"สิ่งสำคัญที่สุดอยู่ที่ทรัพยากรมนุษย์ มนุษย์จะเป็นศักยภาพที่สำคัญของ
องค์กรที่จะทำให้องค์กรนั้นประสบความสำเร็จทางธุรกิจมาก ที่สุด
ในการลงทุนผู้บริหารกิจการจึงควรระลึกอยู่เสมอว่า การลงทุนในทรัพยากร
มนุษย์เป็นเรื่องสำคัญที่สุด"
นี่คือคำกล่าวของ ท่านอดีตนายกรัฐมนตรี อานันท์ ปันยารชุน ที่ให้ข้อ
คิดเกี่ยวกับ "การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์" ในการสัมมนาเรื่อง "Redefining Business in A
sia Pacific" เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2543 นี้เอง
ท่าน ได้กล่าวเสริมว่า "การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ความสำคัญอยู่ที่การศึกษา ซึ่งต้องไม่จำกัดอยู่ที่การศึกษาในโรงเรียนเพียงเท่านั้น ทั้งนี้เพราะความรู้ต่างๆ ที่สมควรได้รับจะมาจากรอบตัว ในขณะที่ความรู้ที่ได้จากในโรงเรียน
จะเปลี่ยนจะล้าสมัยไปทุก 5 ปี การผลิตบุคลากรนับจากนี้ต่อไปจึงต้องให้
ความสำคัญกับการสร้างนักคิดให้เกิดขึ้นอย่างมาก"
นอก จากนี้ท่านยังแนะว่า "การศึกษายังเป็นสิ่งจำเป็นของผู้นำธุรกิจ ผู้บริหารองค์กร ผู้นำธุรกิจจะต้องนำความรู้ที่ได้มาปรับปรุงธุรกิจที่ทำอยู่ทั้ง
ยังต้องสร้างคนใหม่ที่เข้ามาให้มีความสามารถทัดเทียมพนักงานที่มีศักยภาพ
ของบริษัท หรือเมื่อเขาต้องการกลับไปสู่บ้านเกิด ก็ต้องให้เขานำความรู้ความ
สามารถนั้นติดตัวไปบริหารกิจการที่บ้านเกิดเขาได้"
จึงสรุปได้ว่า ความสำเร็จหรือความล้มเหลวขององค์กรใดๆ จะอยู่ที่
"ความสามารถในการบริหารทรัพยากรมนุษย์" และ "ความสามารถในการเรียน
รู้ของพนักงาน" เป็นสำคัญ
ดังนั้น ที่ว่ากันว่า องค์กรที่มีศักยภาพในการแข่งขันและอยู่รอดอย่าง ยั่งยืนได้
มักจะมีลักษณะของ "องค์กรแห่งการเรียนรู้" (Learning Organization) จึงเป็นเรื่องที่ไม่ห่างไกลความจริง
เรื่องนี้มีนักเขียนและนักวิชาการชื่อ ปีเตอร์ เซนกี (Peter Senge) ได้ ให้ความหมายของ
"องค์กรแห่งการเรียนรู้" ไว้ว่า
"องค์กรหรือกลุ่มคนที่สามารถเพิ่มพูนและขยายได้ทั้งขีดความสามารถในการเรียนรู้ร่วมกันและความ
สามารถในการทำงานร่วมกันได้อย่างต่อเนื่อง"
พูดง่ายๆ ว่า "องค์กรแห่งการเรียนรู้" จะเป็นองค์กรที่มีพนักงานซึ่งมี
ความสามารถในการสร้างผลงานที่ดีขึ้นเรื่อยๆ (Group of people that can create better results)
ปัญหาของเราจึงอยู่ที่ว่า จะทำอย่างไรที่จะกระตุ้นให้พนักงานในองค์กร
ของเรามีความเป็น "นักคิด" และ "นักเรียนรู้" เพิ่มมากยิ่งๆ ขึ้นไป เพื่อจะได้
สร้างผลงานที่ดีขึ้นๆ ตลอดเวลา (สำหรับการต่อสู้แข่งขันที่ดุเดือดเลือด พล่านเช่นทุกวันนี้)
แต่ความเป็นจริงในทางปฏิบัติแล้ว หลายๆ องค์กรกลับกลายเป็นองค์
กรที่ "ฆ่า" หรือทำลายนักคิดนักเรียนรู้ไปอย่างไม่รู้ตัว แทนที่จะส่งเสริมให้เพิ่ม จำนวนมากขึ้น
องค์กรจำนวนไม่น้อยที่สร้าง "พวกที่ไม่มีเวลาคิด" เพราะพนักงานต่างคน
ต่างมีภารกิจมากมายที่ต้องทำต้องสะสางให้เสร็จตามกำหนด จนไม่เหลือ
เวลาที่จะคิดอ่านหรือวางแผนงานล่วงหน้าเลย
หลายองค์กรที่พนักงานมีงานไม่มากนัก (คือพอมีเวลาว่างบ้าง) แต่ก็คิด
กันว่า "ธุระไม่ใช่" หรือ "เรื่องคิดไม่เกี่ยวกับงานเลย" เพราะไม่ถูกสั่งให้คิดหรือ
ไม่รู้จะคิดไปเพื่ออะไร หรือคิดเพื่อใคร คิดไปแล้วจะได้อะไรขึ้นมาบ้าง เป็นต้น
บางแห่งมีพนักงานที่ขยันคิดขยันเสนอแนะไม่น้อย แต่ก็ท้อแท้เพราะ
"เสนอไปแล้วไม่มีใครฟัง"
ที่หนักกว่านั้นคือ การระบาดของ "โรคขี้เกียจคิด" ในองค์กร เพราะความ
ขี้เกียจของแต่ละคนจริงๆ
เรื่องของการสร้างนักคิดนักเรียนรู้ให้เกิดขึ้นในองค์กร
จึงเป็นเรื่องที่พูด กันได้ง่าย แต่ทำให้เกิดขึ้นยากจริงๆ
อย่าว่าแต่การส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกันในหมู่พนักงาน หรือ "การ
ทำงานเป็นทีม" เลย เอาแค่เพียงแต่ว่า "ใครรู้อะไรแล้วรู้จักถ่ายทอดให้คนอื่น
ได้รู้บ้างเพื่อประโยชน์แก่องค์กรเป็นส่วนรวม" ก็ไม่ใช่เรื่องที่จะทำกันได้ง่ายๆ แล้ว
เรื่อง นี้จึงขึ้นอยู่กับ "วัฒนธรรมองค์กร" ของแต่ละแห่ง ซึ่งควรจะต้องมีส่วนสร้างเสริมบรรยากาศหรือสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยหรือ เกื้อหนุนให้
พนักงานรักการเรียนรู้และขยันเสนอแนะกันมากๆ
วัฒนธรรม องค์กรที่สำคัญประการหนึ่งก็คือ ความเป็นประชาธิปไตย ซึ่ง หมายถึง การมีผู้นำที่มุ่งมั่นและมีจิตวิญญาณของนักเรียนรู้ มีความเป็นประชาธิปไตย ที่สามา
รถสร้างบรรยากาศแห่งความเปิดเผยไว้วางใจ สนับสนุนให้ เกิดการมีส่วนร่วมทำงานเป็นทีม รู้จักรับฟังปัญหาของผู้ใต้บังคับบัญชา เป็นต้น
ความเป็นเผด็จการ จึงเป็นศัตรูตัวร้ายของ"องค์กรแห่งการเรียนรู้"
เพราะที่ไหนมีแต่ "คำสั่ง" ที่นั้นคนก็ไม่ต้องคิด (คิดไม่เป็น)
และที่สำคัญยิ่งก็คือ องค์กรจะต้องกำหนด "วิสัยทัศน์ร่วม" (Shared Vision) ที่เกิดจากการระดมความคิดของผู้บริหารและพนักงานในองค์กร
เพื่อยึดเป็น "ศูนย์รวม" หรือกรอบของการประพฤติปฏิบัติสู่อนาคตที่รุ่งโรจน์ด้วย
การทำงานเป็นทีม จึงเป็นอีกองค์ประกอบหนึ่งที่สำคัญยิ่งของ
"องค์กร แห่งการเรียนรู้"
ทีมงานจะมีบทบาทอย่างมากในการส่งเสร ิมให้พนักงานแต่ละคนในทีม
ได้เรียนรู้และเพิ่มพูนประสบการณ์ เพราะทีมงานที่ดีควรจะประกอบด้วย
พนักงานที่มีความรู้ความสามารถแตกต่างกัน โดยแต่ละคนจะใช้จุดแข็งของตนเอง
เสริมจุดอ่อนของคนอื่น เพื่อทำงานร่วมกันให้บรรลุเป้าหมายอย่างมีประสิทธิ
ภาพและประสิทธิผล (ซึ่งแต่ละคนหากแยกกันทำแล้วจะทำไม่ได้ ผลงานรวม
เป็นทีม) ความรู้ความสามารถของแต่ละคนในทีม จึงมีส่วนสำคัญยิ่ง
เพราะทีม งานที่มีประสิทธิภาพ จะเกิดความรู้ความสามารถของลูกทีม และการทำงาน
ร่วมกันได้อย่างกลมกลืนมีประสิทธิภาพ
เราจึงต้องส่งเสริมให้แต่ละคนเป็น "นักคิดนักเรียนรู้" ในที่ทำงานด้วย
เราจึงต้องตอกย้ำว่า วิธีที่เราทุกคนจะได้มาซึ่งความรู้ความสามารถและ
มีประสบการณ์เพิ่มมากขึ้นนั้น จะต้องยึด "อ่าน-ฟัง-คิด-ทำ" เป็นหลัก
ถ้าเราไม่ชอบอ่านหนังสือ เราก็ควรจะต้องรู้จักฟังให้มากขึ้น คิดให้มาก
ขึ้น และต้องนำสิ่งที่ได้ฟังได้อ่านมาไปลงมือทำให้เกิดผลสำเร็จเป็น
ประสบการณ์ด้วย และสิ่งที่จะขาดเสียมิไม่ได้เลยก็คือ เราจะต้องมีจิตวิญญาณของ "การ
ปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง" ด้วย ดังนั้นถ้าองค์กรไหนมีพนักงานที่ไม่รักการอ่าน ไม
่ชอบคิด ไม่รู้จักฟัง (ไม่ยอมเข้าอบรมสัมมนา) กันมากๆ ผมว่าคงไม่นานเกินรอ และต้องเรียกว่า
เป็น "องค์กรแห่งวันวาน" เพราะขาดคุณสมบัติของ "องค์กรแห่งวันพรุ่งนี้" (องค์
กรแห่งอนาคต)
ถึงวันนั้น องค์ กรใครองค์กรมัน ครับผม!
โดยคุณ : วิฑูรย์ สิมะโชคดี -
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น