++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันอังคารที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2552

ปอกเปลือก"อาชีวะ" เรียนสนุก ปฏิบัติจริง และไม่ตกงาน

ปอกเปลือก"อาชีวะ" เรียนสนุก ปฏิบัติจริง และไม่ตกงาน
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 7 กันยายน 2552 06:01 น.

จากกระแสด้านลบของ 'เด็กช่างกล' บางกลุ่มที่ใช้กำลังทำร้ายกัน
และสร้างความวุ่นวายในสังคม
ตามที่เคยปรากฏในหน้าหนังสือพิมพ์ส่งผลให้บรรดาผู้ปกครอง
และตัวนักเรียนจำนวนหนึ่งเกิดความลังเลไม่มั่นใจกับการตัดสินใจจะก้าวเข้า
สู่รั้วสถาบันการศึกษาในสายอาชีพ หรือ "อาชีวศึกษา"

ทั้งๆ ที่ความเป็นจริงแล้วนั้นการเรียนในสายดังกล่าวยังมีอีกหลากหลายด้านที่เราอาจจะยังไม่เคยสัมผัส
"Life on campus" จึงขอพาไปทำความรู้จักกับมุมอื่นๆ ที่น่าสนใจ
จากปากเหล่าเด็กช่างกันดู

เริ่มที่เด็กช่างกลสยามอย่าง "คมน์ เทพปรีชาสกุล" หรือ "โม"
นักเรียนระดับชั้น ปวช.2 จากโรงเรียนเทคโนโลยีสยาม
โมใฝ่ฝันอยากจะเป็นนักต่อวงจรอิเล็กทรอนิกส์
จึงเลือกเรียนสายอาชีพในสาขานี้
และเมื่อโมได้สัมผัสกับการเรียนอย่างจริงจัง
โมจึงการันตีได้ว่าความน่าสนใจของสายช่างอยู่ที่
คนเรียนได้มีโอกาสปฏิบัติอย่างเต็มที่ไม่มีกั๊ก

"เพราะ เราเรียนสายอาชีพ
อาจารย์จึงเน้นว่าเมื่อเรียนแล้วเราต้องปฏิบัติจริงให้ได้ด้วย
ฉะนั้นเวลาเรียนไป ก็จะได้ปฏิบัติไป และเราก็อาศัยการเรียนรู้จากตรงนั้น
ที่จะได้อะไรมากกว่าเรียนในห้องเรียน และพอได้สัมผัสแล้วก็รู้สึกว่า
เออนะมันไม่ยากแต่มันสนุกจริงๆ ที่มีอะไรทำอยู่ตลอด
เมื่อเปรียบกับคนเรียนสายสามัญ รู้สึกเลยว่ามันต่างเพราะเรียนแบบนี้
มันเหมาะกับเราที่เป็นคนไม่ชอบอยู่นิ่งมากกว่า"

โมเผยต่ออีกว่า ทุกวันนี้ตนมีความสุขกับการเรียนเป็นอย่างมาก
เพราะการเรียนนั้นตอบโจทย์เจ้าตัวได้เป็นอย่างดี

"เพราะผมอยากทำวงจรเก่งๆ เลยชอบที่จะได้ฝึกลองเจียวงจรเอง
ซึ่งคาบฝึกของอาจารย์ในสาขาก็ท้าทายเราให้เกิดการเรียนรู้ต่อเนื่อง
อย่างเวลาเเก้ปัญหาต่อวงจรก็จะแก้กันไปเรื่อยๆจนกว่าจะแก้ไขได้
มันเพลินไปอีกแบบ"โยเล่าชมอย่างสนใจ"

ส่วนอีกด้านเป็นสาวช่างกลสยามเช่นกัน เธอมีชื่อว่า "เชอรรี่
พงศ์ประจักษ์กุล" นักเรียนระดับ ปวช.2 โรงเรียนเทคโนโลยีสยาม
สำหรับเชอร์รี่นั้น
นอกจากเธอจะยกย่องอาชีวะในเรื่องของการฝึกฝนให้ผู้เรียนทำงานเป็นแล้ว
เธอยังประทับใจในการเรียนสายอาชีพที่มุ่งเน้นให้เกิดเวทีการแข่งขัน
ยกพื้นที่ให้นักศึกษาได้แสดงออก และรู้จักคุณค่าของตนเอง อาทิ
การจัดให้มีชมรมต่างๆตามความสนใจของนักเรียนนักศึกษา อย่าง ชมรมดนตรี
ชมรมหุ่นยนต์ ชมรมค่ายอาสาเป็นต้น

"กิจกรรม ล่าสุดที่เชอร์รี่ได้ทำกับโรงเรียน
คือการได้สอบชิงทุนไปศึกษาหลักสูตรระยะสั้นที่ออสเตรเลีย
อย่างที่ไม่เคยคิดมาก่อนว่าจะได้รับโอกาสที่ดีแบบนี้
เราได้ไปเรียนรู้และแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมที่ออสเตรเลีย
แล้วนำมันกลับมาใช้ประโยชน์ให้เราได้ใช้กับการเรียนในสายคอม
คอมพิวเตอร์ธุรกิจโปรแกรม ภาคอินเตอร์เพราะต้องใช้ภาษาอยู่เยอะ"

การสอบชิงทุนได้แม้จะดูขัดกับสายตา
คนภายนอกที่อาจมองว่าเด็กสายอาชีพมักจะเรียนไม่ได้เรื่อง
และสายอาชีพก็จะเป็นทางออกของคนเรียนอ่อน
แต่จริงแล้วหาใช่เป็นอย่างนั้นไม่ เชอร์รี่ให้ความเห็นกับเรื่องนี้ว่า
ขึ้นอยู่กับความตั้งใจไม่ว่าจะเรียนสายใดก็สามารถที่จะประสบความสำเร็จด้าน
วิชาการได้ เพราะความเข้มข้นของวิชาการที่สายอาชีพมีนั้น
ก็มีสัดส่วนไม่แตกต่างจากสายสามัญ
ซึ่งในผลการเรียนล่าสุดของเชอร์รี่อยู่ที่ 4.00

"การเรียนสายอาชีพเป็นการเรียนอีกรูปแบบหนึ่งที่เจาะไปตามความสนใจ
ที่ชัดเจน ยกตัวอย่างที่เชอร์รี่เรียนสาขาคอมพิวเตอร์
ก็ได้มีโอกาสประกอบคอมฯ
ซ่อมคอมกันจริงๆในขณะที่เราก็ยังอายุน้อยแต่ก็มีโอกาสได้ฝึกฝนตนเองเป็นช่าง
จริงๆ แถมยังเสริมให้เราเข้าใจภาคทฤษฎีมากขึ้นเพราะเห็นภาพมากยิ่งขึ้นด้วย
"สาวช่างกลสยามขยายความ

ส่วนด้านเด็กอาชีวะแดนใต้ อย่าง "โจ" "ฉัตรณรงค์ หาญณรงค์"
ศิษย์เก่าจากรั้ว โรงเรียนพาณิชยการหาดใหญ่ โจถ่ายทอดประสบการณ์
ความประทับใจที่ตนได้รับจากการเรียนสายอาชีพ
ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาในช่วงปวช.ของตน ว่า "สนุกอีกเช่นกัน"กับการ
ได้เก็บชั่วโมงบินที่ด้านงานคอมพิวเตอร์กราฟฟิกโดยมีอาจารย์คอยช่วยป้อน
โจทย์ให้นศ.ขวนขวาย ตลอดระยะเวลาการเรียนแบบไม่มีเบื่อ

"สำหรับ สาขาคอมพิวเตอร์กราฟฟิกสายอาชีวะ
คือเราไม่ได้เรียนกันในระบบบอก หรือป้อนการสอนอย่างเดียว
แต่การได้หยิบจับของจริงก็จะทำให้เราได้มีวิธีคิด
และสนุกกับกํบโจทย์ที่อาจารย์ให้มา
สร้างความเพลินในการได้อยู่กับสิ่งที่เราชอบและเรียนรู้ไปกับมัน
นอกจากประโยชน์ด้านการเรียนรู้แล้ว
ตัวเราเองก็จะได้รู้ด้วยว่าในที่สุดแล้วเราอยากเรียนด้านไหนจริง
เพราะการเรียนสายนี้ตัวเราเองจะได้เบรกช่วงเรียน
จบปวช.ให้ได้คิดว่าจะไปทำงานต่อหรือเรียนต่อ
เพราะแค่เพียงจบปวช.ตลาดก็สามารถรองรับเข้าทำงานได้แล้ว"โจบอกเล่าและสรุปความ

ตามติดด้วย หนุ่มช่างยนต์ รุ่นพี่ จากรั้ว โรงเรียน
ขนส่งกองทัพบกอุปถัมภ์ "ตั้ม กรณ์เทพ วัชรพันธุ์"
ขณะนี้ตั้มได้งานเป็นช่างยนต์ตามฝันหลังเรียนจบตั้มบอกนอกเหนือจากความ
สามารถที่เด็กช่างมีแล้ว
คำแนะนำจากรุ่นพี่อาชีวะด้วยกันก็มีส่วนช่วยทำให้ฝันเขาให้เป็นจริง

"ทุกวันนี้ต้องยอมรับว่าวิชาชีพที่มีอยู่นั้น
ผมได้ทุกสิ่งมาจากการเรียนรู้สถาบันและการฝึกงานทั้งหมดมันส่งสมให้เรามี
ความชำนาญมากขึ้น และสามารถรับมือกับงานหลากหลายรูปแบบ
โดยกว่าจะมีโอกาสนั้น"รุ่นพี่" ก็มีส่วนช่วยชักชวนเรามาสู่วงการ
เพราะรุ่นพี่ที่เคยผ่านการเรียนการสอนมาเหมือนกันพวกเขาจะรู้ดีว่าว่า
คนเหล่านี้คือคนที่ลงสนามมาเยอะ

ฉะนั้นเวลาจะชักชวนกันมาทำงาน หนึ่งอาจจะด้วยความรักพวกพ้อง
อยากให้น้องได้ดีแต่ทั้งนี้ทั้งนั้นสำคัญสุดคือ
พวกเราเองก็มั่นใจกันและกันด้วย ว่าเราสามารถทำงานได้จริง
ซึ่งนั่นก็เป็นเรื่องของสายสัมพันธ์ที่ดีที่เกิดขึ้น
ไม่ใช่แค่สิ่งที่สังคมรับรู้ว่ารุ่นพี่ที่จบไปเอะอะก็จะชวนรุ่นน้องยกพวกตี
อย่างเดียว"

จากคำบอกเล่าดังกล่าวสอดคล้องกับ
สถิติล่าสุดที่พบว่านักเรียนนักศึกษาสายอาชีวะในแต่ละปีนั้นมีเปอร์เซ็นต์
การได้งานสูงมากกว่า 90 % เฉลี่ยอยู่ที่สาขายานยนต์ สาขาไอที
และสาขาอิเล็กทรอนิกส์

ผศ. ดร.จอมพงศ์ มงคลวานิช ผู้อำนวยการโรงเรียนเทคโนโลยยีสยาม
(ช่างกลสยาม) เผยสาเหตุที่เด็กสายนี้สามารถหางานฝ่าวิกฤติเศรษฐกิจในขณะที่บริษัทต่างๆ
พยายามลดทอนพนักงานว่า
เป็นเพราะจำนวนเงินเดือนหรือค่าแรงของอาชีวะนั้นจะมีเรทราคาต่ำกว่าเด็กที่
จบมหาวิทยาลัย ขณะที่ผู้ประกอบการก็ยังไม่สามารถแน่ใจอีกว่าจะทำงานกันได้จริงไหม
เนื่องจากเมื่อเปรียบเทียบกับอัตราส่วนของระยะเวลาจับงานจริง
ภาคอาชีวะก็จะได้เปรียบกว่า

" อีกส่วนคือ
เพราะเด็กมีแนวทางในการวางว่าตนเองอยากทำอะไรอย่างชัดเจนไม่ได้เป็นอย่างที่
สื่อนำเสนอเพียงอย่างเดียว
จึงทำให้ตลาดงานซึ่งเป็นตลาดใหญ่ที่อ้ามือรับอย่าง ตลาดยานยนต์ ตลาดไอที
และตลาดเล็กทรอนิกส์ มีความมั่นใจในตัวผู้ทำงาน
ยิ่งล่าสุดทางหลักสูตรก็จะเน้นเพิ่มเติมที่เรื่องภาษาอังกฤษ คอมพิวเตอร์
และวิชาการเพื่อเพิ่มความได้เปรียบที่มากขึ้นกว่าเดิมอีก
คือพูดง่ายๆว่าคนเรียนสายนี้อย่าได้กลัวตกงานแน่นอนครับ"ผอ.อาชีวะปิดท้าย

http://www.manager.co.th/Campus/ViewNews.aspx?NewsID=9520000103051

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น