัตย์ฯ มจธ.เปิดหลักสูตร"ออกแบบและวางแผน" ตอบโจทย์ยุค Creative Economy

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 2 กันยายน 2552 11:52 น.
สำนัก งานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ได้เก็บสถิติของสินค้าและบริการที่เกิดขึ้นจากแนวคิดเศรษฐกิจบนพื้นฐานความ
คิดสร้างสรรค์หรือ "Creative Economy" ของไทย พบว่าในปี 2549 สินค้า
และบริการเหล่านี้มีมูลค่ารวมทั้งสิ้นเฉียด 900,000 ล้านบาท
จึงทำให้เกิดคำถามขึ้นมาว่า Creative Economy คืออะไร
และเหตุใดจึงส่งผลกระทบต่อระบบสังคมและเศรษฐกิจของประเทศหรือแม้กระทั่งของ
โลกได้ในวงกว้างเช่นนี้


ดร.โชคอนันต์ บุษราคัมภากร ประธานหลักสูตรบัณฑิตศึกษา
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ
นี่เองที่ "ความคิดสร้างสรรค์"
เข้ามีบทบาทต่อวงการเศรษฐกิจของนานาประเทศในระดับที่เรียกได้ว่า
"สั่นสะเทือน" แนวคิดดังกล่าวเกิดขึ้น
และถูกนำไปใช้อย่างแพร่หลายในประเทศที่พัฒนาแล้วมาเป็นระยะเวลาหลายร้อยปี
โดยแนวคิดเน้นในเรื่องของ "ความต่างและสินทรัพย์ทางปัญญา" ซึ่งแนวคิดนี้
ทำให้ประเทศต่างๆ ที่กำลังพัฒนาในแถบเอเชีย รวมทั้งประเทศไทย
หันมาดำเนินนโยบายส่งเสริมเศรษฐกิจบนพื้นฐานความคิดสร้างสรรค์ หรือ
"Creative Economy" กันอย่างจริงจัง

การก้าวไปสู่สังคมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Creative Economy)
อย่างแข็งแกร่งนั้น สิ่งแรกที่จำเป็นที่สุด คือ
การพัฒนาบุคลากรที่รู้จักใช้ความสามารถเฉพาะตัว คือ
ความคิดสร้างสรรค์ของตนเองรวมกับรากฐานที่มีอยู่เดิม หลอมเป็น "ความต่าง"
และ "สินทรัพย์ทางปัญญา" นำเสนอให้กับสังคม
รวมถึงผู้บริโภคที่รู้จักคุณค่าของความคิดสร้างสรรค์
ได้มีทางเลือกมากกว่าเดิม

ปัจจุบันแวดวงการศึกษาทั่วโลกกำลังมุ่งเน้นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในด้านของความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้าน "การ ออกแบบ" ที่มี "ความคิดสร้างสรรค์"
เป็นหัวใจสำคัญของการคิด วิจัยและพัฒนา ผลิตภัณฑ์และบริการที่ "แตกต่าง"
โดยมูลค่าของสินค้าและบริการที่เกี่ยวเนื่องกับการออกแบบที่สร้างสรรค์นั้น
มีส่วนแบ่งในตลาดกว่า 300,000 ล้านบาท
นับเป็นโอกาสทางการตลาดที่มูลค่าสูงสุด
เมื่อเทียบกับสินค้ากลุ่มสร้างสรรค์อื่นๆ ในปี 2549

แต่เมื่อเรามองถึงแนวทางการพัฒนาทรัพยากรบุคคลส่วนใหญ่ของประเทศไทย
ที่ผ่านมา ต้องยอมรับว่ายังขาดการส่งเสริมการพัฒนาเรื่องความคิดสร้างสรรค์
ทำให้โอกาสในการแย่งชิงตลาดหรือพื้นที่ในเศรษฐกิจโลกลดน้อยลงกว่าที่ควร

เป็นที่น่ายินดีสำหรับคนไทย
ที่หลักสูตรการพัฒนาบุคลากรในระดับบัณฑิตศึกษาทางด้าน
"การออกแบบและวางแผน" ที่เน้นการศึกษาเชิงสร้างสรรค์และนวัตกรรม
โดยเน้นให้นักออกแบบหลากหลายสาขามาร่วมกันคิดและพัฒนางานสร้างสรรค์
เป็นแนวทางที่ยังไม่มีสถาบันอื่นทั้งในและต่างประเทศเปิดสอนมาก่อน คือ
หลักสูตรบัณฑิตศึกษา "การออกแบบและวางแผน" (หลักสูตรนานาชาติ)
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
(มจธ.)

ดร.โชคอนันต์ บุษราคัมภากร ประธานหลักสูตรบัณฑิตศึกษา
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
เล่าถึงหลักสูตรดังกล่าวว่า
เป้าหมายหลักของหลักสูตรคือการพัฒนาบุคลากรสร้างสรรค์ทางการออกแบบสำหรับ
ประเทศ ที่เป็น "พลเมืองโลกระดับท้องถิ่น" หรือ Glocal Citizen (Global +
Local) ในยุค Creative Economy โดยหลักสูตรจะเน้นความหลากหลายของผู้เรียน
มุ่งให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ มีภาวะผู้นำ
สามารถทำงานร่วมกันเป็นทีม
และรู้จักคุณค่าของความคิดสร้างสรรค์และผลงานนวัตกรรมของตนเอง
ตามคำนิยามของหลักสูตรที่ว่า "Creative Masters for All" คือ
"ผู้นำในด้านความคิดสร้างสรรค์ของทุกศาสตร์" และ
"ผู้นำในความคิดสร้างสรรค์สำหรับทุกคน"


ปัจจัยนี้เองที่ทำให้คณะฯ
ดำเนินการจัดตั้งหลักสูตรบัณฑิตศึกษาที่มีแนวคิด Creative Masters for
All เน้นการเรียนการสอนในด้านการออกแบบเชิงบูรณาการอย่างสร้างสรรค์
เรียกได้ว่าเป็น การเรียนแบบพหุวิทยาการออกแบบ หรือ Multi-disciplinary
Design Approach ในด้านการออกแบบเชิงสร้างสรรค์
ตอบสนองกับความต้องการของบุคลากร ชุมชน เศรษฐกิจ และประเทศ ในสังคม
Creative Economy โดยตรง

"หลัก สูตรบัณฑิตศึกษาของคณะฯ เปิดสอนเป็นหลักสูตรนานาชาติ
ใช้ภาษาอังกฤษในการเรียนการสอนทั้งหมด
มีคณาจารย์ผู้เชี่ยวชาญและนักศึกษาจากทั้งในและต่างประเทศ
ปัจจุบันมีสาขาย่อย 7 วิชา คือ 1. Architecture Design 2.Built
Environment Design 3. Communication Design 4. Design Management 5.
Human-Centered Design 6. Lighting Design 7. Urban Management
ซึ่งหลักสูตรเน้นให้ผู้เรียนมีคุณสมบัติ 5 องค์ประกอบที่สำคัญคือ
ความเป็นเลิศทางวิชาการ การประสานพลังความรู้ การทำงานร่วมกันเป็นทีม
มีนวัตกรรมทางความคิด และรู้จักคุณค่าของคนแต่ละบุคคล" ดร.โชคอนันต์
กล่าว

การเรียนการสอนในลักษณะนี้ ผู้เรียนจะมิได้เรียนเพียงศาสตร์
ศาสตร์เดียวที่เกี่ยวข้องกับความสนใจหรือการทำงานของตัวเอง
ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีว่า การทำงานในยุคของ Creative Economy นั้น
ต้องอาศัยความรู้ แนวคิด ประสบการณ์เป็นองค์รวมของวิทยาการด้านต่างๆ
จึงจะสามารถสร้างผลงานสร้างสรรค์
ไม่ว่าจะเป็นผลิตภัณฑ์หรือบริการเชิงการค้าที่แตกต่างและโดดเด่น
การพัฒนาชุมชนและสังคม การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
รวมถึงการเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้คน


"ทุกสาขาของเรา เน้นการเรียนการสอนแบบพหุวิทยาการออกแบบหรือ
Multi-disciplinary Design Approach เช่น สาขา Communication Design
เรียนเกี่ยวกับการสื่อสารในเชิงวัฒนธรรมและคุณค่า
ซึ่งแตกต่างจากการสื่อสารมวลชนทั่วไป
ผู้เรียนจะได้มีโอกาสทำวิจัยในหัวข้อที่ตนสนใจและเลือกใช้สื่อให้เหมาะสมกับ
กลุ่มเป้าหมายและโอกาส รวมถึงการทดลองเลือกหรือประดิษฐ์สื่อรูปแบบใหม่
สื่อที่ออกนอกกรอบเดิมๆ และมีการนำเสนอสื่อนั้นในรูปแบบที่นักศึกษาสนใจ
ส่วนสาขา Design Management ก็จะเน้นการใช้วิธีการ แนวคิด
เพื่อสร้างกลยุทธ์ในการทำให้ผลิตภัณฑ์ บริการ
หรือธุรกิจจากความคิดสร้างสรรค์ ประสบความสำเร็จในท้องตลาด
โดยอาศัยหลักการด้านการออกแบบ มาผนวกกับความรู้ด้านบริหารธุรกิจ สังคม
เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม ฯลฯ เป็นต้น"

นอกจากการเพิ่มขีดความสามารถทางด้านการออกแบบเพื่อพัฒนาสินค้าและ
บริการเชิงเศรษฐกิจแล้ว การเพิ่มคุณภาพชีวิต การพัฒนาชุมชนและสังคม
และการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
ยังเป็นปัจจัยสำคัญไม่แพ้กันในสังคม Creative Economy

ทางด้านสาขา Human-Centered Design
ก็จะเน้นการออกแบบโดยใช้มนุษย์เป็นศูนย์กลาง
คือการออกแบบที่คำนึงถึงความต้องการ พฤติกรรม
บุคลิกลักษณะของมนุษย์หรือผู้ใช้เป็นหลัก
โดยเราเป็นแห่งเดียวในประเทศไทยที่มีห้องปฏิบัติการด้านนี้อยู่เพื่อใช้
ศึกษาและทดลอง ด้านสาขาการออกแบบแสงสว่าง (Lighting Design)
สาขาการออกแบบสถาปัตยกรรม (Architecture Design)
รวมทั้งการออกแบบสิ่งแวดล้อมสรรค์สร้าง (Built-Environment Design)
และการจัดการชุมชนเมือง (Urban Management) ก็เช่นกัน กล่าวคือ
เป็นการออกแบบที่อยู่อาศัย อาคาร สิ่งแวดล้อม ตลอดจนชุมชนสังคมเมือง
ให้ตอบสนองต่อความต้องการ ความจำเป็นของผู้อยู่อาศัย และพลเมืองเป็นสำคัญ
การออกแบบอาคาร แสงสว่าง สิ่งแวดล้อมหรือการวางผังเมือง
ไม่ได้มีเพียงการวางผังที่อยู่อาศัย โครงสร้างต่างๆ
ที่เป็นวัตถุอย่างเดียว แต่ปัจจัยหลักที่สำคัญกว่ามากคือ ผู้อยู่อาศัย
ที่ได้รับผลกระทบต่อการออกแบบและการจัดการโดยตรง
ซึ่งผู้เรียนจะต้องมีความรู้และแนวคิดจากองค์ความรู้หลายๆ
ด้านที่จะนำมาใช้จัดการให้ประสบความสำเร็จ

"ตัวอย่างของการนำแนวคิด Multi-disciplinary Design Approach
มาใช้กับสิ่งใกล้ตัว เช่น
ถนนสาทรที่ตั้งอยู่ด้านหน้าอาคารเรียนของหลักสูตรฯ ณ วิทยาเขตสาทร
หากคิดจะออกแบบปรับปรุงและพัฒนาอย่างสร้างสรรค์ให้เป็นถนนที่น่าอยู่
จะต้องใช้นักออกแบบจากทุกสาขาของหลักสูตรของเรา ทั้งในเรื่องของการวางผัง
การออกแบบรูปลักษณ์ถนน ระบบแสงสว่าง และสิ่งแวดล้อม
รวมถึงความต้องการของผู้ใช้ การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ
และระบบหรือกลยุทธ์การบริการในรูปแบบใหม่ๆ

สิ่งเหล่านี้แสดงให้เห็นว่า
นักออกแบบหลากหลายสาขาต้องทำงานร่วมกัน
เนื่องจากการสร้างสรรค์นวัตกรรมต้องมีความรู้ที่หลากหลายจากทั้งสิ่งที่ตน
เองชำนาญและการทำงานร่วมกับผู้เชี่ยวชาญท่านอื่น รู้จักการคิดวิเคราะห์
การสังเคราะห์และบูรณาการความคิดและแปลงความคิดสร้างสรรค์ออกมาเป็นสิ่งที่
จับต้องได้ มีคุณลักษณะในการติดต่อสื่อสาร ทำงาน และอยู่ร่วมกับคนอื่นๆ
ได้ ตามแนวคิดของการสร้าง "พลเมืองโลกระดับท้องถิ่น"
หรือการนำเอาวิสัยทัศน์ระดับโลก มาใช้ในการทำงานระดับท้องถิ่น"

ในอนาคตนั้น ประธานหลักสูตรบัณฑิตศึกษา
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ มจธ.
ยังได้กล่าวถึงแนวทางการพัฒนาบุคลากรของหลักสูตรที่จะเพิ่มขีดความสามารถใน
ด้านการวิเคราะห์และมองปัญหาแบบองค์รวม
และการใช้ความคิดริเริ่มเพื่อการแก้ไขปัญหาอย่างสร้างสรรค์
โดยอาศัยแนวทางพหุวิทยาการออกแบบ (Multi-disciplinary Design Approach)
ซึ่งเชื่อว่าจะสามารถพัฒนาบุคลากรชั้นนำด้านการออกแบบและบุคลากรสร้างสรรค์
ที่พร้อมสำหรับสังคมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Creative Economy) ของประเทศ
(Local) ที่มีความสามารถระดับโลก (Global) ได้อย่างเต็มภาคภูมิ

ขณะ นี้ ทางหลักสูตรฯ
กำลังเปิดรับสมัครนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาสำหรับภาคเรียนที่ 2
ในปีการศึกษา 2552 โดยผู้สนใจสามารถติดต่อได้ที่ หลักสูตรบัณฑิตศึกษา
"การออกแบบและวางแผน" (หลักสูตรนานาชาติ)
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
อาคาร Bangkok CODE วิทยาเขตสาทร (ติดสถานีรถไฟฟ้าสุรศักดิ์) โทร. 02470
9440-1 โทรสาร: 0 2470 9942 e-mail: arc.off@kmutt.ac.th
หรือเข้าชมเว็บไซต์ http://www.arch.kmutt.ac.th/grad

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น