นำร่องปรับปรุงบริการรักษาผู้ป่วยนิ่วในไต ภาคอีสานแห่งแรก
เหตุพบชาวบ้านกว่า 80% ป่วย
เพิ่มคัดกรองผู้ป่วยก่อนรุกลามเป็นไตวายเรื้อรัง รักษาได้ทันท่วงที ภายใน
3-6 เดือน สร้างแรงจูงใจให้แพทย์ พร้อมขยายคลุมทุกภาคทั่วประเทศ
นพ.วินัย สวัสดิวร
เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ(สปสช.) กล่าวว่า
ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคมนี้ เป็นต้นไป
สปสช.จะเริ่มโครงการพิเศษรณรงค์คัดกรองผู้ป่วยโรคนิ่วในไต
ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการขยายสิทธิประโยชน์รักษาผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุด
ท้าย โดยจะทำโครงการนำร่องที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือเป็นแห่งแรก
จากนั้นจึงจะขยายไปยังภาคอื่นๆ ทั่วประเทศ ซึ่งจากการสำรวจพบว่า
ประชาชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยละ 80 ป่วยเป็นโรคนิ่วในไต
และผู้ป่วยเกือบทั้งหมดมักไม่ได้รับการรักษา
ส่งผลให้ป่วยเป็นโรคไตวายเรื้อรัง
"ขณะ นี้ยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดว่า
เหตุใดประชาชนภาคตะวันออกเฉียงเหนือจึงป่วยเป็นโรคนี้มากกว่าภาคอื่นๆ
เพราะยังไม่มีงานศึกษาวิจัยอย่างชัดเจน แต่คาดว่าอาจจะเกิดจากน้ำดื่ม
น้ำกินในพื้นที่ที่มีแร่ธาตุเป็นอันตรายายต่อสุขภาพ" นพ.วินัย กล่าว
นพ.วินัย กล่าวอีกว่า สำหรับวิธีการรักษาผู้ป่วยนิ่วในไต
สามารถทำได้หลายวิธีขึ้นอยู่กับอาการของโรค เช่น การผ่าตัด
หรือใช้เลเซอร์สลายนิ่ว เป็นต้น เมื่อได้รับการรักษาแล้วก็จะหายขาด
แต่สาเหตุที่ทำให้ผู้ป่วยไม่ได้รับการรักษา เพราะต้องรอคิวการรักษานาน
1-2 ปี เนื่องจากโรงพยาบาลมีคิวผู้ป่วยผ่าตัดมากและมีหน่วยให้บริการน้อย
ดังนั้น สปสช.จะจัดระบบให้บริการกับผู้ป่วยโรคนี้
โดยการเพิ่มแรงจูงใจให้กับแพทย์ในการรักษาผู้ป่วยนอกเวลาราชการ
หรือสนับสนุนให้โรงพยาบาลต่างๆ จัดหน่วยบริการโรคนิ่วในไตเพิ่มมากขึ้น
เป็นต้น เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการรักษารวดเร็วขึ้น โดยอย่างช้าที่สุด
ควรได้รับการผ่าตัดภายใน 3-6 เดือน
เพื่อให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 14 กันยายน 2552 08:04 น.
http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9520000106406
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น