โดย นพวรรณ สิริเวชกุล
เราคงปฏิเสธไม่ได้ว่า
ญี่ปุ่นถือเป็นชาติหนึ่งที่มีความละเมียดละไมในวิถีชีวิต
หากใครเคยไปเยือนญี่ปุ่นคงทราบดีถึงวิถีชีวิตที่เป็นระเบียบและเคร่งครัด
ชนิดที่ว่าสามารถนัดเวลากันเป็นเศษวินาทีได้!!
แน่นอน นอกจากการปฏิบัติตัวแล้ว
คนญี่ปุ่นยังมีความประณีตในเรื่องข้าวของเครื่องใช้อยู่มิใช่น้อย
แม้เป็นเพียงขนมชิ้นเล็กๆ พวกเขาก็ต้องบรรจงห่อในวัสดุสวยงาม
ที่มองแล้วทั้งชวนเก็บและชวนกิน...
สิ่งหนึ่งที่ถือเป็นเอกลักษณ์ของคนญี่ปุ่นเลยก็คือเรื่องของการห่อ
ของ หลายคนคงรู้จัก furoshiki ฟูโรชิขิ
ที่ปัจจุบันกลายเป็นหนึ่งในการรณรงค์เรื่องสิ่งแวดล้อมในโลกยุคใหม่ได้เป็น
อย่างดี ผู้คนหลากหลายประเทศเริ่มหันมาสนใจและชื่นชมการใช้ ฟูโรชิขิ
มากกว่าการใช้ถุงกระดาษและพลาสติก
เพราะเราสามารถนำฟูโรชิขิกลับมาใช้ใหม่ได้อยู่เสมอ
อีกทั้งยังสามารถออกแบบรูปทรงใหม่ๆ ได้ตลอดเวลา
ฟูโรชิขิสามารถอธิบายความเป็นตัวตนของผู้ถือได้เป็นอย่างดี
ด้วยการออกแบบ สีสันและลวดลายที่เข้าของเลือกใช้
ฟูโรชิขิถูกค้นพบครั้งแรกในสมัยนาระ
ด้วยมันเป็นผ้าห่อเครื่องแต่งกายของผู้สูงศักดิ์ที่เก็บใส่ไว้ในกล่องไม้ล้ำ
ค่าพร้อมกับของอื่นๆ ต่อมาเมื่อโชกุนโยชิมิตซุ อชิกาหงะ yoshimitsu
ashikanga สร้างโรงอาบน้ำขนาดใหญ่ในสมัยมุโรมาชิ
ผู้ใช้บริการส่วนใหญ่จะใช้ ฟูโรชิขิควบคู่ไปกับการอาบน้ำเสมอ
ด้วยการห่อเครื่องแต่งกายของตัวเองไว้กับฟูโรชิขิ คำว่า ฟูโร furo
มีความหมายถึงในห้องอาบน้ำ ส่วนคำว่า shiki หมายถึงการแผ่มันออก
ผู้คนในสมัยนั้นจึงเรียกผ้าห่อเพื่อไปอาบน้ำว่า furoshiki
ฟูโรชิขิจึงกลายเป็นสิ่งที่ห่อผ้าเช็ดตัว
เสื้อผ้ารวมทั้งอุปกรณ์อาบน้ำจากบ้านไปที่เซนโต sentoh (ห้องอาบน้ำ) เสมอ
กล่าวกันว่าช่วงทศวรรษที่ 1930 ชาวญี่ปุ่นจะมี
ฟูโรชิขิกันประมาณคนละ 20 ชิ้น
หลากหลายขนาดสำหรับห่อของนำติดตัวหรือส่งมอบให้คนอื่นๆ
แต่เมื่อยุคสมัยเปลี่ยน เริ่มมีร้านค้าและห้างสรรพสินค้ามากขึ้น
ผู้คนง่ายต่อการจับจ่ายใช้สอยโดยมีถุงใส่ของกลับบ้านที่สมัยนั้นไม่ต้องเสีย
สตางค์ซื้อถุง
ในช่วงนั้นเองที่ผู้คนหันมาให้ความสนใจกระดาษห่อของขวัญที่มีสีสันสวยงามถุงกระดาษมากขึ้น
ฟูโรชิขิจึงสร่างความนิยมไป ชั่วขณะ แต่ปัจจุบัน
ฟูโรชิขิได้รับความนิยมอีกครั้งหนึ่ง
เมื่อผู้คนทั้งโลกหันมาให้ความสนใจปัญหาสิ่งแวดล้อมและขยะเพิ่มมากขึ้น
กระทรวงสิ่งแวดล้อมของประเทศญี่ปุ่นเริ่มรณรงค์ให้คนหันกลับมาใช้ฟูโรชิขิ
กันมากขึ้นเพื่อลดปัญหาขยะในช่วงปี 2006
ฟูโรชิขิมีมากมายหลายแบบ
ในปัจจุบันเราสามารถเลือกตามรสนิยมของตัวเองได้
หลายร้านที่ญี่ปุ่นขายฟูโรชิขิและมีคนสนใจเพิ่มมากขึ้น
ในฐานะที่ฟูโรชิขิเป็นสัญลักษณ์แห่งธรรมเนียมญี่ปุ่น
ทุกวันนี้
ฟูโรชิขิถูกนำมาใช้สารพัดประโยชน์ทั้งห่อของขวัญด้วยรูปแบบเฉพาะไม่เหมือน
ใคร บางคนใช้ห่อข้าวกล่องเบนโตะไปกินตอนเที่ยง
หรือบางครั้งฟูโรชิขิยังสามารถใช้ตกแต่งขวดใส่ดอกไม้หรือแม้กระทั่งกลายเป็น
กล่องใส่ทิชชูได้อีกด้วย
ห้างสรรพสินค้าเองก็หันมาผลิต
ฟูโรชิขิขายเพื่อสร้างภาพด้านใส่ใจสิ่งแวดล้อมมันกลายเป็นค่านิยมสำหรับคน
รุ่นใหม่ หากใครใช้ฟูโรชิขิก็จะกลายเป็นคนที่ใส่ใจในเรื่องสิ่งแวดล้อมขึ้นมาทันที
แต่จะว่ากันไปแล้ว ฟูโรชิขิ
ใช่จะเป็นแต่วัฒนธรรมของญี่ปุ่นเท่านั้น
เพราะในหลายประเทศต่างก็มีวัฒนธรรมการใช้ผ้าห่อของเช่นเดียวกัน
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเอเชียอย่างประเทศจีนที่
แน่นอนย่อมมีประวัติศาสตร์การห่อของอย่างฟูโรชิขิยาวนานกว่าญี่ปุ่นเป็นแน่
รวมทั้งเกาหลี อินเดีย อัฟกานิสถานและที่อื่นๆ ด้วย.
Ω ประกวดงานออกแบบผ้าฟุโรชิขิ รางวัล 30,000 เยนรวมทั้งค่าจดลิขสิทธิ์
เจแปนฟาวน์เดชั่น
ประกาศการจัดประกวดงานออกแบบผ้าห่อของญี่ปุ่นที่มีชื่อเรียกว่า
"ฟุโรชิขิ" เพื่อเสริมสร้างความเข้าใจอันดีระหว่างประเทศญี่ปุ่นกับนานาชาติ
หัวข้อการประกวด: JF Original Furoshiki Design
สถานที่ส่งผลงาน JF Original Submissions เจแปนฟาวน์เดชั่น กรุงเทพฯ ชั้น 10
อาคารเสริมมิตร ทาวเวอร์ 159 สุขุมวิท 21 กรุงเทพฯ 10110
สนใจดูรายละเอียดได้ที่ www.jfbkk.or.th
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น