อาการหนักถึงตาย
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์
"หมอหทัย" เผยงานวิจัยล่าสุด 3 ประเทศ ยันตรงกัน
สิงห์อมควันเสี่ยงติดหวัด 2009 อาการหนัก ปอดอักเสบรุนแรง
แทรกซ้อนถึงขั้นเสียชีวิตได้ ห่วงผู้สูบไทย 10 ล้านคน กลุ่มเสี่ยงใหญ่
วอนอย่าสูบที่ชุมชน ชี้โอกาสรับเชื้อง่าย สูดเข้าถึงทางเดินหายใจส่วนลึก
นพ.หทัย ชิตานนท์ ประธานสถาบันส่งเสริมสุขภาพไทย กล่าวว่า
ในการประชุมเรื่องไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ที่กรุงปักกิ่ง
โดยวารสารแลนเซต, กระทรวงสาธารณสุขจีนและองค์การอนามัยโลก
มีการเสนอรายงานการวิจัยในฮ่องกง ว่า ผู้
สูบบุหรี่ที่ป่วยเป็นโรคไข้หวัดใหญ่ 2009
เป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงที่จะเกิดอาการแทรกซ้อนรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้
เพราะตามปกติโรคไข้หวัดใหญ่ 2009 หากได้รับยาจะสามารถหายเองได้
และถ้าไม่ใช่กลุ่มเสี่ยงก็จะไม่มีอาการหนัก แต่พบว่า ผู้ป่วย 12 ใน 27 คน
ที่ไม่มีประวัติเสี่ยงอื่น กลับมีอาการปอดบวมแทรกซ้อนรุนแรงนั้น
คนกลุ่มนี้คือผู้ที่สูบบุหรี่ รายงานยังระบุด้วยว่า
ผู้ที่สูบบุหรี่หนักจะยิ่งเสี่ยงที่เกิดอาการรุนแรงได้มากขึ้น
เพราะการสูบบุหรี่ทำให้เชื้อยิ่งเข้าไปในปอดได้ลึกมากขึ้น
"การ ศึกษานี้ถือเป็นการศึกษาชิ้นแรกที่ชี้ชัดว่า
คนที่สูบบุหรี่มีอัตราเสี่ยงมากกว่าคนกลุ่มอื่น โดยผู้ป่วยในฮ่องกง
ประมาณ 1 ใน 200 คน ที่ตรวจพบการติดเชื้อไข้หวัดสายพันธุ์ใหม่
เกิดอาการอย่างรุนแรง และ 3 ใน 4
ของผู้ป่วยที่อาการอย่างรุนแรงเกิดจากปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ได้แก่ หอบหืด,
ถุงลมปอดพอง, เบาหวาน, โรคหัวใจและหลอดเลือด, อ้วน และการตั้งครรภ์"
นพ.หทัย กล่าว
นพ.หทัย กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ นพ.จอร์น แมกแคนซี
นักไวรัสวิทยาจากเมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลีย ได้นำเสนอว่า
สารนิโคตินจะกดภูมิคุ้มกัน ทำให้ภูมิคุ้มกันต่ำ
และเสี่ยงที่จะติดเชื้อได้ง่าย รวมทั้งทำให้เกิดปอดอักเสบจากไวรัสด้วย
สอดคล้องกับ ศ.นพ.เฟนาริ เฮเดน คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยเวอร์จีเนีย
ที่ระบุว่า การสูบบุหรี่ทำให้เชื้อไวรัสเติบโตได้
โดยที่ร่างกายไม่สามารถตรวจพบ และเข้าไปทำลายปอดส่วนลึกได้ง่ายด้วย
"ปัจจุบัน ไทยมีผู้สูบบุหรี่ราว 10 ล้านคน คนเหล่านี้คือ
กลุ่มเสี่ยงสำคัญ หากได้รับเชื้อไข้หวัดใหญ่ 2009
จะเสี่ยงมีอาการรุนแรงกว่าผู้ไม่สูบ
ผมทราบว่าถ้าจะบอกให้ผู้ที่สูบบุหรี่หยุดสูบทันทีคงไม่ได้
จึงอยากขอให้ผู้สูบบุหรี่ลดการสูบลงในช่วงนี้
โดยเฉพาะการสูบบุหรี่ในที่ชุมชน ที่อาจมีโอกาสสัมผัสกับเชื้อได้
ก็จะยิ่งเสี่ยงรับเชื้อได้มากกว่าผู้ไม่สูบ
เพราะคนทั่วไปหากได้รับเชื้อแล้ว เชื้อจะอยู่บริเวณทางเดินหายใจส่วนต้น
แต่ผู้สูบบุหรี่เมื่อได้รับเชื้อและสูบบุหรี่
จะสูดเอาเชื้อเข้าไปทางเดินหายใจส่วนลึก
ทำให้มีโอกาสติดเชื้อและอาการรุนแรงมากกว่า"นพ.หทัย กล่าว
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น