++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันพฤหัสบดีที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2552

บทความเรื่องนี้ได้ถูกใช้ประกอบการเรียนการสอนลูกลิงอุรังอุตังอายุสามเดือน

**คำเตือน**
บทความเรื่องนี้ได้ถูกใช้กระกอบการเรียนการสอนลูกลิงอุรังอุตังอายุสามเดือน
มนุษย์ปุถุชนโปรดพิจารณาอย่างรอบคอบเมื่ออ่านและควรนำไปใช้ได้ดีกว่าลิง


เรื่องของภาษาวิบัตินั้นถูกนำมาถกเถียงในหมู่นักภาษาศาสตร์มากมาย
ทั้งการบัญญัติศัพท์ใหม่มาใช้กันโดยไม่ผ่านราชบัณฑิตยสถาน
รวมถึงการให้กำเนิดภาษาสื่อสารแนวใหม่ที่เรียกกันว่า "Emotical"
ภาษาวิบัตินั้น จะเรียกได้ว่าเป็นพัฒนาการของภาษาจริงหรือ?
นับเป็นเรื่องที่น่าศึกษาเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากในการสำรวจโดยรวมแล้วนั้น
ภาษาวิบัติที่ผิดเพี้ยนจากหลักภาษาไทยที่ถูกต้อง ถูกนำมาใช้ในวงกว้างขึ้น
และเฉลี่ยอายุของผู้ใช้ภาษาวิบัติก็มีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อยๆ
พูดง่ายๆก็คือ คนที่มีดีกรีปริญญาตรี หรือเรียนในระดับอุดมศึกษานั้น
ใช้ภาษาไทยคำง่ายๆแบบผิดๆกันมากขึ้น ไม่ได้จำกัดอยู่ในวงของเด็กอีกต่อไป
จากการสำรวจขององค์กรนาซ่าและกูเก้ง ทางเราได้พบว่าคำที่ใช้ผิดอยู่บ่อยๆ


อาทิเช่น
"อารัย" =อะไร ไม่ใช่ อาลัย
"ที่นั้น" =ที่นั่น เป็นการผันวรรณยุกต์ที่ผิด
"นะค่ะ" =นะคะ ผันวรรณยุกต์ผิดเช่นกัน
"คับผม" =ครับผม อาจเกิดจากการรีบพิมพ์ ขอให้ออกเสียงได้เป็นพอ
"หรอ" =เหรอ ไม่ใช่ หรอจาก "ร่อยหรอ"
"แร้ว" =แล้ว ไม่ใช่ "แร้ว" ที่แปลว่ากับดักนก
"งัย" =ไง
"ครัย" =ใคร
"เกมส์" =เกม ไม่ต้องเติม ส์
"เดล" =เป็นคำภาษาอังกฤษจากคำว่า "Deal" อ่านว่า "ดีล"
"สาด" =สัตว์ เป็นศัพท์วัยรุ่น ลากเสียงให้ยาวขึ้นเพื่อเลี่ยงระบบกรองคำหยาบ
"กวย" =เช่นเดียวกับคำด้านบน เปลี่ยนพยัญชนะเพื่อเลี่ยงระบบ
"ไฟใหม้" =ไฟไหม้
"หวัดดี" =สวัสดี ไม่ใช่ การเป็นหวัดเป็นเรื่องที่ดี
"สำคัน" =สำคัญ บางทีอาจจำสลับกับ "สังคัง" ที่เป็นโรคผิวหนังชนิดหนึ่ง
"หน้ารัก" =น่ารัก ไม่ใช่ รักเพราะหน้า
"ฆ้อน" =ค้อน ผู้ใช้อาจสับสนกับ "ฆ้อง" ที่เป็นเครื่องดนตรี
"สัสดี" =ทหารยศหนึ่ง เข้าใจว่าพิมพ์ผิดจากคำว่า "สวัสดี"
"555" =เสียงหัวเราะ มาจาก"ฮ่าๆๆ" ดัดแปลงมาเป็น"ห้าห้าห้า"
เหล่านี้เป็นเพียงตัวอย่างของการใช้คำไม่ถูกต้องตามหลักภาษาไทย
ซึ่งสาบานได้ ให้ตายเถอะ...
ผมเคยเห็นคนเขียนคำเหล่านี้ลงในวิทยานิพนธ์ปริญญาโท
และเป็นที่น่าเป็นห่วงว่า คำเหล่านี้ได้ถูกนนำมาใช้ในแวดวงวรรณกรรม
นับเป็นฝันร้ายของวงการน้ำหมึกอย่างแท้จริง
Emotical คือพัฒนาการจริงหรือ?
เป็นประเด็นที่ต้องถกเถียงกันอย่างจริงจังในวงวรรณกรรมไทย
กับภาษาสื่อสารยุคใหม่ที่เรียกกันว่า "Emotical"
ต้นกำเนิดของมัน มาจากสัญลักษณ์ที่ใช้แสดงอารมณ์แทนผู้พูด
สามารถหาได้ตามเวปบอร์ด แชทรูม และเอมเอสเอน


ตัวอย่างเช่น
: ) =ยิ้ม
:D =ยิ้มอ้าปากกว้าง
XD =ยิ้มดีใจสุดๆ
; ) =ยิ้มขยิบตา
-_- =ทำหน้าตาเบื่อโลก
-_-; =ทำหน้าตาเบื่อโลกและเหงื่อตก
-_-; ,,|,, =ทำหน้าตาเบื่อโลก เหงื่อตกและชูนิ้วกลาง
OTL =ลงไปนั่งคุกเข่าอย่างท้อแท้
orz =เหมือนข้างบน แต่ตัวจะเล็กกว่า
/gg =giggle หรือหัวเราะขำขัน
olo =อวัยวะเพศชาย
[๐ ๐]=C =เมก้าซาวะ


เหล่านั้นคือตัวอย่างของภาษา Emotical ซึ่งเป็นที่คุ้นเคยของวัยรุ่น
เราสามารถพบเห็นมันได้ในฟอร์เวิร์ด เกมออนไลน์ แมสเสจมือถือ
หรือแม้กระทั่งวรรณกรรมที่ขายตามร้านหนังสือ
ปัจจุบันนั้นยังคงมีการถกเถียงและยอมรับภาษา Emoticalกันอยู่
ว่าสมควรแล้วหรือยังที่จะนำมาใช้ในวรรณกรรมให้คนทั่วไปอ่าน
ถ้าหากมองในแง่ของวัฒนธรรมแล้ว
Emotical ก็นับเป็นมิติใหม่ของภาษาที่ถูกใช้ไปทั่วโลก
หากจะว่ากันตามจริงแล้วมันถือเป็นวัฒนธรรมของโลกยุคใหม่เลยทีเดียว
แต่หากมองในแง่ของความผิดเพี้ยนแล้วนั้น
ก็ย่อมเป็นเรื่องใหญ่ที่สั่นคลอนรากฐานภาษาดั้งเดิมของประเทศ
ภาษา เป็นส่วนหนึ่งที่แสดงออกถึงความเป็นเอกราชของประเทศนั้นๆ
หากการรับเอาภาษาอื่นมาใช้งานนั้นทำให้คนขาดจิตสำนึกในภาษาแม่แล้ว
มันอาจจะกลายเป็นความหายนะของภาษาในเร็ววัน
ดั่งหลักการ "เปลี่ยนแปลงแต่ไม่เปลี่ยนไป"
การเปลี่ยนแปลงไม่ใช่เรื่องแย่ แต่การเปลี่ยนไป เป็นเรื่องที่น่ากลัว
ภาษาไทยไม่ใช่ภาษาที่ตายแล้ว
หากแต่เป็นภาษาที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ให้สวยงามได้เสมอ
หากการรับนำข้อดีของ Emotical มาใช้ให้ถูกที่ถูกกาลเป็นเรื่องที่สมควร
การใช้ภาษาให้ถูกต้องตามหลักภาษาก็ย่อมเป็นเรื่องที่ต้องกระทำ
ตั้งแต่ตอนนี้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น